คุณค่าและผลกระทบของเครื่องดื่มชูกำลัง
ส่วนประกอบของเครื่องดื่มชูกำลัง
ส่วนใหญ่ในเครื่องดื่มชูกำลังจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือ Xanthine , วิตามินบี และสมุนไพร บางยี่ห้อก็ใส่ส่วนผสมเพิ่มเติมเช่น Guarana แปะก๊วย โสม บางยี่ห้อก็จะใส่น้ำตาลในปริมาณที่สูง บางยี่ห้อก็ถูกออกแบบให้มีพลังงานต่ำ แต่ส่วนผสมหลักของเครื่องดื่มชูกำลังก็คือคาเฟอีน ซึ่งเป็นส่วนผสมชนิดเดียวกันกับกาแฟหรือชา
เครื่องดื่มชูกำลังส่วนใหญ่จะมีปริมาตร 237 มิลลิลิตรต่อขวด (ประมาณ 8 ออนซ์) มีสารคาเฟอีนประมาณ 80 มิลลิกรัมต่อ 480 มิลลิลิตร โดยในการทดสอบสูตรของเครื่องดื่มชูกำลังนั้น กลูโคสมักเป็นส่วนผสมพื้นฐานของเครื่องดื่มชูกำลังเสมอ (ซึ่งผสมอยู่ในคาเฟอีน , ทอรีน และสารกลูโคโลแล็คโทน)
สิ่งดึงดูด และการวิจัย
นักวิชาการสองท่านได้รายงานผลการวิจัยว่า การปรับสภาพจิตใจ , การรับรู้ , การชักชวนจากบุคคลอื่นๆ , และการล่อใจผู้ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังด้วยการโฆษณา เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกันกับการเตรียมความพร้อมการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ซึ่งสองสิ่งนี้อาจมีสาเหตุแรกเริ่มโดยความรู้สึกสบายในระดับแรกเริ่มถึงระดับปานกลาง โดยตัวกระตุ้นที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน และด้วยสาเหตุนี้เองอาจเป็นที่มาของอาการ ปั่นปั่วน , กังวล , โกรธง่าย และนอนไม่หลับ [9] แต่ในระหว่างการทดสอบกับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพอ่อนแอด้วยการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง พบว่า ผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอเมื่อดื่มเครื่องดื่มชูกำลังจะมีร่างกาย , กล้ามเนื้อ และความอดทนมากขึ้นกว่าช่วงก่อนทดสอบ มันคือสิ่งที่สามารถพิจารณาว่าจะเลิกดื่มเครื่องดื่มชูกำลังหรือไม่ นี่คือเหตุผลที่ยิ่งใหญ่ของอำนาจของเครื่องดื่มชูกำลัง , อารมณ์ และสมรรถภาพ
โดยเป็นการฟื้นฟูส่วนประกอบ คือ แสดงให้เห็นถึงการรวมกันของคาเฟอีนและสาร CHO ในเครื่องดื่มชูกำลัง และบางระดับของการทำงานร่วมกันของระบบประสาทระหว่าง การรับรู้ และการลดหย่อนสมรรถภาพ อำนาจของน้ำตาลกลูโคสและคาเฟอีน ก็เป็นสิ่งที่ถูกชักชวนได้ง่าย โดยสถาบันแห่งหนึ่งได้ทำการวิจัยเรื่องเครื่องดื่มชูกำลังโดยการทดสอบการออกฤทธิ์ของเครื่องดื่มชูกำลัง โดยให้ผู้ร่วมการทดสอบ (ซึ่งมีจำนวน 11 คน) ขึ้นบนเครื่องจำลองการวิ่ง เพื่อทดสอบความเร็วในการวิ่ง , ปฏิกิริยาโต้ตอบ โดยทดสอบก่อนการรักษา 2 ชั่วโมง และแสดงผลการทดสอบพร้อมกับคำแนะนำเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง
จากบทความทั้ง 2 บทความ ลงเอยด้วยการประมวลผลและวิเคราห์ที่ผิดพลาด และอำนาจอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถชี้แจงได้ว่าการทดลองครั้งนี้มีข้อสรุปที่ไกล้เคียงได้ แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านให้ข้อสรุปว่าเป็นการวิจัยเพื่อซ่อมแซมอะตอมของคาเฟอีนในเป็นไปในระดับปกติ
ห้างสรรพสินค้าในประเทศอังกฤษได้เปิดจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังในราคาถูก โดยที่นำมาขายนั้นส่วนใหญ่เป็นเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา ห้างเทสโก้ในอังกฤษได้วางจำหน่าย "คิก" (Kick) ในปริมาณ 250 มิลลิลิตร และ 1 ลิตร และห้างแอสด้า (Asda) ก็ได้วางจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังแข่งกับห้างสรรพสินค้าอีกหลายแห่งเช่นกัน
ส่วนในประเทศไทยนั้น เครื่องดื่มชูกำลังเริ่มมีการแข่งขันรุนแรงในช่วงปี 2549 - 2550 เนื่องจากเริ่มมีผู้ผลิตรายใหม่เพิ่มเข้ามามากขึ้น ประกอบกับการโฆษณาของเครื่องดื่มชูกำลังหลายค่าย เพื่อเรียกความนิยมให้ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังของตน โดยโฆษณาบางตัวมีการประกาศลดราคาเครื่องดื่มชูกำลัง บางค่ายก็ประกาศแถมเครื่องดื่มชูกำลังเมื่อลูกค้าซื้อเครื่องดื่มชูกำลังครบตามกำหนด จนกระทรวงสาธารณสุขออกมาประกาศห้ามลด แลก แจก แถม หรือจัดส่งฝาชิงโชค เครื่องดื่มชูกำลังเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551[18][19]เพื่อป้องกันไม่ให้คนซื้อเครื่องดื่มชูกำลังในปริมาณมากๆ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากแรงจูงใจของผู้ผลิต และป้องกันการหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งวิธีนี้ก็ได้ทำกับเครื่องดื่มอีกประเภทหนึ่ง คือสุรา
ผลกระทบของเครื่องดื่มชูกำลัง
ด้านสุขภาพ
นักวิชาการหลายท่านออกมากล่าวว่า โทษของเครื่องดื่มชูกำลังส่งผลกระทบร้ายแรงในด้านจิตใจ เช่น กระสับกระส่าย มือเท้าสั่น โดยเฉพาะในเด็ก ในกรณีดื่มเครื่องดื่มชูกำลังร่วมกับสุรา จะทำให้เพิ่มอาการเมาเป็น 2 เท่า ส่วนอาจารย์จูเลีย เชสเตอร์ อาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า คนส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อของสุรา แต่คนเหล่านั้นก็ยังพยายามก็จะต่อสู้จากการโฆษณาสุรา ทำให้เป็นที่มาของการโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังในท้องตลาด สำหรับในสถานศึกษาก็เริ่มมี "เหล้าชูกำลัง" เนื่องจากนักศึกษาบางคนต้องการดื่มสุรา แม้ว่าจะผิดกฎหมายก็ตาม โดยเครื่องดื่มชูกำลังที่ผสมกับสุรานั้น มีอันตรายมากกว่าอาการเมาค้าง ถึงแม้จะเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมก็ตาม ด้านแทมมี่ ลูว์ ผู้ช่วยผู้สนับสนุนสุขภาพ ของสำนักงานสุขภาพนักเรียน กล่าวว่า เครื่องดื่มชนิดนี้เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะไม่รู้สึกอ่อนล้าหรือเพลีย แต่จะเป็นอันตรายต่อเยาวชน เนื่องจากเยาวชนจะเข้าใจผิดว่าเครื่องดื่มชนิดนี้ดื่มแล้วจะไม่เป็นอันตราย อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ เกิดอาการขาดน้ำ เนื่องจากฤทธิ์ของคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ผสมกัน (ส่วนใหญ่คนจะเข้าใจผิดว่าการผสมเครื่องดื่ม 2 ชนิดเข้าด้วยกันจะช่วยแก้อาการเมาค้างได้) แต่ในการทดลองนำยากระตุ้นประสาทผสมกับยากดประสาท ปรากฏว่าไม่เกิดอาการเมาค้างแต่อย่างใด สำหรับผลการวิจัยจากประเทศออสเตรเลียก็ระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต สำหรับคนที่มีอาการเครียด มีความดันโลหิตสูง หรือมีระบบการทำงานของระบบหลอดเลือดบกพร่อง สามารถทำให้เป็นโรคหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน ได้ ทำให้มีนักวิชาการหลายท่านแนะนำว่าไม่ควรดื่มเครื่องดื่มชูกำลังวันละ 2 ขวด
ด้านจิตใจ และพฤติกรรม
ในปัจจุบันเครื่องดื่มชูกำลังเริ่มมีการอวดอ้างสรรพคุณมากขึ้น และส่วนผสมเครื่องดื่มชูกำลังก็ใส่ส่วนผสมที่มากขึ้น โดยเฉพาะคาเฟอีน กัวรานาที่มีปริมาณมากขึ้น ทำให้มีนักวิชาการออกมากล่าวว่า การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมากๆ ในระยะเวลาติดต่อกันอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน หรือการขับขี่รถยนต์ ถ้าหากดื่มในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อจิตประสาท และยังได้กล่าวอีกว่า เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ขวด มีสารคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ 1 ถ้วย แต่สามารถดื่มได้ง่ายกว่า ทำให้กังวลว่า วัยรุ่นจะไปติดยาเสพติด หรือไม่ก็ไปมีเพศสัมพันธ์ตามมาต่อ จนมีการสั่งห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังบางยี่ห้อ เช่น สไปรก์ ชูตเตอร์ ที่ทำให้เด็กนักเรียน 4 คนในรัฐฟลอริดามีอาการใจสั่นผิดปกติจนต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อป้องกันปัญหามางด้านสุขภาพและจิตใจที่จะตามมา[30]และทำให้รัฐบาลอังกฤษออกมาประกาศห้ามขายเครื่องดื่มชูกำลังในโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนในเมืองเวสต์ซัสเซ็กส์ เนื่องจากเครื่องดื่มชนิดนี้ทำให้เด็กนักเรียนหลายคนมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น
ที่มา: http://th.wikipedia.org/