จากไปรษณีย์ม้าด่วน Pony Express มาเป็น รหัสมอร์ส
สวัสดีครับเพื่อนๆ จากบทความที่แล้วเรื่อง โพนีเอกซ์เพรส บริการไปรษณีย์ม้าด่วนข้ามทวีป เป็นการขนส่งไปรษณีย์ด้วยการขี่ม้าเป็นระยะทางไกล ฝ่าอุปสรรคนานัปกาล ด้วยหนทางธุรกันดาลและอันตราย ในเวลาต่อมาจึงได้คิดค้นวิธีที่จะทำให้การสื่อสารสดวกขึ้น ระบบโทรเลขจึงได้เกิดขึ้นหลังจากนั้นมา
ก่อนสิ้นสุดยุคคาวบอย ระบบส่งข่าวสารด้วยโทรเลขที่ใช้รหัสมอร์ส ได้เข้ามาแทนบุรุษไปรษณีย์ขี่ม้าส่งจดหมาย หรือ บริการม้าด่วน(Pony Express) ซึ่งใช้คนขี่ม้าฝีเท้าจัดวันละประมาณ 100 ก.ม. ผลัดกันส่งต่อถุงเมล์รวมระยะกว่า 1000 ไมล์ ทำให้บริการม้าด่วนกลายเป็นเพียงหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ บริษัทผู้ให้บริการขาดทุนกว่า 1 แสนดอลลาร์ และคาวบอยตกงานจำนวนมาก อันเป็นการปฏิวัติระบบสื่อสารครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เราจะมาดูความเป็นมากันสักเล็กน้อย
คลิ๊กฟังเสียง Howdy เป็นรหัสมอร์สที่นี่ได้เลย·
ภาพวาดการฝังเสาโทรเลขอย่างเร่งรีบ และภายใต้กองกำลังป้องกันอย่างหนาแน่นเพื่อป้องกันพวกอินเดียนแดงโจมตี
(ภาพจากhttp://www.wyomingtalesandtrails.com)
การส่งโทรเลขต้องใช้รหัสมอร์ส ซึ่งใช้สัญญลักษณ์เป็นขีดสั้น ขีดยาว บนกระดาษ เครื่องส่งจะเป็นแป้นเคาะ เมื่อคนส่งกดลงจะมีกระแสไหลไปยังปลายสายเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กดูดปากกาหรือ ดินสอให้กดลงบนกระดาษ พนักงานจะดึงกระดาษผ่านปากกาด้วยความเร็วคงที่ หรือใช้มอเตอร์ไฟฟ้าหมุนช้าๆ จะทำให้เกิดขีดสั้น ขีดยาว ตามการกดปุ่มของผู้ส่งรหัสทุกประการ จากนั้นพนักงานฝ่ายรับก็จะนำรหัสมาอ่านและถอดรหัสออกมาเป็นตัวหนังสือธรรมดา ที่คนอ่านได้ เพื่อส่งให้ผู้รับ
Morse-Vail Telegraph Key, 1844-1845
Samuel F. B. Morse (1791 - 1872)
รหัสมอร์สถูกคิดขึ้นในปี ค.ศ. 1830 โดย ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส (Samuel F. B. Morse) และ อัลเฟรต เวล (Alfred Vail) ได้คิดค้นเครื่องส่งโทรเลขโดยใช้กระแสไฟฟ้าควบคุมสนามแม่เหล็กของเครื่องรับ ปลายทาง ผ่านทางสายส่งสัญญาณโทรเลข
ภาพวาดคนขี่ Pony Express กำลังผ่านคนงานฝังเสาโทรเลขสำหรับบริษัท Creighton Telegraph จากหนังสือ Woodcut, Harpers Weekly, 1867 วาดโดย George M. Ottinger (น่าสงสารคนขี่ ที่ต้องมองสิ่งที่กำลังจะมาทำลายอาชีพของตนเองในไม่ช้า) รูปจาก http://www.wyomingtalesandtrails.com
ภาพถ่ายการฝังเสาและวางสายโทรเลขในปี 1861 รูปจาก http://www.wyomingtalesandtrails.com
รหัส มอร์ส Morse code
รหัสมอร์ส (Morse code) คือวิธีการส่งข้อมูลด้วยการใช้รูปแบบสัญลักษณ์สั้นและยาวที่กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานไว้แล้ว ซึ่งมักจะแทนด้วย เครื่องหมายจุด (.) และ เครื่องหมายขีด (-) ผสมกันเป็นความหมายของตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษต่างๆ
ก็อยากจะบอกให้ท่านทั้งหลายทราบว่า รหัสมอร์สภาษาไทยก็มีเหมือนกัน ยุคที่ใช้โทรเลขกัน มีเจ้าหน้าที่กรมไปรษณีย์คนหนึ่ง ได้ใช้หลักการของรหัสมอร์สฝรั่งมาบัญญัติรหัสมอร์สภาษาไทยขึ้น สมัยก่อนการสื่อสารกรุงเทพฯ เชียงใหม่ที่เร็วที่สุดก็คือโทรเลข โดยใช้รหัสมอร์สนี่แหละ
สายโทรเลขสมัยก่อนเป็นเส้นลวดเปลือยเส้นเดียว เวลาส่งจะมีกระแสไฟฟ้าไหลเป็นช่วงสั้นๆ เหมือนรหัสมอร์ส เวลากระแสไหลก็จะเกิดสนามแม่เหล็กรอบเส้นลวดตามกฎสนามแม่เหล็กไฟฟ้า สายโทรเลขระหว่างเสามันเป็นระยะยาวประมาณ 100 เมตร
สำหรับผู้นำ รหัสมอร์ส มาพัฒนาเป็นภาษาไทย ซึ่งเรียกกันว่า โทรเลขนั้น คือ นายสมาน บุณยรัตพันธุ์ นาย ช่างโทรเลขไทย ซึ่งได้พัฒนาเครื่องรับส่งโทรเลขหรือที่เรียกว่า เครื่องโทรพิมพ์ภาษาไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ด้วย โดยคิดระบบกลไก หรือ Spacing Control Mechanism ต่อมาได้ประดิษฐ์เพิ่มเติมโดยให้เครื่องทำงานได้ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ให้ชื่อว่า เครื่องโทรพิมพ์ไทยแบบ S.P. โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2498
ลักษณะรหัสมอร์ส เป็นดังรูปต่อไปนี้ (จาก http://th.wikipedia.org)
ตัวอย่างการเขียนข้อความด้วยรหัสมอร์ส
สวัสดี ... .-- .--.- ... -.. .. ฟังเสียงหรือดาวน์โหลดโดยคลิ๊กที่นี่http://www.natureconcern.com/natureconcern/swasdeeMorse.mp3
หรือคลิ๊กฟังที่นี่ได้เลย
Howdy .... --- .- -.. -.-- ฟังเสียงโดยคลิ๊กที่นี่http://www.natureconcern.com/natureconcern/howdyMorse.mp3
หรือคลิ๊กฟังที่นี่ได้เลย
SOS ... --- ... ฟังเสียงโดยคลิ๊กที่นี่http://www.natureconcern.com/natureconcern/sosMorse.mp3
รหัส ที่ทุกคนควรรู้จักก็คือ SOS ซึ่งเป็นรหัสขอช่วยชีวิต ย่อมาจากคำว่า Save Our Soul เวลาได้ยินรหัสนี้ทางวิทยุหรือเสียงอย่างอื่นที่จำแนกได้ ควรค้นหาแหล่งที่มา เพราะอาจเป็นเสียงจากเรือ หรือเครื่องบินที่ต้องการความช่วยเหลือด่วนสุดๆ จำง่ายครับ คือมี 3 สั้น และ 3 ยาว ซึ่งสั้นก็คือจุด ฝรั่งเรียกดอต 'dot' หรือ ดิต'dit' หรือดิ 'di' และยาวคือ ขีด หรือฝรั่งเรียกแดช 'dash' หรือดะ 'dah' เราจะใช้อะไรแทนก็ได้ เช่น เสียง ตุ๊ด ตู๊ดดดด.. หรือ ติ๊ด, ตี้ดดดด... หรือแสงสว่างโดยการปิดเปิดแสงไฟเป็นช่วงสั้น-ยาว ในหนังนักสืบ Sherlock Holmes ผมเคยเห็นเขาใช้วิธีส่งด้วยร่ม คือมีคนยืนอยู่ไกลๆ อย่างเช่นฝั่งตรงข้ามถนน แม่น้ำ สนามกีฬา เขาจะกางร่ม หุบร่มเป็นจังหวะสั้นยาว ส่งข้อความได้ ข้อสำคัญ ต้องเว้นช่วงระหว่างตัวอักษร
สำหรับประเทศไทย การส่งโทรเลขได้ปิดฉากลงในวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 นับได้ว่าการโทรเลขไทยได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว มีเพื่อนคนไหนเคยใช้บริการโทรเลขบ้าง ลองคอมเม้นท์เล่าให้ฟังบ้างครับ ส่วนตัวเคยใช้เวลานัดแฟนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยประโยคละประมาณ 20 บาท (คิดราคาเป็นพยัญชนะครับ) แล้วพบกันใหม่กับบทความหน้าครับ...mata