หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หลายยุคหลายสมัย..ที่หนังไทยหลายเรื่องโดนแบน (ตอนที่ 1 )

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

เก็บความจากงานภาพยนตร์สนทนา “อุดมการณ์ประชาธิปไตยในภาพยนตร์ไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ณ โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ฯ เมื่อ 23 มิ.ย. 55 ศาสวัต บุญศรี นักวิชาการด้านภาพยนตร์ และ ชญานิน เตียงพิทยากร นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดย สัณห์ชัย โชติรสเศรณี ผู้ช่วยผู้อำนวยการหอภาพยนตร์แห่งชาติ
 

 

หนังไทยประกาศตัวเป็น “หนังการเมือง” ชัดๆ ไม่ค่อยได้ ต้องแอบๆ ซ่อนๆ
ศาสวัตกล่าวว่า ได้ลองไล่สำรวจหนังไทยที่พูดถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างจริงจังร่วมกับเพื่อนๆ นักวิจารณ์หนัง แล้วพบว่าหาได้ยากมาก ช่วงหลังรัฐประหารปี 49 ก็มีหนังหลายเรื่องที่แฝงกลิ่นการเมือง แต่การเป็นหนังการเมืองนั้นไม่ได้หมายความว่าจะมีอุดมการณ์ประชาธิปไตย กลับพบความคิดที่ไม่เป็นประชาธิปไตยปรากฏอยู่ในหนังมากกว่า

ชญานินวิเคราะห์หนังการเมืองไทยว่า หนังไทยจะแสดงตัวว่าเป็น “หนังการเมือง” ชัดๆไม่ค่อยได้ ต้องปกปิดแอบซ่อน ส่วนหนังไทยที่พูดถึงอุดมการณ์การเมืองชัดเจน เท่าที่พบนั้นอาจแยกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือหนังยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์สมัยก่อนที่รัฐให้การสนับสนุน เช่น เรื่อง "หนักแผ่นดิน" เมื่อ พ.ศ.2520 กำกับและแสดงนำโดย สมบัติ เมทะนี ส่วนกลุ่มที่สอง จะเป็นกลุ่มที่แสดงอุดมการณ์การเมืองชัด แต่ไม่ถูกรับรู้ว่าเป็นหนังการเมือง คือหนังแนวประวัติศาสตร์รบรา และหนังเชิดชูสถาบันกษัตริย์
 


"หนักแผ่นดิน" พ.ศ.2520

นอกเหนือไปจากนี้ หากหนังแสดงเนื้อหาทางการเมืองชัดเจน ก็มักถูกมองว่าเป็นภัย อย่างเรื่อง Shakespeare Must Die กำกับโดย สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ (อิ๋ง เค) ซึ่งถูกแบน เพราะฉะนั้นหนังการเมืองไทยต้องซ่อนตัวเอง จนต้องเป็นผู้ชมที่ติดตามการเมืองและดูหนังมามากประมาณหนึ่งจึงจะเข้าใจ

ถ้าเป็นหนังการเมืองที่ไม่ซ่อนตัวเอง เนื้อหาก็จะไม่ได้ลงลึกถึงระดับอุดมการณ์ หรือวิพากษ์วิจารณ์ระบบ แต่เนื้อหาจะติดอยู่แค่ว่านักการเมืองเลว สกปรก คอร์รัปชัน ขี้โกง มั่วเซ็กส์ ธุรกิจสกปรก ฯลฯ นี่คือจุดที่ไกลที่สุดที่ประเทศนี้จะรับกับคำว่า “หนังการเมือง” ได้ ภายใต้เงื่อนไขนี้ ผู้สร้างหนังอาจจะซ่อนนัยอะไรในหนังหรือไม่ก็แล้วแต่

สำหรับหนังสั้น ชญานินกล่าวว่าพอจะมีหนังสั้นที่พูดถึงการเมืองบ้าง ด้วยธรรมชาติของหนังสั้นในปัจจุบันที่สามารถทำได้รวดเร็วและง่าย แต่ที่พูดถึงอุดมการณ์การเมืองอย่างจริงจังและลึกก็หาได้ยากเช่นกัน เพราะเรื่องเหล่านี้หากจะพูดให้ลึกในเวลาเพียงน้อยนิดก็จะไม่รู้เรื่อง หนังสั้นจะพูดถึงการเมืองได้ชัดมากกว่าอยู่แล้วเพราะไม่มีเซ็นเซอร์ แต่ในความชัดนั้นก็มักเป็นเพียงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุการณ์ ประเด็น หรือกระแสข่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่าที่จะเจาะลงไปถึงเรื่องอุดมการณ์ หรือแกนความคิดหลักที่ควบคุมเรื่องนั้นอยู่

ศาสวัตเสริมว่า ในกลุ่มหนังสั้น นึกถึงหนังสั้นการเมืองที่ได้รับรางวัลรัตน์ เปสตันยี 2 เรื่อง คือ เรื่องหนึ่งที่ชื่อ “I'm fine สบายดีค่ะ” ของ กอล์ฟ - ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ หนังบอกว่าความจริงคนไทยเราอยู่ในกรงขัง ไม่ได้มีเสรีภาพจริงๆ แต่คนก็ไม่ได้ใส่ใจ และไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหา และอีกเรื่องหนึ่งคือ สารคดีสั้นเรื่อง “คุณแม่อยากไปคาร์ฟูร์” ของ เต๋อ - นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ กล่าวถึงช่วงเวลาหลังเหตุการณ์ 19 พฤษภาคม 53 สินค้าในห้างคาร์ฟูร์หมดเกลี้ยง แต่หนังไม่ได้ตั้งคำถามถึงอุดมการณ์ความคิดอะไร เป็นปฏิกิริยาต่อเรื่องการเคอร์ฟิวโดยหยิบความรู้สึกในช่วงเวลานั้นมาเล่ามากกว่า

 
ภาพยนตร์สั้น “I'm fine สบายดีค่ะ” โดย ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์


สารคดีสั้น “คุณแม่อยากไปคาร์ฟูร์” โดย นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

 

มองหนังการเมืองของต่างประเทศ
เมื่อพูดถึงตัวอย่างหนังต่างประเทศที่สามารถตีโจทย์เรื่องการเมืองได้แตก ชญานินยกตัวอย่างหนังเรื่อง Secret Ballot (2001) ของประเทศอิหร่าน ซึ่งพูดถึงช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี ฉากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ของอิหร่านติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เป็นแหล่งเข้าออกของพวกขนของหนีภาษี ประชาชนแถบนั้นอยู่อย่างยากจนกลางทะเลทราย วันหนึ่งมีเฮลิคอปเตอร์พา กกต. สาวที่ถือหีบเลือกตั้งมาเพื่อเก็บคะแนนเสียงเลือกตั้งที่นี่ ด้วยความที่ผู้คนอยู่ไกลจากศูนย์กลางความเจริญมาก หลายคนจึงไม่สนใจจะเลือกตั้งเพราะรู้สึกว่าเลือกประธานาธิบดีคนไหนก็เหมือนกัน กกต. สาวมีหน้าที่ถือหีบเลือกตั้งไปตามบ้าน ตามชุมชน ให้คนลงคะแนนเสียง โดยมีทหารลาดตระเวนติดตามไปด้วย เจอผู้คนหลากหลาย เช่น ผู้คนในชุมชนหนึ่งที่ปกครองกันเอง 4-5 ครอบครัว มองว่าเลือกตั้งประธานาธิบดีไปก็เท่านั้น บ้างก็เจอหัวคะแนนพาคนมาเลือกตั้ง บ้างก็เจอคนอ่านหนังสือไม่ออก

ชญานินกล่าวว่า คนอาจมองว่าหนังเรื่องนี้ว่าเสียดสีความเละเทะของการเลือกตั้ง แต่ส่วนตัวมองว่าหนังเรื่องนี้พูดถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตยว่า สุดท้ายแล้วไม่ว่าคนจะสนใจเลือกตั้งหรือไม่ แม้จะอ่านหนังสือไม่ได้ ตาบอด หูหนวก แก่ชรา อย่างน้อยทุกคนก็มีสิทธิที่จะเลือกประธานาธิบดีของตัวเอง คนอาจมองว่าเลือกประธานาธิบดีแล้วไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น แต่ กกต. สาวที่เป็นฟันเฟืองหนึ่งของระบบเลือกตั้งก็พยายามจะรักษาสิทธิของประชาชนไม่ว่าประชาชนจะเป็นอย่างไรก็ตาม
 


ภาพจากภาพยนตร์อิหร่าน เรื่อง Secret Ballot (2001)

ส่วนหนังการเมืองต่างประเทศที่ศาสวัตยกตัวอย่างคือเรื่อง Lions for Lambs (2007) โดยกล่าวว่าหนังเรื่องนี้เหมือนจะถกเถียงกับคุณค่าบางอย่างที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตย ผ่านตัวละคร 3 คู่ คู่แรกเป็นวุฒิสมาชิกไฟแรง (Tom Cruise) กับนักข่าวอาวุโส (Meryl Streep) เถียงกันเรื่องมุมมองต่อการโจมตีตาลีบันครั้งใหม่ของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อเรียกคะแนนเสียง คู่ที่ 2 คืออาจารย์รัฐศาสตร์ผู้เคยผ่านสงครามเวียดนาม เถียงกับนักศึกษาเรื่องประโยชน์ของวิชารัฐศาสตร์ นักศึกษาคนนี้ไม่ยอมเข้าเรียนเพราะมองว่ารัฐศาสตร์ในห้องเรียนกับชีวิตจริงไม่เหมือนกัน คู่ที่ 3 คือนักศึกษาผิวสีกับนักศึกษาลูกครึ่งเม็กซิกันที่เป็นเพื่อนกัน และออกจากมหาวิทยาลัยไปเป็นทหารที่อิรัก หนังทิ้งปมให้คนดูไปตั้งคำถามต่อเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ ตั้งคำถามต่อความจริงที่เราเคยเชื่อ บางครั้งประชาธิปไตยก็มีช่องโหว่ให้ถกเถียงได้
 


ภาพจากภาพยนตร์ Lions for Lambs (2007)

โพสแบบนี้จะผิดมาตรา 37 ป่ะเนี๊ยยยย!!

โพสท์โดย: joo jung
ที่มา: http://prachatai.com
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
การพบงูทะเลยักษ์ ในปี 2391เมื่อสาวเจอความทรงจำที่หายไป..มาอยู่ที่ใต้สะพานลอย"หนุ่ม กรรชัย" ลั่น! ไม่ทะเลาะกับเด็ก แต่ผู้ใหญ่ไม่แน่..หลังต้องอ่านข่าวลัทธิเชื่อมจิตที่สุดของความพยายาม!! เมื่อคุณพ่อเผลอทำเงินตกในเครื่องทำลายเอกสาร เลยให้ลูกชายช่วยต่อให้ใหม่ใช้เวลา 3 สัปดาห์ เเละเเล้วก็สำเร็จ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เมื่อสาวเจอความทรงจำที่หายไป..มาอยู่ที่ใต้สะพานลอยเอาอีกแล้ว! เขมรก็อปปี้หนังไทย เรื่องเด็กหญิงวัลลี ยอดกตัญญู?รู้ยังค่าเทอม "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ค่าธรรมเนียมการศึกษา ปี 2567สรุปดราม่า "กุสุมา สันป่าเหียง"รีวิวหนังสือ Don Quixote ดอน กีโฆเต อัศวินแห่งลามันชา
ตั้งกระทู้ใหม่