หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สัญญาณจากกระจกสะท้อนแสง เครื่องส่งรหัสลับในอดีต

โพสท์โดย mata

เครื่องส่งสัญญาณจากกระจกสะท้อนแสง ที่ทหารอังกฤษใช้ในสงครามแอฟริกาใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒

สัญญาณจากกระจกสะท้อนแสง โดย นายเสงี่ยม เผ่าทองศุข 


          การใช้แสงไฟเป็นสัญญาณส่งข่าวได้มีมานานกว่า  ๒,๐๐๐ ปีแล้ว ชาวกรีกโบราณรู้จักใช้คบเพลิงส่งข่าวสารโดยส่งสัญญาณแทนตัวอักษรทีละตัวๆในสมัยที่กองทัพเรือสเปนขบวนใหญ่บุกน่านน้ำอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๑ (ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา)  ก็ใช้วิธีก่อกองไฟเป็นระยะๆ ตลอดชายฝั่งเกาะอังกฤษ  เป็นสัญญาณเตือนประชาชนให้รู้ว่า เรือรบสเปนมาแล้ว  และในที่สุดกองทัพเรือสเปนก็พ่ายแพ้ยับเยินในช่องแคบอังกฤษนั้นเอง

          ในปี พ.ศ. ๒๓๖๔ (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ-เลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่  ๒ กรุงรัตนโกสินทร์) ชาวเยอรมันชื่อว่า คาร์ล ฟรีดริค เกาส์ (Karl Friedrich Gauss  เกิด พ.ศ.๒๓๒๐ ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๓๙๘) ได้คิดสร้างต้นแบบเครื่องส่งสัญญาณเป็นกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ เรียกว่า เฮลิโอกราฟ(heliograph) เครื่องส่งสัญญาณนี้ประกอบด้วยกระจกเงา  ๒ แผ่นตั้งเป็นมุมแก่กัน  กระจกแผ่นหนึ่งใช้สำหรับรับแสงอาทิตย์ให้มารวมจุด และอีกแผ่นหนึ่งใช้สำหรับส่งแสงสะท้อนเป็นสัญญาณออกไป

          ในเวลาต่อมา ได้มีผู้คิดทำเครื่องส่งสัญญาณที่เป็นกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์หลายแบบแปลกๆ กัน เพื่อใช้ในภูมิประเทศต่างๆ กัน

          เครื่องส่งสัญญาณชนิดสายตามองแบบนี้มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในสงครามแอฟริกาใต้ (คือสงครามระหว่างอังกฤษกับพวกวิลันดาที่อพยพไปอยู่ในแอฟริกาใต้    หรือที่เรียกว่า พวกบัวร์, Boer) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ-จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕)  ในเวลาท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส  การใช้เครื่องส่งสัญญาณชนิดกระจกสะท้อนแสงอาทิตย์ละสามารถส่งข่าวสารไปได้ไกลถึง ๘๐ กิโลเมตร  โดยไม่ต้องใช้กล้องส่องทางไกลช่วย   และในบริเวณที่มีภูเขาเคยทำงานได้ไกลถึง ๑๖๐ กิโลเมตร

          ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๕๗ - พ.ศ. ๒๔๖๑      รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖) และสงครามโลกครั้งที่ ๒  (พ.ศ.  ๒๔๘๒ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่  ๘)ได้มีการใช้ตะเกียงส่งสัญญาณ  ที่มีชื่อเรียกว่า ตะเกียงออลดีส(Aldis  lamp ผู้ประดิษฐ์ชื่อ A.C.W. Aldis) ตะเกียงนี้มีแผ่นบังหน้าที่ปิดเปิดได้พร้อมทั้งกล้องส่องเล็ง ใช้เป็นเครื่องส่งสัญญาณรหัสโทรเลขมอร์ส ประจำเรือรบ และเครื่องบินที่ออกลาดตะเวนบนท้องฟ้าเหนือทะเลตลอดจนเรือพาณิชย์ในขบวนคุ้มกัน ช่วยให้เครื่องบินและเรือเหล่านี้สามารถส่งข่าวสารติดต่อถึงกันได้

          วิธีใช้ก็คือ   ยกตะเกียงออลดีสขึ้นสูงเท่าระดับสายตาหมุนกระจกสะท้อนแสง  เล็งลำแสงให้พุ่งตรงไปยังฝ่ายรับแล้วใช้นิ้วกดไกเป็นจังหวะสั้นๆ ยาวๆ ตามรหัสโทรเลขมอร์ส 
ที่มา: สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทำไมฝรั่งถึงติดใจเมืองไทยจนโบกมือลาไม่ไหว ฟังความลับจากคุณคริสมือถือระเบิดใส่หูสาวอินเดียจนเสียชีวิต เพราะคุยโทรศัพท์ขณะชาร์จดื่มนม ชนิดไหนดี10 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับซานตาคลอสคู่มือเอาตัวรอดนักดื่มสายปาร์ตี้ช่วงสิ้นปี 2024! วิธีปาร์ตี้ยังไงให้ปลอดภัย ไม่แฮ้งค์ ไม่ช็อตฟีล!ฮ่องเต้ตำหนักเยียนสี่ แห่ง เล่ห์รักวังต้องห้าม เช็คอินเมืองไทย ควงฮองเฮาตัวจริง ดื่มน้ำมะพร้าว เที่ยวไทยแลนด์ศาลพระภูมิกับความเชื่อของคนไทย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ดื่มนม ชนิดไหนดีไลฟ์สด Tiktok เป็นเหตุ ครูสอนพิเศษโดนรถไฟชนดับอนาถดาวtiktok นปโปะ สุนัขคอร์กี้ที่กลายเป็นขวัญใจโลกโซเชียลด้วยเพลงสุดฮิต “นปโปะ หม่ำ ๆ”ทำไมฝรั่งถึงติดใจเมืองไทยจนโบกมือลาไม่ไหว ฟังความลับจากคุณคริสฮ่องเต้ตำหนักเยียนสี่ แห่ง เล่ห์รักวังต้องห้าม เช็คอินเมืองไทย ควงฮองเฮาตัวจริง ดื่มน้ำมะพร้าว เที่ยวไทยแลนด์
ตั้งกระทู้ใหม่