หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความเร็วของขอบฟ้าที่หนีห่างไป

โพสท์โดย mata

มนุษย์ผูกพันธ์กับท้องฟ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ นับตั้งแต่วิทยาศาสตร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในการศึกษาปรากฎการณ์บนท้องฟ้า มีความพยายามในการศึกษาเรื่องราวบนท้องฟ้าอย่างมาก จนทำให้เราพบว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของอวกาศที่กว้างใหญ่ไพศาล ที่เรียกว่าเอกภพ รู้การกำเนิดและการขยายตัวของเอกภพ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยทำให้การศึกษาเรื่องราวบนท้องฟ้ามีความแม่นยำมากขึ้นเรื่อยๆ 

     ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ทางองค์การนาซาได้เปิดเผยผลการวัดความเร็วในการขยายตัวของเอกภพ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 74.2 กิโลเมตรต่อวินาทีต่อระยะ 1 เมกะพาร์เซก ที่ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 3% นี่คือค่าที่มีความแม่นยำสูงที่สุดเท่าที่เคยทำการวัดกันมาเลยทีเดียว

     เพิ่มเติมสำหรับนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ระดับมัธยมปลาย ความเร็วในการขยายตัวของเอกภพในหน่วย กิโลเมตรต่อวินาทีต่อระยะ 1 เมกะพาร์เซก จริงๆ แล้วมันคือปริมาณที่เรียกว่า พารามิเตอร์ของฮับเบิล (Hubble's parameter) หรือ ค่าคงที่ของฮับเบิล (Hubble's constant) มันเป็นความชันของกราฟความเร็วกับระยะห่างของแกแลกซี นั้นเอง ความหมายของมันเป็นอย่างไร มาดูกัน

  
รูปขวาคือ H0 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของค่าคงที่ของฮับเบิล เพื่อเป็นเกียรติให้กับ เอ็ดวิน ฮับเบิล (รูปขวา) ผู้ค้นพบการขยายตัวของเอกภพ

     เริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่า ตัวเลขที่ทางองค์การนาซาบอกมานั้น มันหมายความอย่างไรกันแน่ เชื่อว่าทุกๆ คนคงคุ้นเคยกับคำว่า “กิโลเมตรต่อวินาที” แน่ แต่ “ต่อ 1 เมกะพาร์เซก” เนี่ยสิที่จะทำให้งง ขอให้ลองนึกถึงว่าตอนนี้คุณกำลังอยู่บนโลก ซึ่งเป็นจุดเล็กๆ จุดหนึ่งในอวกาศ จากนั้นหากคุณมองวัตถุชิ้นหนึ่ง อยู่ห่างจากคุณเป็นระยะ 1 เมกะพาร์เซก (เท่ากับระยะทาง 27 ล้านล้านล้านล้าน กิโลเมตร) คุณจะพบว่าการขยายตัวของเอกภพทำให้จุดนั้นจะเคลื่อนที่ห่างจากคุณออกไป 74.2 กิโลเมตร ทุกๆ 1 วินาที

     ความเร็วในการขยายตัวของเอกภพไม่เหมือนกับความเร็วของวัตถุเคลื่อนที่อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ในชีวิตประจำวัน การขยายตัวของเอกภพเหมือนการยืดหนังยาง ในความจริงยางยึดที่จำลองเอกภพได้สมจริงคือยางยืดสามมิติ แต่ถ้าจะให้สมจริงก็จะเข้าใจยาก การอธิบายเอกภพขยายตัวนิยมใช้การขยายตัวของผิวลูกโป่งซึ่งเป็นผิวสองมิติแทน เมื่อหยิบลูกโป่งสีน้ำเงินมา 1 ลูก จากนั้นให้ติดกระดาษสีขาวตัดเป็นรูปวงก้นหอยแปะลงบนลูกโป่งหลายๆ จุด ให้ทั่วทั้งลูกโป่ง กระดาษที่แปะไปนั้นเปรียบเสมือนวัตถุต่างๆ บนท้องฟ้า เช่น แกแลกซี ต่างๆ เป็นต้น เมื่อเป่าลูกโป่งให้พองจะพบว่ากระดาษที่ติดบนลูกโป่งกระจายตัวออกจากกัน สมมุติว่าเราเป็นผู้สังเกตคนเล็กๆ ยืนอยู่บนจุดใดจุดหนึ่งของลูกโป่ง เราจะสังเกตเห็นว่าจุดอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ ต่างเคลื่อนที่ออกไปรอบทิศทาง แม้ว่าลูกโป่งจะพองตัวขึ้นอย่างสม่ำเสมอ แต่จุดต่างๆ กลับเคลื่อนที่ออกจากเราด้วยความเร็วที่เท่ากัน จุดที่อยู่ใกล้จะเคลื่อนที่ออกไปช้า จุดที่อยู่ไกลจะเคลื่อนที่ออกไปเร็ว จุดที่อยู่ยิ่งไกลออกไปก็จะเคลื่อนที่ออกห่างไปยิ่งเร็ว และนี่คือลักษณะของการขยายตัวของเอกภพ

  
การขยายตัวของเอกภพ อธิบายด้วยการเป่าลูกโป่ง หากเรายืนบนจุดใดจุดหนึ่ง เราจะพบว่าจุดรอบๆ เคลื่อนที่ออกไป ดังรูป

     กล่าวโดยสรุปคือ การขยายตัวของเอกภพมีความเร็วไม่คงที่ทั่วทุกจุด แต่จะขึ้นกับระยะห่างด้วย ยิ่งห่างยิ่งเร็ว ยิ่งใกล้ก็จะช้าลง ด้วยเหตุนี้การบอกค่าความเร็วจำต้องระบุด้วยว่าเป็นความเร็วที่ระยะห่างเท่าใด ในวงการนักดาราศาสตร์จึงมีข้อตกลงกันว่า การรายงานความเร็วของการขยายตัวของเอกภพ ควรจะรายงานเป็นความเร็วที่ระยะ 1 เมกะพาร์เซก 

     เมื่อรู้ค่าความเร็วที่ระยะ 1 เมกะพาร์เซกแล้ว ถ้าอย่างรู้ความเร็วที่ระยะอื่นๆ ล่ะจะทำอย่างไร คำตอบคือ ความเร็วที่ระยะไกลกว่านี้ หรือใกล้กว่านี้ ให้หาด้วยวิธีคำนวณตามกฎของฮับเบิล (Hubble's Law) ที่ว่า

ความเร็วที่ระยะใดๆ ในหน่วย กิโลเมตรต่อวินาที = (72.4 กิโลเมตรต่อวินาทีต่อเมกะพาร์เซก) คูณ ระยะ ในหน่วยเมกะพาร์เซก

หรือจะเขียนกฎของฮับเบิลแบบเป็นตัวแปร ก็จะอยู่ในรูปดังนี้

v = H0d

โดยที่ v คือความเร็วที่ระยะใดๆ H0 คือค่าคงที่ฮับเบิลซึ่งมีค่า 72.4 กิโลเมตรต่อวินาทีต่อเมกะพาร์เซก นั้นเอง และ d ก็คือระยะในหน่วยเมกะพาร์เซก

    ตัวอย่างของการคำนวณหาความเร็วที่ระยะใดๆ เช่น ถ้าโลกอยู่ในแกแลกซีสีขาวตรงกลาง วงกลมสีเหลืองวงในสุดคือระยะห่าง 0.5 เมกะพาร์เซก และวงกลมวงกลางและวงนอกสุดมีระยะห่าง 1 และ 2 เมกะพาร์เซก ตามลำดับ จากรูป ผู้สังเกตพบโลกจะเห็นแกแลกซีสีฟ้าเคลื่อนที่ออกไปตามแนวรัศมี ด้วยความเร็ว 31.2 กิโลเมตรต่อวินาทีเห็นแกแลกซีสีเขียวจะเคลื่อนที่ออกไปด้วยความเร็ว 72.4 กิโลเมตรต่อวินาที และจะเห็นแกแลกซีสีแดงเคลื่อนที่ออกไปด้วยความเร็ว 144.8 กิโลเมตรต่อวินาที

 

 



 
 
 
เครื่องมือที่ใช่วัด
 

     พระเอกของงาน ที่ทำให้ได้มาซึ่งความเร็วในการขยายตัวของเอกภพนี้ คือ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ “สพิทเซอร์” (Spitzer Space telescope) กล้อง “สพิทเซอร์” เป็นกล้องที่สามารถมองเห็นและถ่ายภาพแสงอินฟราเรด ดวงตาของมนุษย์นั้นไม่สามารถมองเห็นแสงอินฟราเรดได้ ทำให้ “สพิทเซอร์” เป็นเหมือนตาวิเศษอีกดวง ที่ช่วยอำนาจการรับรู้ของมนุษย์ให้กว้างไกลออกไปได้ถึงสุดขอบของเอกภพ


รูปของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “สพิทเซอร์”

     ในการสำรวจอวกาศ พอนักวิทยาศาสตร์มีกล้องที่เป็นเหมือนกับตาทิพย์แล้ว สิ่งที่จะต้องตระหนักคือ พวกเขาจะใช้ตาดวงนี้อย่างไร เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์มากที่สุด

     ด้วยความสามารถในการมองเห็นรังสีอินฟราเรดของ “สพิทเซอร์” มันจึงได้รับภารกิจให้สำรวจวัตถุเย็นที่อยู่บนท้องฟ้า (เย็นในที่นี้คืออุณหภูมิอยู่ในช่วง -200 ถึง 5000 องศาเซลเซียส) เช่น ดาวฤกษ์สูงอายุ ดาวฤกษ์เกิดใหม่ ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ฝุ่นและเมฆหมองในเนบิวลา ตรวจหาชีวะโมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต และ กลุ่มของวัตถุที่ทำให้พวกเราได้รู้ถึงความเร็วในการขยายตัวของเอกภพที่แม่นยำขึ้น มันคือดาวฤกษ์สูงอายุที่มีการเปล่งแสงมืดสว่างสลับกันไป ดาวฤกษ์ชรากลุ่มนี้เรียกว่า “เซฟีด” (Cepheid)

     “เซฟีด” คือเป็นชื่อเรียกกลุ่มของดาวฤกษ์เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ แต่สิ่งที่ทำให้พวกมันมีความพิเศษ จนทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องจับตามองคือ มันอยู่ไกล และมันเปล่งแสงติดดับ (สว่างมาก สว่างน้อย) สลับกันอย่างสม่ำเสมอ โดยช่วงเวลาแต่ละครั้งของการเปล่งแสงติดดับสามารถนำไปคำนวณหาระยะห่างระหว่างโลกกับ “เซฟีด” ที่กำลังสังเกตได้


รูปแสดง การเปล่งแสงแบบสว่างมากสว่างน้อยของ "เซฟีด"

     หากเราต้องการวัดว่าเอกภพมีความเร็วในการขยายตัวเท่าใด ก็ต้องวัดความเร็วและระยะห่างของวัตถุต่างๆ บนท้องฟ้า เหตุที่นักวิทยาศาสตร์เลือกที่จะใช้ “เซฟีด” หากใครเคยอ่านบทความเรื่อง "รางวัลโนเบล 2011 : คุยกันเรื่องเอกภพ" อาจจะสงสัยว่าทำไมถึงไม่วัดระยะห่าง "ซุปเปอร์โนวาชนิด 1 เอ" ล่ะ จริงๆ แล้ว ในการสำรวจเอกภพ โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องเจาะจงว่าจะต้องเก็บข้อมูลจากอะไร หากมีเครื่องมือและเวลาพร้อม การสำรวจจะทำกับทุกๆ วัตถุ ยิ่งเยอะยิ่งดี ขอเพียงเราวัดความเร็วและระยะห่างได้เป็นพอ แต่สำหรับกรณีของการวัดความเร็วในการขยายตัวของเอกภพ "เซฟีด" คือวัตถุที่ถูกจับตามองมากเป็นพิเศษ เพราะนอกจากเครื่องมือพร้อมแล้ว ดาวชราในกลุ่มนี้กระจายอยู่ทั่วไป เต็มท้องฟ้า พวกมันหาง่ายกว่า "ซุปเปอร์โนวาชนิด 1 เอ" มาก และที่สำคัญคือ นักวิทยาศาสตร์รู้ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาการเปล่งแสงติดๆ ดับๆ กับระยะห่าง เราทำเพียงวัดวงรอบของการเปล่งแสงของ “เซฟีด” แล้วนำไปคำนวณหาระยะห่าง “เซฟีด” นั้นๆ ได้อย่างแม่นยำ 

     
ดังนั้น หากเราต้องการความแม่นยำสูง การเก็บข้อมูลกับ “เซฟีด” จึงเหมาะสมกับงานยิ่งกว่าการเก็บข้อมูลจาก "ซุปเปอร์โนวาชนิด 1 เอ" ในปัจจุบัน กล้อง “สพิทเซอร์” ได้ทำการเก็บข้อมูลจาก “เซฟีด” ไปแล้ว 90 ดวง โดยที่มี 10 ดวงอยู่ในแกแลกซีทางข้างเผือกของเราเอง และอีก 80 ดวงอยู่ในเมฆแมเจนแลน ได้ความเร็วของแต่ละดวง 90 ค่า และได้ระยะห่างจากโลกของแต่ละดวงอีก 90 ค่า ข้อมูลทั้งหมดถูกทำไปเขียนกราฟ แกนตั้งคือความเร็ว แกนนอนคือระยะห่าง เมื่อคำนวณความชันของกราฟ วิธีเดียวกับที่นักเรียนมัธยมปลายจะได้คำนวณในการเรียนและการสอบวิชาโอเน็ตดาราศาสตร์ ก็จะได้ความเร็วในการขยายตัวของเอกภพ ในหน่วย กิโลเมตรต่อวินาทีต่อเมกะพาร์เซก 

     การวัดความเร็วในการขยายตัวของเอกภพนี้ ฟังดูแล้ว มันคือเรื่องไกลตัวอย่างมาก (ก็ไกลจริงๆ นี่นา ตั้ง 1 เมกะพาร์เซก) อีกทั้งการวัดปริมาณนี้ไม่ใช่อะไรใหม่ ข้อมูลที่เปิดเผยเป็นเพียงการรายงานค่าที่แม่นยำขึ้น จริงๆ แล้ว ปริมาณความเร็วในการขยายตัวของเอกภพ ในหน่วย กิโลเมตรต่อวินาทีต่อ 1 เมกะพาร์เซก มีชื่อเรียกว่า พารามิเตอร์ของฮับเบิล (Hubble's constant) ปริมาณนี้จัดเป็นหัวใจดวงหนึ่งของจักรวาลวิทยา นั้นหมายความว่าหากเราคำนวณพารามิเตอร์ของฮับเบิลได้แม่นยำยิ่งขึ้น เราจะคำนวณปริมาณอื่นๆ ของเอกภพได้ดีขึ้นนั้นเอง 

โดย StarFall1 

อ้างอิง
NASA's Infrared Observatory Measures Expansion Of Universe.www.spitzer.caltch.edu

ที่มา: vcharkarn.com
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
12 เทพเจ้ากรีกมีใครบ้างลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยสาว "เจี๊ยบ" ทำเนียนเดินรวมกับ นร.ญี่ปุ่น..ทำเอาหนุ่ม "บอย" ถึงกับแยกไม่ออกหลอนทั้งอพาร์ทเมนต์! คนใช้น้ำแทบช็อก..หลังพบศwในแทงค์น้ำบนชั้นดาดฟ้านกอันตรายที่สุดในโลกเกมพลิก!! เมื่อหนุ่ม ๆ เเอบเเม่ไปหาปลา เกือบโดนด่า เเต่พอเห็นลูกได้ปลาตัวใหญ่กลับบ้าน เสียงเปลี่ยนทันทีเลยนะเเม่
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?อิหร่านขู่ถล่มที่ตั้งนิวเคลียร์ ของอิสราเอลด้วยขีปนาวุธชวนมารู้จักลาบูบู้ มาการอง เดี๋ยวจะคุยกับเค้าไม่รู้เรื่อง
ตั้งกระทู้ใหม่