ธารน้ำแข็งหิมาลัยส่อแววลดฮวบ
ธารน้ำแข็งที่เทือกเขาหิมาลัยส่อแววลดลงในอีกหลายสิบปีข้างหน้านี้
ศาสตราจารย์ซัมเมอร์ รูปเปอร์ ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์มหาวิทยาลัยไบรห์แฮม ยังที่ภูฏานเปิดเผยงานวิจัยการศึกษาเกี่ยวกับมรสุมที่เกิดขึ้นกับเทือกเขาหิมะลัย โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยในวารสารวิชาการ Geophysical Research Letters แล้ว
งานวิจัยของ ศ.รูปเปอร์ เผยว่า หากสภาพอากาศของโลกยังเป็นเช่นนี้อยู่ ธารน้ำแข็งของเทือกเขาหิมาลัยที่ภูฏานราว 10 เปอร์เซ็นต์จะอันตรธานหายไปในอีก 10 ปีข้างหน้านี้ และจะมีน้ำหายไปอีกมหาศาล
ศ.รูปเปอร์บอกว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเป็นเพียงแค่ตัวการข้อหนึ่งเท่านั้นของการที่ธารน้ำแข็งที่จะหายไป แต่มีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ทำให้ธารน้ำแข็งลดลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นลม ความชื้น และปริมาณหยาดน้ำฟ้า ซึ่งหากเกิดความไม่สมดุลขึ้นที่บริเวณธารน้ำแข็งความยาว 13 ไมล์ที่ภูฏานนี้ พื้นที่นี้จะหายไปจนไม่มีเหลือเลยในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้
"ธารน้ำแข็งส่วนนี้อุ่นขึ้นมาเยอะในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งปัจจุบันกำลังมีผลกระทบอย่างมาก" ศ.รูปเปอร์อธิบาย
ในความเป็นจริงแล้ว อัตราการตกของหิมะที่ภูฏานคงต้องมีมากขึ้นเป็นสองเท่าหากไม่ต้องการให้ธารน้ำแข็งหายไป แต่ความเป็นจริงคงไม่เกิดขึ้นเพราะอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นกลับก่อให้เกิดฝนตกมากกว่าหิมะ หากว่าพื้นที่ธารน้ำแข็งเสียน้ำไปมากกว่าที่ได้กลับคืนมา ผลรวมของฝนและธารน้ำแข็งที่ละลายก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ซึ่งก็อาจจะทำให้หมู่บ้านที่อยู่รอบๆได้รับผลกระทบ
"ประชากรจำนวนมากของโลกอยู่ใต้การไหลของเทือกเขาหิมะลัย มีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์มากมายที่อาจจะเสียไปได้ ไม่ใช่แค่คนภูฏานเท่านั้น แต่ประเทศเพื่อนบ้านก็กำลังเผชิญกับความเสี่ยงลักษณะเดียวกัน" ศ.รูปเปอร์อธิบาย
ศ.รูปเปอร์ได้ศึกษาจนได้พบว่า หากว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1 องศา ธารน้ำแข็งที่ภูฏานจะลดลงไป 25 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณน้ำจะลดลงปีละ 65 เปอร์เซ็นต์ หากสภาพอากาศยังคงอุ่นไปเรื่อยๆเช่นนี้ โอกาสที่การทำนายดังกล่าวจะเป็นจริงก็มีมากขึ้น
เพื่อให้การทำนายโมเดลสำหรับภูฏานแม่นยำมากขึ้น ศ.รูปเปอร์และทีมงานนักศึกษาปริญญาโทได้ร่วมกันทำวิจัยกับมหาวิทยลัยโคลัมเบีย และศูนย์สังเกตการณ์ Lamont-Doherty ของนาซ่า ไม่ว่าจะเป็นการติดตามปริมาณน้ำฝนในป่า และความแห้งแล้งต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลของน้ำแข็งมา จากนั้นได้ติดตามข้อมูลจากสถานีพยากรณ์อากาศและจากอุปกรณ์ติดตามธารน้ำแข็งที่สามารถใช้เก็บรวมรวมข้อมูลในเวลาจริงเป็นรายเดือนและรายปีได้
"ต้องใช้เวลา 7 วันในการเก็บข้อมูลธารน้ำแข็งที่กำลังศึกษา" ศ.รูปเปอร์อธิบายถึงงานวิจัย โดยเพิ่งจะกลับมาจากภาคสนามในเดือนตุลาคม
การทำนายและการทำงานภาคสนามของ ศ.รูปเปอร์ ส่วนใหญ่แล้วจะดูที่ธารน้ำแข็งที่ภูฏาน และทางภาครัฐก็หวังว่า งานวิจัยชิ้นนี้จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจระยะยาวเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศและการรับมือกับอุทกภัย
"ก็เป็นไปได้ที่เราจะได้แนวคิดที่ดีขึ้นว่าจะสร้างบ้นที่ไหนหรือจะสร้างโรงไฟฟ้าที่ไหน เราก็หวังว่าวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าจะทำให้ได้วิธีการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรมที่ดีเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีในอีกหลายสิบปีข้างหน้านี้"
อ้างอิง: Brigham Young University (2012, November 15). Himalayan glaciers will shrink by almost 10 percent, even if temperatures hold steady. ScienceDaily. Retrieved November 17, 2012, from http://www.sciencedaily.com/releases/2012/11/121116124650.htm
งานวิจัย: Summer Rupper, Joerg M. Schaefer, Landon K. Burgener, Lora S. Koenig, Karma Tsering, Edward R. Cook. Sensitivity and response of Bhutanese glaciers to atmospheric warming. Geophysical Research Letters, 2012; 39 (19) DOI: 10.1029/2012GL053010