หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อาหาร(ความสำคัญ)สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

โพสท์โดย ABCDEE

 

ความสำคัญของอาหารกับผู้ป่วยมะเร็ง

 

 

 


          อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง  การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอและเหมาะสมก่อน  ระหว่างและหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและมีความรู้สึกดีขึ้นมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคได้  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสม  ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหาร  และเครื่องดื่มที่มีสารอาหารที่ร่างการต้องการได้แก่  วิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และน้ำ  อย่างเพียงพอ สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง อาจจะมีปัญหาจากการรักษาซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลงไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลง  ของระบบร่างกายที่เกิดขึ้นจากเซลล์มะเร็งในการต่อสู้โรค อาการเหล่านั้นได้แก่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก แสบปาก กลืนลำบาก และเจ็บเมื่อรับประทานอาหาร ยาที่รักษามะเร็งอาจมีผลลดความอยากอาหาร  การรับรสชาติเปลี่ยนไป  ร่วมกับการรับประทานอาหารน้อยลง การดูดซึมสารอาหารลดลง สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ปัญหาทางโภชนาการ (การขาดสารอาหาร) ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภูมิต้านทานลดลงติดเชื้อง่ายและไม่สามารถทนต่อการบำบัดได้

           ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมาก ไม่ได้เสียชีวิตจากการลุกลามของโรค แต่กลับเป็นเพราะการขาดอาหาร การศึกษาวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ในระยะที่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ รวมทั้งมะเร็ง ถ้าร่างกายได้รับอาหารที่เหมาะสม เพียงพอ จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยา การผ่าตัด หรือการฉายรังสีช่วยให้ฟื้นสภาพได้เร็วและดีขึ้น หรือน้อยที่สุดก็จะช่วยให้คงสภาพนั้นไว้ไม่ให้เสื่อมโทรมกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่า อาหารที่ดี จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง

 

ทำไมเป็นมะเร็งแล้วจึงขาดอาหาร
          1. ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น เซลล์ มะเร็งมีการสร้างสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีการ เผาผลาญอาหารที่รับประทานเข้าไปให้หมดโดยเร็วเพื่อใช้เป็นพลังงานถ้าได้อาหารไม่เพียงพอจึงมีการเผาผลาญอาหารจากส่วนที่ร่างกายสะสมไว้ในร่างกายและลุกลามไปถึงกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆได้
          2. รับประทานอาหารได้น้อย ในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้เป็นมะเร็งจำนวนมากมักรับประทานอาหารได้น้อย เพราะเบื่ออาหารซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดกับผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งเมื่อเริ่มเกิดโรคหรือเกิดในระยะต่อมาเมื่อมีการแพร่ของเซลล์มะเร็งในร่างกาย ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการเบื่ออาหารเมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย การเบื่ออาหารจึงเป็นสาเหตุ ทำให้ขาดอาหารได้ง่ายขึ้น ทำอย่างไรผู้ป่วยจึงจะรับประทานอาหารได้มากขึ้น
          3.ไม่รับประทานอาหารบางชนิด ปัญหาการไม่ยอมรับประทานอาหารหลาย ๆ ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเข้าใจว่าเป็นอาหารแสลงสำหรับโรคมะเร็ง นับเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งขาดสารอาหาร ดังนั้นการกินอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่ความสำคัญมาก  เพราะช่วยเสริมการรักษาโรคมะเร็ง สามารถทนต่อการรักษาได้มากขึ้น และทำให้มีภาวะโภชนาการที่ดีมีความต้านทานโรค
อาหารสำหรับโรคมะเร็งไม่มีสูตรแต่ใช้หลักการจัดอาหารในโรงพยาบาลมาประยุกต์เพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานได้  โภชนบำบัดสำหรับโรคมะเร็ง  นอกจากคำนึงถึงความต้องการของพลังงาน  โปรตีน  ไขมัน  และสารวิตามิน  เกลือแร่ ที่จำเป็นต่อร่างกายตามอายุต่าง ๆ  กิจกรรม และระดับความรุนแรงของโรค เป้าหมายเพื่อป้องกันน้ำหนักลด การสูญเสียกล้ามเนื้อป้องกันการขาดสารอาหาร  ดัดแปลงอาหารเพื่อให้ผู้ป่วยรับได้ ใช้อาหารทางการแพทย์เสริมเมื่อผู้ป่วยรับอาหารได้น้อย         

          ผู้ป่วยที่รักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดมักมีปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำเป็นบางช่วง  ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้  ควรระวังด้านความสะอาดของอาหาร  ได้แก่  การล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆก่อนการรับประทานอาหาร  และการหยิบจับอาหารสดบางประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ปลาดิบ ไข่สด ต้องล้างมือ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการปรุงอาหารดังกล่าว ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด การเตรียมและการปรุงอาหารที่สุกสะอาด อาหารที่ปรุงสุกแล้วเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม รับประทานอาหาร ที่ปรุงใหม่ ๆ  หากออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรระวังอาหารที่มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น สลัดผักสด อาหารยำ ปลาดิบ อาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ  น้ำแข็งและน้ำดื่มที่ไม่มั่นใจในความสะอาด

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

          ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถกินอาหารได้พอสมควร ควรกินอาหารตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพดีของคนไทย ดังนี้

food 5mm

          1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หลีกเลี่ยงการกินอาหารซ้ำซาก เพื่อลดการสะสมของสารบางชนิด และหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ผอมไป
          2.กินข้าวเป็นหลักสลับกับกินอาหารประเภทแป้ง เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ฯลฯ เป็นบางมื้อ  เลือกกินข้าวกล้อง ข้าวแดงแทนข้าวขาว จะได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า
          3.กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ โดยกินผัก ผลไม้ทุกมื้อ และกินให้หลาย ๆ สี ได้แก่  สีเหลือง สีส้ม สีแดง เช่น ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ มะม่วงสุก มะละกอสุก ฯลฯ สีเขียวเข้ม เช่น  ตำลึงคะน้า บร็อคโคลี ผักโขม ฝรั่ง ฯลฯ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และต้านมะเร็งได้ 
          4.กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ

- ปลาเป็นโปรตีนที่คุณภาพดีและย่อยง่าย   ไขมันต่ำ  ควรกินบ่อย ๆ
- ไข่เป็นอาหารที่หาง่ายและมีโปรตีนที่คุณภาพดี ถ้าไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง กินได้วันละ 1 ฟอง
-  ถั่วเมล็ดแห้งเป็นโปรตีนจากพืชที่ใช้กินแทนเนื้อสัตว์เป็นบางมื้อได้ 
- เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน  หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง  มีโคเลสเตอรอลสูงและไม่ควรกินเนื้อสัตว์ที่มีสีแดงบ่อย ๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีการแปรรูปเติมสารกันเสีย เติมสี เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง แหนม ฯลฯ เพราะมีหลักฐานงานวิจัยที่น่าเชื่อถือว่ามีส่วนในการกระตุ้นเซลล์มะเร็ง

          5.ดื่มนมเพื่อบำรุงร่างกาย นมช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ซ่อมแซมเซลล์ เนื้อเยื่อ ผู้ป่วยควรดื่มนมสด นมพร่องมันเนย วันละ 1-2 แก้ว  หรือดื่มนมถั่วเหลืองก็ได้ถ้าไม่ชอบนมวัว
          6.กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร  เช่น กินอาหารประเภททอด ผัด และแกงกะทิแต่พอควร หลีกเลี่ยงอาหารทอดที่ใช้น้ำมันซ้ำหลายครั้ง อาหารปิ้ง ย่าง(ที่ดำไหม้เกรียม) เลือกกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง กินแกงไม่ใส่กะทิ เป็นประจำ เช่น แกงเลียง แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด ฯลฯ
alco          7.หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด เพราะถ้ากินหวานมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด  กินเค็มมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
          8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน เพราะอาหารที่ไม่สุกและปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมี  ต่าง ๆ เช่น สารบอแรกซ์ สารกันรา สีย้อมผ้า สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และยาฆ่าแมลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ และเป็นผลเสียต่อโรคมะเร็ง
           9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคตับแข็ง โรคมะเร็งหลอดอาหาร และโรคร้ายอีกมากมาย

         

 

        ในผู้ป่วยมะเร็งที่มีปัญหาเฉพาะด้านที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ควรปรับการกินอาหารตามอาการที่ปรากฏ ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร  คลื่นไส้ อาเจียน การรับรสเปลี่ยน ปากแห้ง เจ็บปาก อิ่มเร็ว ท้องเสีย ท้องผูก ดังนี้

          1.เบื่ออาหาร เลือกอาหารที่ผู้ป่วยพอกินได้ กลิ่น รสไม่จัด เช่น ขนมปังกรอบ ขนมต่าง ๆ ให้กินเป็นอาหารว่าง ควรกำหนดมื้อหลักในช่วงเช้า กินทีละน้อยแต่ทานบ่อย ๆ เช่น จัดอาหารมื้อเล็ก 4 – 6 มื้อ ให้เครื่องดื่มเสริมพลังงานและโปรตีนสูง เช่น ถ้าผู้ป่วยดื่มนมได้ ให้เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมนม ไอศกรีมนม แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ชอบนม ให้พวกน้ำผลไม้ น้ำหวาน ไอศกรีมหวานเย็น ผลไม้ในน้ำเชื่อม ฯลฯ 
          2.คลื่นไส้  ให้รับประทานอาหารก่อนให้เคมีบำบัด เลี่ยงอาหารที่มันเยิ้ม มีกลิ่นฉุน รับประทานอาหารแห้งประเภทแครกเกอร์ ขนมปังกรอบ ทองม้วน อาหารที่เสิร์ฟไม่ปรุงรส ให้มีรสหวานตามธรรมชาติ ไม่เค็ม งดใส่เครื่องเทศบางชนิดที่ผู้ป่วยแพ้
          3.อาเจียน จิบของเหลวใสทุก 10 – 15 นาทีหลังจากอาเจียน เช่น น้ำซุปใส น้ำหวาน น้ำผลไม้ ฯลฯ ยกหัวให้สูงเมื่อเอนหลัง ติดต่อแพทย์หากมี อาการปวดท้อง อาจใช้ยาลดอาการอาเจียน  
          4.อิ่มเร็ว ให้เครื่องดื่มที่มีสารอาหารเข้มข้น ดื่มระหว่างมื้อ เช่น อาหารเสริมทางการแพทย์ เลี่ยงอาหารมัน – ทอด เนื่องจากย่อยยาก รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อ พยายามกินเมื่อสามารถกินได้
          5.การรับรสเปลี่ยน แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก กลั้วคอหรือลิ้นก่อนรับประทานอาหาร เปลี่ยนเนื้อสัตว์ใช้ปลา ไก่  ไข่แทนเนื้อแดง ใช้เมนูอาหารมังสวิรัติโปรตีนสูงก็ได้ เช่น เต้าหู้ ถั่วชนิดต่าง ๆใช้น้ำมะนาว กลิ่นมิ้นท์ช่วยเมื่อมีลิ้นขม รับประทานผลไม้กวนที่มีรสหวานอมเปรี้ยว เช่น สับปะรด แอบเปิ้ล หลีกเลี่ยงเครื่องเทศหรือเครื่องปรุงรสที่มีกลิ่นฉุน ปรุงอาหารไม่มัน เลี่ยงภาชนะเสิร์ฟอาหารที่เป็นพลาสติกหรือโลหะ อาหารควรมีอุณหภูมิอุ่นถึงร้อนจะช่วยให้มีกลิ่นและรสดีขึ้น
          6.ปากแห้ง รับประทานอาหารอ่อน ๆ มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือใช้ลูกอม ขนมหวานแช่แข็งหรือไอศกรีมหวานเย็น เลี่ยงเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีรสหวานจัด และจิบน้ำบ่อย ๆ 
          7.แผลในช่องปาก เจ็บปากและลิ้น  ต้องระวังอาหารและผลไม้ที่เป็นกรดหรือมีรสเปรี้ยว เครื่องเทศที่เผ็ดร้อน รสเค็ม อาหารหยาบหรือกรอบแข็ง ระวังการติดเชื้อในช่องปาก และเลือดออก ให้อาหารอ่อนที่เคี้ยวกลืนง่ายได้แก่  ข้าวต้ม โจ๊กบดผสมเนื้อสัตว์ผัก กล้วยสุก  แตงโม มันฝรั่งบด ถั่วเมล็ดแห้งต้มบดกรอง พุดดิ้ง วุ้น ไข่กวน ข้าวโอ๊ต อาหารปั่นผสมสูตรต่าง ๆ เนื้อต้มบด กรอง เสิร์ฟอาหารอุณหภูมิห้องไม่ร้อนไม่เย็น หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีกรด เช่น ส้ม มะเขือเทศ น้ำผลไม้ บางครั้งเสิร์ฟอาหารชิ้นต้องตุ๋นต้มเปื่อย
          8.ท้องเสีย  แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอ เสริมเครื่องดื่มให้พลังงานและเครื่องดื่มเกลือแร่ เช่นน้ำซุปใส น้ำสกัดเนื้อ น้ำผลไม้ที่ผ่านความร้อน จำกัดการดื่มนม 2 แก้วต่อวัน สำหรับผู้ที่ดื่มนมประจำ หรืองดการดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมสักระยะหนึ่งจนกว่าหยุดถ่าย งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง เครื่องดื่มอัดแก๊ส
          9.ท้องผูก  แนะนำการรับประทานใยอาหาร 25 – 35 กรัมต่อวัน เช่น กินผัก ผลไม้ ธัญพืชพวกเมล็ดมากๆ ดื่มน้ำ 8 – 10 แก้ว หรือน้ำลูกพรุน น้ำผลไม้อุ่น เดินและออกกำลังกาย หากไม่ได้ผลให้ปรึกษาแพทย์เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เพิ่มกาก อาหารที่ให้ใยอาหาร 4 กรัม ได้แก่ ถั่วแดงหลวง ½  ถ้วย ถั่วปากอ้า ½ ถ้วย ถั่วลันเตาเม็ด ½ ถ้วย ธัญพืชสำเร็จรูปที่ไม่ขัดสี ซีเรียล 1 ออนซ์ ข้าวโพด ½ ถ้วย อาหารที่มีใยอาหาร 2 กรัมได้แก่ ผักสด 1 ถ้วย ผักต้มสุก ½ ถ้วย ผลไม้ ½ ถ้วย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี กะหล่ำปลี แครอท หอมใหญ่ ถั่วลันเตาฝัก  มะเขือยาว คื่นช่าย
          10.อาหารสุกสะอาด  ผู้ป่วยมะเร็งมักมีเม็ดเลือดขาวต่ำจากหลายสาเหตุเช่นการฉายแสง เคมีบำบัดและจากตัวโรคเอง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรระวังเรื่องการหมดอายุของอาหารที่ซื้อควรละลายอาหารในตู้เย็นหรือเตาไมโครเวฟ ไม่ละลายอาหารแช่แข็งในอุณหภูมิห้องและรับปรุงอาหารทันที เก็บอาหารร้อนในอุณหภูมิร้อน อาหารเย็นในอุณหภูมิเย็น ปรุงเนื้อสัตว์ให้สุก ระวังผักผลไม้ที่ช้ำมีเชื้อรา ล้างมือเสมอป้องกันการแพร่เชื้อ
          11.น้ำลายเหนียว ทำให้ฟันผุง่าย ให้อาหารปกติที่มีน้ำ หรือซอสผสม หรืออาหารน้ำ ๆ เครื่องดื่มที่มีกรด     ซิตริก น้ำผักปั่นและผลไม้ ดื่มน้ำให้มากขึ้น เลี่ยงอาหารประเภทขนมปัง นม เจลาติน แอลกอฮอล์ ดูแลสุขภาพช่องปากสม่ำเสมอ
          12.น้ำหนักลด เพิ่มแคลอรีและโปรตีนเช่น อาหารไขมัน แต่เลี่ยงไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานซ์ เติมนมผงใส่เครื่องดื่มหรืออาหารประเภทซุปแกง (เสิร์ฟไอศกรีม โยเกิร์ตผลไม้)  เติมน้ำตาลในเครื่องดื่ม เสิร์ฟอาหารว่างระหว่างมื้อ เสริมอาหารทางการแพทย์
          13.อ่อนเพลีย ใช้อาหารอ่อนซึ่งเคี้ยวน้อยที่สุด ให้พักผ่อนบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนมื้ออาหาร ในกรณีที่ผู้ป่วยมะเร็งไม่สามารถกินอาหารได้หรือกินได้น้อยมาก อาจต้องใช้อาหารทางการแพทย์หรืออาหารทางสายยาง  ในกรณีเช่นนี้ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการ และศึกษาเอกสารเพื่อทำความเข้าใจให้มากขึ้น จะได้นำไปปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมต่อไป

 

  เนื้อหาอาจจะเยอะไปหน่อยนะค่ะ แต่อยากให้เพื่อน ชาวโพสจัง ได้อ่าน เพราะมะเร็งเป็นโรคร้ายแรงและอันตลอดมาก

ถ้าไม่เป็นก็ดีแต่ถ้าหากเป็นเราควรดูแลตัวเองอย่างไรและควรเลือกรับประทานอาหารแบบไหน  ถึงตัวเราเองไปเป็นก็อาจจะมีญาติพี่น้อง

ที่กำลังป่วยในโรคนี่อยู่เราจะได้รู้ข้อมูลเบื้องต้นค่ะว่าควรเลือกรับอาหารแบบไหนให้กับคนที่เรารัก  ^^

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ABCDEE's profile


โพสท์โดย: ABCDEE
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
8 VOTES (4/5 จาก 2 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สุดเศร้าหนุ่มนักแคสเกมจบชีวิต เพราะผู้หญิงที่รัก ยอมให้หมดตัวแม้ไม่ได้กินของโปรดของตัวเองแม่สุดเหี้ยมโยนลูก 6 ขวบ ให้จระเข้กิน เหตุเพราะลูกพิการเจนนี่ Blackpink - ไบร์ท วชิรวิชญ์ นำทีมซุปตาร์เอเชียร่วมงาน Met Gala 2024
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ด่วน ! ฝนกระหน่ำตกหลาย ชม.ภูเก็ต-กระบี่ น้ำท่วมหลายจุด"โน้ส อุดม" ขอยอมแพ้ บุก สนง.ใหญ่ "Netflix"..เพราะทนกระแสกดดันไม่ไหวสุดเศร้าหนุ่มนักแคสเกมจบชีวิต เพราะผู้หญิงที่รัก ยอมให้หมดตัวแม้ไม่ได้กินของโปรดของตัวเองนักการเมืองชาวไทย ที่ร่ำรวยและมีมูลค่าทรัพย์สินมากที่สุด
ตั้งกระทู้ใหม่