โรคโกหกตัวเอง (Pathological Liar)
“โรคโกหกตัวเอง มีลักษณะของการบิดเบือนของน้ำหนักมุมมองข้อเท็จจริง โรคนี้อาจมีขอบเขตที่กว้างและซับซ้อน ผู้โกหกตัวเองอาจติดอยู่ในวังวนนี้เป็นเวลาหลายปีหรือกระทั่งตลอดชีวิต”
“Pathological lying is falsification entirely disproportionate to any discernible end in view, may be extensive and very complicated, and may manifest over a period of years or even a lifetime."[1]
สมมุติฐานที่มาของโรค
การโกหกตัวเองเป็นการหนีปัญหารูปแบบหนึ่งและแต่งเติมสิ่งที่ขาดด้วยการจินตนาการสภาพที่อยากเป็น ผู้ป่วยโรคโกหกตัวเอง อาจมีลักษณะต่อต้าน หรือขาดสังคม ความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ล้มเหลวในชีวิต ทั้งนี้ในงานวิจัย มีบ่งชี้ว่า โรคโกหกตัวเอง อาจมีความสัมพันธ์ไปถึงความผิดปรกติของสมอง โดยพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคโกหกตัวเองมีปริมาณเนื้อสมองส่วน White Matter สูงกว่าคนปรกติ 26%[1][2]
ข้อแตกต่างของโรคโกหกตัวเอง กับโรคโกหกเป็นนิสัย
แม้ว่าโรคโกหกตัวเองจะคล้ายกับการโกหกเป็นนิสัย (Compulsive Liar) แต่การโกหกเป็นนิสัยเป็นการลวง หรือให้ความบิดเบือนต่อผู้อื่นซึ่งเจ้าตัวยังรู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่ถ้าเป็นโรคโกหกตัวเองแล้วเขาจะหลอกแม้แต่ความทรงจำของตัวเอง ถ้าเปรียบเทียบแล้ว จะคล้ายกับตัวละคร “โจ๊กเกอร์” จากเรื่อง Batman โจ๊กเกอร์จะไม่มีบุคลิกที่แน่นอน โจ๊กเกอร์มีการสร้างเรื่องราวใหม่ตลอดเวลาและตัวเองก็เชื่อตามนั้น ถึงเอาไปผ่านเครื่องจับเท็จก็ไม่สามารถพิสูจน์ออกมาได้เพราะเขาหรือเธอเขียนความทรงจำใหม่ทับความเป็นจริงไปแล้ว
ส่วนโรคโกหกเป็นนิสัยถ้าเทียบก็คงเหมือนพิน็อคคิโอ หรือ อุซบ ใน One Pieces บุคคลเหล่านี้ ยังรู้ว่าความจริงและความเท็จต่างกันอย่างไร เขาอาจโกหกเพื่อเอาตัวรอดง่ายๆ หรือเพื่อจะรวยง่ายๆ แต่เขายังสามารถบ่งชี้แยกแยะสิ่งที่เป็นจริงกับเรื่องที่โกหกได้ โรคโกหกเป็นนิสัยยังนับว่าเป็นระดับที่เบากว่าโรคโกหกตัวเองมาก
การบ่งชี้ผู้ป่วยเป็นโรคโกหกตัวเอง
การบ่งชี้พวกที่เป็นโรคโกหกตัวเอง บล็อคของรินจัง [3] ได้แปลบทความจาก [4] ไว้ค่อนข้างดี
- They change their story all the time : พวกนี้เปลี่ยนเนื้อเรื่องตลอดเวลา
- They will exaggerate and lie about everything, the smallest and easiest things to tell the truth about and the big serious things : พวกนี้จะชอบโม้ และโกหกตลอดเวลา แม้แต่เรื่องเล็กๆ และไม่น่ายากที่จะบอกความจริง ไปจนถึงเรื่องยากๆ
- What ever you do, they can do it better : ไม่ว่าคุณจะทำอะไร พวกนี้สามารถทำได้ดีกว่า
- They often don’t value the truth, and can often live in their own type of reality : พวกนี้มักจะไม่เห็นคุณค่าของความจริง และชอบที่จะอยู่กับสิ่งที่ตัวเองคิดว่าจริง
- They will act defensively when questioned or challenged, they see their lies as not hurting anyone : พวกนี้จะแสดงอาการต่อต้านเมื่อถูกตั้งคำถามหรือท้าทาย พวกนี้คิดว่าการโกหกของพวกเขาไม่ได้ทำให้ใครเดือนร้อน
- They lie for sympathy or to seem better : พวกนี้โกหกเพื่อได้รับความเห็นใจ หรือทำให้รู้สึกดีขึ้น
- They usually never own up to the lies : พวกนี้มักไม่เคยยอมรับเรื่องที่โกหกไว้
- They contradict what they say, they lose track of the many lies told : พวกนี้จะพูดขัดแย้งกับตัวเอง เพราะเขาโกหกจนไม่รู้แล้วว่าเขาได้แต่งเรื่องอะไรไปบ้าง
- They lie because they are insecure : พวกนี้โกหกเพราะรู้สึกตัวเองไม่ปลอดภัย
การรักษา
แม้ในทางทฤษฏีเราต้องการให้ผู้ป่วยโรคนี้ยอมรับปัญหาของตัวเอง แต่ในแง่ปฏิบัติ ยังไม่มีวิธีการที่ชัดเจน วิธีการบางอย่างอาจใช้ได้กับคนๆหนึ่งแต่ไม่สามารถใช้ได้กับอีกคนหนึ่ง การรักษาด้วย Talk Therapy ให้ผู้ป่วยระบายออกและวิเคราะห์ อาจไม่ได้ผลเพราะผู้ป่วยอาจสร้างเรื่องโกหกไปตลอดและเสียค่า Session ฟรีๆ และได้ผลลัพธ์เลวร้ายกว่าเดิมด้วยซ้ำ[5][6] พวกผู้ป่วยโรคโกหกตัวเองถ้าไปหาจิตแพทย์เขามักต้องการหาวิธีการเอาตัวรอดจากผู้ล่าในสังคมเสียมากกว่าต้องการรักษาโรคหลอกตัวเอง โรคนี้จึงต้องมีการพิจารณา Case by Case ไป มี Review เกี่ยวกับการรักษาโรคหลอกตัวเองอื่นๆรวบรวมไว้ที่ [7] สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติม
การปฏิบัติต่อผู้ป่วยโรคหลอกตัวเอง
ควรรู้ว่าผู้ป่วยโรคหลอกตัวเองไม่ได้โกหกเพื่อทำร้ายคนอื่น แต่เขาโกหกเพื่อปกป้องตนเอง การเข้าไปไล่จับผิดให้จนมุมนั้น อาจใช้ได้กับพวกโกหกเป็นนิสัย แต่จะกลับจะเป็นการเร่งปัญหาให้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าเดิมสำหรับผู้ป่วยโรคหลอกตัวเอง ซึ่งผู้ป่วยที่ถูกไล่ต้อนนี้ อาจแสดงพฤติกรรมตั้งแต่ฟูมฟาย ร้องไห้น้อยใจ ทำร้ายตนเอง จนถึงพยายามฆ่าตัวตาย เพราะข้อมูลในสมองเขาขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเป็นที่เรียบร้อยจึงไม่สามารถมีจุดอ้างอิงใดๆที่จะบอกว่าที่คุณกล่าวหรือต้อนนั้นถูก ผู้ป่วยสามารถรับรู้ได้แค่ว่าเขากำลังถูกรุมรังแกเท่านั้น ต่อให้คุณหวังดีกับเขาก็ตาม
ทั้งนี้ ในแง่การรักษาเราต้องการให้ผู้ป่วยรู้สึกตัว ให้เห็นความผิดปรกติที่เขามี ไม่ใช่การไล่ต้อนให้จนมุม
ผู้ล่าในสังคม โดยเฉพาะในไทย เป็นพฤติกรรมการรังแกทางสังคมต่อผู้ที่ด้อยกว่า อาจแสดงออกเป็นพฤติกรรมล้อเลียนหรือล่าแม่มด
ผู้ป่วยโรคหลอกตัวเองในหลายๆครั้งก็ถูกฉกฉวยโอกาสโดยกับดักง่ายๆ ถ้าผู้ป่วยโกหกตัวเองเพราะโหยหาสถานภาพทางสังคม ก็จะถูกหลอกให้จับจ่ายซื้อของได้จนหมดตัว การจะช่วยนั้น ถ้าเกินความสามารถจะช่วย ก็ควรได้ไปปรึกษาแพทย์ และถ้าคุณผู้อ่านเห็นว่าตัวเองมีลักษณะตามเกณฑ์ของโรคโกหกตัวเอง ขอให้ยอมรับว่า คุณกำลังมีปัญหาขนาดหนัก และ ต้องได้รับความช่วยเหลือ[4]