มาทำความรู้จักนักรบ KamiKaze
คงเคยได้ยิน คำนี้ "กามิกาเซ่ (Kamikaze)"
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าหมายถึงฝูงบินพลีชีพของกองทัพญี่ปุ่น
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2ในช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นบุกฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1944
เพื่อหยุดยั้งการบุกของกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตร และที่เมืองโอกินาวา ในช่วงปี ค.ศ. 1946
นับจากนั้นยุทธวิธีพลีชีพกามิกาเซก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไปจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
การพลีชีพของนักบินกามิกาเซถือเป็นการตายอย่างมีเกียรติเพื่อองค์จักรพรรดิและประเทศของพวกเขา
ตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นักบินกามิกาเซมากกว่า 300 คน
ได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
จะเห็นว่า ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ญีปุ่นระดมใช้เครื่องบินรบเกือบทุกประเภท
เป็นเครื่องบินพลีชีพเพื่อหยุดยั้งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา
*******************
กา มิกาเซ่ ถูกปลูกฝังตั้งแต่เริ่มแรกที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงคราม เนื่องจากวิทยาการการผลิตเครื่องบนเพื่อใช้เป็นยุทธปัจจัย กองทัพญี่ปุ่นไม่สามารถสู้กับประเทศในซีกโลกตะวันตกได้ เครื่องบินที่ญี่ปุ่นใช้สำหรับกองกำลัง กามิกาเซ่ นั้น ได้แก่เครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิด รุ่น Ki 44 shoki เครื่องบินในรุ่นนี้ ญี่ปุ่นผลิตได้แต่ปริมาณส่วนคุณภาพ ไม่สามารถทัดเทียมเครื่องบินของ อเมริกา ได้แต่อย่างใด การที่กำลังอาวุธคือเครื่องบินรบมีจำนวนมากกว่า แต่ความชำนาญและทันสมัยน้อยกว่า หลักการสงคราม การเสียหนึ่ง ต้องได้กลับคืนมาหนึ่งหรือมากกว่า ใหญ่กว่า และปัจจัยเป็นส่วนประกอบมากกว่า กามิกาเซ่ ถูกปลูกฝังต้องยอมสละชีวิต เพื่อการแลกเปลี่ยนกับการสูญเสีย ประเทศทางซีกโลกตะวันตกซึ่งเป็นประเทศคู่สงครามกับญี่ปุ่นต่างประนามการสละ ชีวิตของนักบิน กามิกาเซ่ เหล่านั้น แต่กองทัพญี่ปุ่นกลับสรรเสริญความกล้าหาญพวกเขาเหล่านั้น เช่นเดียวกับวีรชนของชาติ ใครคิดถูกคิดผิด ขณะนี้สงครามครั้งนั้นได้จบลงแล้ว การจบลงของสงครามโลกครั้งที่สอง คือการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สาม เหตุแห่งความรุนแรงอาจล่าช้าไปบ้าง ทำให้พวกมนุษย์เช่นพวกเรา ไม่สามารถมองเห็น กามิกาเซ่ ในศึกครั้งใหม่นี้ คงต้องรอชม
เยาชนเลือด บูชิโด มาดูการฝึกบิน
สนามบินฝึก Atsuki airbase
(Zeke-52
นี่คงฝึกตกพื้นจริง
Ki-49 Donyu
Intense Kamikaze attacks : November 1944
ความหมายของกามิกาเซ่ (Kamikaze)
กามิกาเซ (ลมสวรรค์) – อากาศยานพลีชีพ, นักบินพลีชีพของกองทัพญี่ปุ่น
โจมตีพิเศษ กามิกาเซ่ หน่วยแรกของญีปุ่น
กำเนิดของหน่วยกามิกาเซ่ หน่วยแรก เริ่มต้นเมื่อ นาวาโท อะไซกิ ทาไม
อาจารย์สอนการบินทหารเรือ ได้สอบถามนักเรียนการบินที่มีพรสวรรค์ของเขาว่า
มีใครสนใจจะเข้าร่วมในกองกำลังโจมตีพิเศษ (special attack force) บ้าง
นักเรียนทั้งหมดตกลงที่จะเข้าร่วมการปฏิบัติการณ์ครั้งนี้
หลังจากนั้น นาวาโท ทาไม ขอให้ เรือโท เซกิ ยูคิโอะ เป็นผู้บังคับกองกำลังพิเศษนี้
เซกิหลบตาลงต่ำและครุ่นคิดอยู่ประมาณ 10 วินาที จึงกล่าวต่อ นาวาโท ทาไม ว่า
“โปรดให้ผมได้ทำหน้าที่นี้ด้วย”
เรือโทเซกิ นับเป็นนักบินพลีชีพกามิกาเซ่ลำดับที่ 24 ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมหน่วย
หน่วยโจมตีพิเศษกามิกาเซ่นี้ มี 4 หน่วยย่อย คือ
หน่วยชิคิชิมา (Shikishima), หน่วยยามาโตะ (Yamato),
หน่วยอาซาฮิ (Asahi) และ หน่วยยามาซาคูรา (yamazakura)
ชื่อของหน่วยย่อยเหล่านี้ นำมาจากบทกวีเกี่ยวกับความรักชาติ
ซึ่งประพันธ์โดยนักปราชญ์ยุคคลาสสิกของญี่ปุ่น ชื่อ โมโตริ โนรินากะ
บทกวีบทดังกล่าวมีใจความดังนี้:
If someone asks about the Yamato (Japanese) spirit of Shikishima (Japan),
It is the flowers of yamazakura (mountain cherry blossom) that are fragrant
in the Asahi (rising sun).
วาดภาพวาดสีน้ำแสดงภาพเหตุการณ์ ฝูงบินกามิกาเซของญี่ปุ่น
กำลังโจมตีเรือรบ USS Inrepid ของสหรัฐอเมริกา จากการรบทางทะเลที่อ่าวโอกินาว่า
กามิกาเซ หรือ Kamikaze เป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง ลมสวรรค์ หรือลมแห่งเทวะ
และ หมายถึงลมสลาตันที่ขับไล่กองทัพเรือมองโกลซึ่งเข้ามารุกรานญี่ปุ่นออกไปได้
ในปี ค.ศ. 1274 คำๆนี้ได้ถูกนำมาใช้เรียกอากาศยานพลีชีพของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง
ซึ่งบรรทุกระเบิดและพุ่งเข้าชนเรือ และคำนี้ยังหมายถึงนักบินผู้บังคับอากาศยานประเภทนี้ด้วย
คำว่ากามิกาเซ่ มาจากคำสองคำต่อกัน คือ
kami หมายถึง พระเจ้า (god) และ kaze หมายถึง ลม (wind)
รวมกันมีความหมายว่า ลมแห่งสวรรค์ หรือ divine wind ในภาษาอังกฤษ
และยังหมายถึงลมสลาตัน ( typhoon)
ซึ่งช่วยให้ญี่ปุ่นรอดพ้นจากการรุกรานจากกองทัพมองโกลภายใต้การนำของกุบไลข่าน เมื่อปี 1281
อย่างไรก็ตาม คำว่า กามิกาเซ่ในภาษาญี่ปุ่น ถูกนำมาใช้เรียกลมสลาตัน
และนำมาใช้เป็นชื่อฝูงบินและนักบินกามิกาเซ่ เท่านั้น
ต่างไปจากในภาษาอังกฤษ ที่ชาวตะวันตกนำคำๆนี้
มาใช้เรียก การโจมตีแบบพลีชีพ (suicide attacks) ในหลายรูปแบบอย่างกว้างขวาง
นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
เช่น Selbstopfer ของนาซีเยอรมันนี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, กลุ่มก่อการร้าย
พลีชีพ
ซึ่งจี้เครื่องบินถล่มสถานที่สำคัญของอเมริกา
เมื่อ 11 กันยายน ปี 2001 จนฝรั่งพากันกล่าว
ขานว่า
กามิกาเซ่ 2
และ มือระเบิดพลีชีพชาวปาเลสไตน์ซึ่งโจมตี
ชาวอิสราเอล เป็นต้น
โดยมีที่มาจากลักษณะการโจมตีแบบพลีชีพ
ของฝูงบินกามิกาเซ่ ของญี่ปุ่นดังกล่าว ซึ่งได้
อิทธิพลมาจากประเทศญี่ปุ่น ที่ฝรั่งเรียก หน่วย
พลีชีพ เพียงแต่ว่าไม่ได้เพื่อจักรพรรค์ แต่เพื่อ
พระเจ้า
และไม่ได้ทำเพื่อในการสงครามเพื่อพุ่งรบกับ
เรือพิฆาตของข้าศึก แต่กลุ่มก่อการร้ายทำกับ
พลเรือนเพื่อจุดประสงค์ของตนเพื่อการก่อกวน
ภาพวาดเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน USS St. Lo กำลังจะจม
เนื่องจากนักบินพลีชีพกามิกาเช่ขับเครื่องบินพุ่งเข้าชน
ปฏิบัติการณ์ของฝูงบินกามิกาเซ่ นับได้ว่าเป็นการรบทางอากาศที่มีอิทธิพล
และเป็นที่รู้จักมากกว่าการรบทางอากาศรูปแบบอื่นๆของญีปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
กามิกาเซ่ใช้นักบิน รวมไปถึงทหารบนเครื่องถือวัตถุระเบิด และลูกเรือ
หน่วยทหารที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ มีชื่อเรียกเป็นภาษาญีปุ่น ว่า "โทคูเบตสุ โคกิคิ ไท"
แปลว่า หน่วยโจมตีพิเศษ (special attack unit)
"การพลีชีพเพื่อปกปัก เอกราชของชาติเป็นหน้าที่ อันยิ่งใหญ่ดุจขุนเขาของนักรบผู้กล้า ความตายนั้นเป็นสิ่งเบาบางดุจขนนก" นั่นคือคำตรัสของจักรพรรดิเมยจิในราว ค.ศ. 1880
ต้นแบบขอการพลีชีพต่อมา
จากองค์จักรพรรคิ์เป็น พระเจ้าของศาสนาเขา
ก่อนที่จะออกปฏิบัติภารกิจ |
นักบินเขียนคำขอบคุณให้แก่เจ้าหน้าที่ภาคพื้น |
*******************
เด็กๆมาโบกมือส่งนักบินผู้เปรียบเสมือนวีรบุรุษของพวกเขา
ผลกระทบจากปฏิบัติการณ์ของฝูงบินกามิกาเซ่
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง จากการรายงานของประเทศญี่ปุ่น
นักบินทหารเรือของราชนาวีญี่ปุ่น สังเวยชีวิตไปในภาระกิจพลีชีพนี้ ถึง 2,525 นาย
และนักบินพลีชีพกามิกาเซ่ในส่วนของกองทัพบกญี่ปุ่นเสียชีวิต 1,387 นาย
ตามสถิติที่ทางฝ่ายญี่ปุ่นได้บันทึกไว้ -
เหล่านักบินที่ห้าวหาญนี้จมเรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตรไป 81 ลำ
และทำความเสียหายให้เรือรบอีก 195 ลำ
กามิกาเซ่ได้สร้างความสูญเสียให้กับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในการรบ
ทางทะเลฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค ถึง 80 เปอร์เซ็น จากสาเหตุความสูญเสียทั้งหมด
แต่ในความเป็นจริง (ซึ่งต่างไปจากบันทึกของฝ่ายญี่ปุ่น) มีเรือรบของสัมพันธมิตรจมลง
จากการโจมตีของกามิกาเซ่ เพียง 34 ลำ และอีก 288 ลำได้รับความเสียหาย
ผลกระทบของยุทธวิธีการรบ กามิกาเซ่ ที่มีต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
ในทางด้านการทหารในภาพรวม -
ปฏิบัติการณ์ของฝูงบินกามิกาเซ่สร้างความเสียหายกับสัมพันธมิตรเป็นอย่างมาก
แต่ก็ไม่ได้รุนแรงมากจนกลายเป็นปัจจัยชี้ขาดในการแพ้หรือชนะสงคราม
แต่ผลกระทบในทางจิตวิทยาที่มีต่อทหารของฝ่ายสัมพันธมิตร ทั้งในส่วนของนาวิกโยธิน
ทหารเรือ และเจ้าหน้าที่ทางด้านการบิน กลับลึกซึ้งยิ่งไปกว่านั้น
ฮาชิโร่ โฮโซกาว่า
1 ในนักบินของหน่วยบินนี้
วัน ที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 เป็นวันที่ญี่ปุ่นบุกเพิร์ลฮาเบอร์ของอเมริกา ปลุกให้ยักษ์หลับอย่างอเมริกาตื่นขึ้นมาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเต็มตัว และกลายเป็นพระเอกตลอดกาล เข้ามาควบคุมโลกของเราไว้ใต้อุ้งเท้าพญาอินทรี และเข้าไปจุ้นจ้านวุ่นวายกับประเทศต่าง ๆ ในโลกจนถึงทุกวันนี้ แสนยานุภาพของญี่ปุ่นมีไม่เบาเลยทีเดียว ตัวเอกของเรื่องมักเป็นเครื่องซีโร่ แต่ตัวเอกอีกตัวที่คนไม่ค่อยทราบคือเรือดำน้ำบรรทุกเครื่องบินขนาดมหึมาที่ เพิ่งค้นพบนอกชายฝั่งของเกาะโออาฮูรัฐฮาวาย เรือลำนี้ถูกจมอยู่นอกชายฝั่งมานาน
เครื่องซีโร่พระเอกของชาวญี่ปุ่น เครื่องลำนี้แสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สงครามของสหรัฐที่โอไอโอ
เรือดำน้ำบรรทุกเครื่องบิน ไอ 401 เทียบขนาดกับเรือดำน้ำแบบอื่น ๆ ทั้งของสหรัฐและญี่ปุ่น เรือยักษ์ลำนี้พบถูกจมอยู่นอกชายฝั่งฮาวาย
เครื่องบินลำเลียงของญี่ปุ่นแบบเบ็ตตี้ มีขนาดใหญ่บรรทุกได้มาก
เรือบรรทุกเครื่องบินของญี่ปุ่นบรรทุกเครื่องบินมาเต็มลำเรือ
กองทัพญี่ปุ่น ไม่เคยขาดแคลนอาสาสมัครนักบินที่จะมาทำงานให้กับหน่วยโจมตีพิเศษพลีชีพ กามิกาเซ่
จริง ๆ แล้ว จำนวนคนที่ต้องการจะมาเป็นนักบินพลีชีพ มากกว่าจำนวนเครื่องบินที่มีอยู่ถึงสามเท่าด้วยซ้ำไป
ในการคัดเลือกตัวนักบิน
พวกนักบินมากประสบการณ์ เสืออากาศต่าง ๆ จะถูกกีดกันออกไป
เนื่องจากนักบินเหล่านี้มีคุณค่าในการรบเชิงป้องกัน (defensive) และในการฝึกสอนนักบินรุ่นใหม่ ๆ
ซึ่งทางกองทัพจะต้องอาศัยนักบินมากประสบการณ์เหล่านี้ในระยะยาว
นักบินพลีชีพกามิกาเซ่ส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ในช่วง 20 ปี เป็นนักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย
แรงจูงใจที่ทำให้นักศึกษาเหล่านี้เข้าร่วมเป็นนักบินพลีชีพของกองกองทัพมาจากความรักชาติ (patriotism)
ความปรารถนาที่จะนำเกียรติยศมาสู่วงศ์ตระกูลของตนเองด้วยการสละชีพเป็นชาติพลี
และเพื่อพิสูจน์คุณค่าของความเป็นลูกผู้ชาย
ซึ่งกลายเป็นความนิยมที่ร้อนแรงในหมู่วัยรุ่นรักชาติของญี่ปุ่นในขณะนั้น
ก่อนที่นักบินกามิกาเซ่จะออกปฏิบัติการณ์เพียงเล็กน้อย
ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทางหน่วยจะจัดพิธีพิเศษ (special ceremony) ให้กับนักบินเหล่านี้
มีการสวดมนต์ให้พรนักบินพร้อมด้วยญาติมิตรของนักบินที่มาร่วมในงาน
และเหล่านักบินจะได้รับเครื่องยศทางทหาร (military decoration)
พิธีดังกล่าวมีผลต่อขวัญและกำลังใจของนักบินที่จะออกไปปฏิบัติการณ์
และทำให้เกิดภาพพจน์และแรงจูงใจที่ดีต่ออาสาสมัครที่ต้องการจะมาเป็นนักบินกามิกาเซ่รุ่นต่อ ๆ ไป
ข้อมูลจาก Royal Thai Naval Academy ครับ....
Kamikaze Mitsubishi-Zero
กองทัพญี่ปุ่น นำชื่อนี้มาตั้งชื่อ หน่วยบินพิเศษ ที่ตั้งขึ้นช่วงท้ายของสงคราม ซึ่งเวลานั้นกองทัพญี่ปุ่นใกล้พ่ายแพ้
เต็มที เนื่องจากขาดแคลนอากาศยานในการรบ และนักบินผู้ชำนาญ (ตายไปเกือบหมด)...จึงฝึกเด็กหนุ่มอาสาสมัคร
ขึ้นเป็นนักบินตามยุทธวิธีใหม่แบบพลีชีพ เข้าโจมตีกองเรือสหรัฐ
คามิคาเซ ในมุมมองของชาวญี่ปุ่นผู้รักชาติ
ปฏิบัติการของเหล่านักบินกามิกาเซ่ ที่ดูบ้าบิ่นเกินมนุษย์ในสายตาของชาวตะวันตกแต่ ชาวญี่ปุ่น กลับมีความ
คิด และความรู้สึกกับ หน่วยโจมตีพิเศษนี้ด้วยความต้องการเสียสละ ไม่เคยขาดแคลนอาสาสมัคร นักบินที่จะมาทำงาน
ให้แก่ หน่วยโจมตีพิเศษพลีชีพกามิกาเซ่ มีจำนวนคนที่ต้องการจะมาเป็นนักบินพลีชีพ มากกว่าจำนวนเครื่องบินที่
มีอยู่ถึงสามเท่า ในการคัดเลือกตัวนักบิน พวกนักบินมากประสบการณ์ต่าง ๆ จะถูกกีดกันออกไป เนื่องจากนักบินเหล่า
นี้มีคุณค่าใน การรบเชิงป้องกัน (defensive) และในการฝึกสอนนักบินรุ่นใหม่ๆ ซึ่งทางกองทัพจะต้องอาศัยนักบิน
มากประสบการณ์เหล่านี้ในระยะยาว
นักบินพลีชีพกามิกาเซ่ ส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ในช่วง 20ปี ส่วนมากเป็นนักศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์ ใน
มหาวิทยาลัย แรงจูงใจที่ทำให้นักศึกษาเหล่านี้ เข้าร่วมเป็นนักบินพลีชีพของกองทัพมาจาก ความรักชาติ
(patriotism) ความปรารถนาที่จะนำเกียรติยศ มาสู่วงศ์ตระกูลของตนเอง ด้วยการสละชีพเป็นชาติพลีและเพื่อ
พิสูจน์คุณค่าของความเป็นลูกผู้ชาย ซึ่งกลายเป็นความนิยมรักชาติของวัยรุ่นญี่ปุ่นในสมัยนั้น
Kamikaze pilots died at a very young age. Over 90% of the Navy's kamikaze pilots were
between 18 and 24 years of age . Almost all Army kamikaze pilots during the Okinawan campaign
were between 17 and 22 . That the youngest kamikaze pilot was only 17 years old.
Today's Japanese youth can relate to the kamikaze pilots because of their similar ages.Two films
in the 1990s about kamikaze pilots received recommendations for youth viewing from Japan's
Ministry of Education and the National Congress of Parents & Teachers because of the values
they promoted. A high school student, whose grandmother's brother died as a kamikaze pilot.
Many young men lost their lives as kamikaze pilots in the war. They volunteered to protect their
country, parents, younger brothers and sisters, and girlfriends. Today when there are many things and
young people have lost their direction, we do not understand things that need love and things that need
protection. Today there is a tendency to lose sight of even the true meaning of loving, so we in such
timesneed to learn many things from the kamikaze pilots' way of life. They died with pure feelings,
deeply loving their country, loving nature, and loving people.
นักบินคามิคาเซ่ เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย มากกว่า 90% ของนักบินนาวี"กามิกาเซ่" เกือบทั้งหมด อายุ
ระหว่าง 18 - 24 ปี นักบินกามิกาเซ่ใน ยุทธภูมิโอกินาวา ช่วงอายุอยู่ ระหว่าง 17 - 22 ปี
เยาวชนญี่ปุ่นวันนี้ เกี่ยวข้องกับนักบินกองบินกล้าตาย เพราะช่วงวัยที่ใกล้เคียงกันของพวกเขา ในปี 1990 ภาพยนต์
สองเรื่องเกี่ยวกับ นักบินกามิกาเซ่ ได้รับการสนับสนุนแนะนำให้เยาวชน ญี่ปุ่นในชั้นมัธยมปลายได้ชมจากกระทรวง
ศึกษาธิการประเทศญี่ปุ่น,ในการประชุมสมัชชาแห่งชาติของผู้ปกครองและครู โดยยกการโฆษณาเรื่อง นักเรียนมัธยม
ปลายซึ่งคุณยายมีพี่ชายที่เสียสละชีวิต อาสาพลีชีพเป็น นักบินกามิกาเซ่
ในสงครามป้องกันมาตุภูมิ เด็กหนุ่มหลายคน อาสาสมัครพลีชีพ เป็นนักบินกองบินกล้าตายคามิคาเซ่ ปกป้องพ่อ
แม่,น้องชาย,น้องสาว,พี่สาว และคนรัก ปัจจุบันนี้มีหลายสิ่งที่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ สับสนในทิศทางขาดความเข้าใจ ใน
ความหมายของความรักอันบริสุทธิ์ และสิ่งที่ต้องปกป้องหวงแหน ...วันนี้จำเป็นที่ต้องให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้หลาย
สิ่งจากวิถีชีวิตและแนววิธีคิดของเหล่านักบินกามิกาเซ่ พวกเขายอมพลีชีพด้วยความรู้สึกรักอันบริสุทธิ์ ต่อแผ่นดินแม่
ถิ่นเกิดประเทศของเขา รักในธรรมชาติ และรักผู้คน
26 พฤษภาคม 1945 สิบตรี ยูคิโอะ อาราคิ (อุ้มลูกสุนัข) ถ่ายรูปกับเพื่อนร่วมฝูงบินก่อนภารกิจพลีชีพ เสียชีวิต
ด้วยวัย 17 ปี จากการโจมตีเรือรบอเมริกันใน ศึกโอกินาวา ซึ่งเป็นนักบิน คามิคาเซ่ ที่อายุน้อยที่สุดที่ พลีชีพ
May 26, 1945. Corporal Yukio Araki, holding a puppy, with four other pilots of the 72nd Shinbu
Squadron at Bansei, Kagoshima. Araki died the following day, at age 17, in a suicide attack on ships
near Okinawa.
Kamikaze Pilot
จึงมีการจัดตั้งหน่วยบินพิเศษหน่วยนี้ขึ้นมา...โดยยึดมั่นอุดมการณ์ นักรบบูชิโด ที่ยอมตายเพื่อชาติ และต้องทำ
ความเสียหายแก่ศัตรูให้มากที่สุด...นักบินจะได้รับการคัดเลือกจาก ผู้ สมัครใจ เข้ารับการฝึกเฉพาะเพียงพอแก่
การบินเครื่อง หลบหลีกการป้องกันภัยทางอากาศ เพื่อเข้าชนเป้าหมายแบบยอมตายไปกับเครื่อง... เครื่องบินจะ
เติมเชื้อเพลิงเพียงพอ แค่เที่ยวไป และบรรทุกระเบิดเต็มอัตรา
Kamikaze Attack
หน่วยบินคามิคาเซ่ ...ได้ทำความเสียหายและทำลายขวัญสหรัฐมาก เนื่องจากเป็นการโจมตีแบบเข้าแลกชีวิต..
.แต่ด้วยสภาวะขาดแคลนช่วงปลายสงคราม หน่วยบินหน่วยนี้ก็ไม่สามารถทำให้ญี่ปุ่นอยู่รอดได้ในสงครามครั้งนั้น
เพราะอะไรรูปภาพและปฏิบัติการของผู้พลีชีพ ที่ตายไปแล้วจึงถูกนำมาเผยแพร่ในความเสียสละ ได้รับการเกียรติ
ยกย่องอย่างสูงเสมอในกลุ่มชนชาตินั้น
Oka ซา กุระร่วงโรย
สำหรับระบบ คามิคาเซ ญี่ปุ่นยังทำจรวดบินคล้ายๆ"ไคเต็น"Kaiten(Kamikaze Submarine)ด้วยเรียกว่า"Oka"
ใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิงแข็ง (แบบพลุธรรมดานั่นเอง) ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดหิ้วไป พอใกล้เรือข้าศึกก็ปล่อยให้วิ่ง
เข้าชนโดยนักบินคนที่อยู่ในระเบิดติดปีกก็ บังคับให้พุ่งชนเรือ ดีกว่าใช้เครื่องบินธรรมดาเข้าชนเพราะเร็วกว่ามาก
ปตอ.อเมริกันจะยิงไม่ทัน แต่จากการใช้งานไม่ได้ผลจริงเท่าไหร่เพราะเครื่องบินที่หิ้วไปถูกสกัดกั้น ก่อน และเนื่อง
จากอุ้ยอ้ายจึงโดนยิงตกหมด
นี่เป็นเครื่องบินที่ออกแบบมาให้ใช้ครั้งเดียว เพื่อการ Kamikaze เท่านั้น
มีชื่อเรียกว่า The Yokosuka MXY-7 Oka ( 櫻花 cherry blossom ) ซากุระร่วงโรย ต้องใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดบิน
ไปปล่อย เนื่องจากเชื้อเพลิงมีจำกัด มันก็คือ มิสไซน์ที่บังคับด้วยคน นั้นเอง อานุภาพสามารถทำให้เรือบรรทุก
เครื่องบินจมด้วย Oka เพียงเครื่องเดียวแต่พวกอเมริกันเรียกมันว่า Baka เครื่องคนโง่(เป็น ภาษาญี่ปุ่นแปลว่า idiot)
Oka Attack
Oka เองเป็นเหตุผลหนึ่งที่ นายพล แม็กอาเธอร์ไม่ยอมยกพลขึ้นบกที่ญี่ปุ่นเพราะแน่ใจได้ว่าชาวญี่ปุ่นอีกมาก
ต้องยอมสล่ะชีพปกป้องแผ่นดินตัวเองแน่นอน..... ผลก็อย่างที่เห็น ระเบิด A-Bomb 2 ลูก ถูกทิ้งลง 2 เมือง ซึ่ง
ไม่ได้เป็นจุดยุทธศาสตร์อะไร มีเรื่องว่ากันว่าเป็นเพราะวันนั้นฟ้าของเมืองนางาซากินั้นไร้เมฆพอดี เลยถูกใช้เป็น
เป้าหมายปัจจุบันทันด่วน......แล้วก็เป็นการปิดฉาก สงครามโลกครั้งที่ 2 ลง
Oka มีแผนการสร้าง 800 ลำ แต่สงครามจบเสียก่อน
อาวุธจรวด ทีน่าสพึงกลัวของ ญี่ปุ่น และ เยอรมัน ในช่วงท้าย สงครามโลกครั้งที่ 2