ปี่พาทย์มอญ thai music
วงปี่พาทย์มอญในปัจจุบันที่ เราพบเห็นกันทั่วไป แท้จริงก็คือเครื่องดนตรีไทยผสมกับเครื่องดนตรีมอญ 5 ชนิด โดยผู้ที่นำฆ้องมอญวงแรกเข้ามาก็คือ ครูสุ่ม ดนตรีเจริญ ซึ่งในปัจจุบันตระกูลนี้ได้ตั้งรกรากอยู่แถว จังหวัดปทุมธานี ส่วนฆ้องมอญวงแรกก็อยู่ที่ พิพิธภัณฑ์สถาน แห่งชาติ และต่อมาภายหลัง ฆ้องมอญได้ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยช่างฝีมือชาวไทยซึ่งได้พัฒนามาจ นมีความสวยงาม ขึ้นกว่าเดิมมาก บางวงยังมีการพัฒนารางระนาดเอก ระนาดทุ้ม ให้มีรูปร่างคล้ายกับฆ้องมอญ จึงทำให้วงปี่พาทย์มอญดูเหมือนจะมีความสวยงามกว่าวงปี่พาทย์อื่นๆทุกชนิด แต่วงปี่พาทย์มอญก็มีความเชื่อว่าเป็นวงดนตรีที่ใช้แต่ในงานศพและการประโคมศพของสามัญชนทั่วไป แต่ความจ ริงในตอนแรก วงปี่พาทย์มอญสามารถที่จะใช้ในงานต่างๆ ได้ทุกงานรวมทั้งงานมงคลต่างๆ แต่สาเหตุที่วงปี่พาทย์มอญในปัจจุบันใช้ แต่งานศพก็เพราะว่า ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ซึ่ง เป็นพระมารดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิ้นพระชนม์ และเนื่องจากสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ มีเชื้อสายมอญ
ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับสั่งให้วงปี่พาทย์มอญ มาประโคมพระศพของสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ และหลังจากนั้นวงปี่พาทย์มอญก็มีความเชื่อว่าต้องใช้แต่งานศพเพียงเท่านั้น วงปี่พาทย์มอญที่ใช้ประโคมศพก็จะมีเพลงที่ใช้ประโคมศพที่เรียกว่า เพล งประจำวัด ซึ่งเหมือนกับวงปี่พาทย์นางหงส์ที่จะใช้เพลงนางหงส์ประโคมศพ แต่ในปัจจุบันนี้วงปี่พาทย์มอญจ ะมีเพลง ต่างๆ ที่แต่งขึ้นใหม่ในสมัยนี้มาใช้บรรเลงในงานศพอย่างมากมาย ซึ่งผิดกับสมัยโบราณ การประโคมศพจะใช้เพลงประจำวัดแค่เพลงเดียว และนอกเหนือจากนี้ก็จะมี เพลงจุดเทียน เพลงยกศพ เพลงหาบกล้วย และเพลง เวียนเทียน ซึ่งเหล่านี้เป็นเพลงมอญแท้ๆ ที่มาจากเมืองมอญ หลังจากนั้นก็เริ่มมีครูดนตรีไทยที่เป็นเชื้อสายมอญเริ่มแต่งเพลงมอญให้วงปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงในงานศพ เช่น เพลงประจำบ้าน เพลงเชิญศพ เพลงย่ำค่ำ เพลงย่ำเที่ยง เพลงประจำทางใหม่ (ครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ แต่ง)
ต่อมาในยุคปัจจุบันก็มีเพลงมอญเกิดขึ้น มาอย่า งมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนำทำนองเพลงที่คุ้นหูมาแต่งขยายให้เป็นสำเนียงมอญ จึงทำให้เพลงมอญในยุคปัจจุบันมีรูปแบบแตกต่างไปจากเพลงมอญสมัยโบราณเป็น อย่างมาก แต่ถ้าเรามองถึงมุมตรงข้ามก็จะเป็นการ สร้างบรรยากาศให้มีความสนุกสนานจากเสียงเพลงของวงปี่พาทย์มอญ ซึ่งเป็นการทำให้คลายความเศร้าโศกในการจากไปของผู้ตายลงไปบ้าง
ปี่พาทย์มอญแบ่งออกได้เป็น ๓ ขนาด
การจัดรูปแบบวงอาศัยแบบอย่างวงปี่พาทย์อย่างไทย เพียงแต่ปรับเปลี่ยนเครื่องดนตรีบางชิ้นดังนี้
1. ใช้ปี่มอญ แทน ปี่ใน
2. ใช้ตะโพนมอญ แทน ตะโพนไทย
3. ใช้เปิงมางคอก แทน กลองทัด
4. ฆ้อ งวงมอญ แทน ฆ้องวงไทย
5. เพิ่ม โหม่งราว (โหม่งสามใบ)
วงเครื่องใหญ่ ประก อบด้วย ปี่มอญ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ ฉิ่ง
วงเครื่องคู่ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ ฉิ่ง
วงเครื่องห้า ประกอบด ้วย ฆ้องวง ระนาดเอก ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ฉิ่ง
วงดนตรีประเภทปี่พาทย์มอญนั้นนิยมเรียกว่า ปี่พาทย์มอญ เป็นวงดนตรีที่นิยมเล่นทั้งงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป แต่ภายหลังมีการนำวงปี่พาทย์มอญ ไปบรรเลงในงานพระศพของสมเด็จพระเทพศิรินทรา มาตย์ พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชก าลที่ ๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงดำริว่ามารดาของพระองค์นั้นเป็นเชื ้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดฯ ให้นำวงปี่พาทย์มอญมาเล่น ด้วยเหตุนี้เอง ภายหลังจากงานพระศพดังกล่าวจึงได้ก ลายเป็นความเชื่อและยึดถือกันมาโดยตลอด ว่า ปี่พาทย์มอญนั้นใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น ชาวมอญมีชื ่อเสียงในเรื่องของวงปี่พาทย์และมอญรำอย่างมาก มักจะมีการบรรเลงปี่พาทย์และการแสดงมอญรำควบคู่กันไปทุกค รั้ง
ส่วนการแสดงทะแยมอญ นั้นใช้วงดนตรีอีกประเภทหนึ่งต่างหาก คือวงเครื่องสาย ประกอบด้วย จะเข้ ซอมอญ ปี่มอญ ขลุ่ย กลองเล็ก และ ฉิ่ง
ภาพประกอบ การจัดวงปี่พาทย์มอญในรูปแบบต่างๆ
ผมนาย ว๊ากกก ศิษย์พ่อแก่
ปล ผมก็มีวงปี่พาทย์มอญนะครับ
รักษาไว้เถอะครับ