ภาษาจีนสองฟากฝั่ง: เมื่อคนปักกิ่งเจอคนไทเป พูดกันรู้เรื่องไหมนะ? 🀄🗣️💕
ภาษาจีนสองฟากฝั่ง: เมื่อคนปักกิ่งเจอคนไทเป พูดกันรู้เรื่องไหมนะ? 🀄🗣️💕
💬 เกริ่นก่อนนิด... ภาษาเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว~
ฮัลโหล~ ทุกคนเคยมีโมเมนต์แบบนี้ไหม? ไปเที่ยวจีนครั้งแรก เห็นป้ายก็แบบ "อุ๊ย ทำไมตัวอักษรมันแปลกๆ ดูขีดน้อยจัง?" หรือไม่ก็เจอเพื่อนจากไต้หวันมาไทย แล้วเขียนภาษาจีนที่เต็มไปด้วยขีด ขีด ขีด จนเรารู้สึกว่า... ต้องจุดธูปเรียกเซียนจีนมาแปลให้ 😅
เรื่องมันเป็นแบบนี้ค่าา~ ภาษาเขียนของจีนแบ่งเป็นสองแบบหลักๆ คือ ภาษาจีนตัวย่อ (简体字) ที่ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ 🏙️ กับ ภาษาจีนตัวเต็ม (繁體字) ที่ใช้ในไต้หวัน 🇹🇼 และฮ่องกง 🇭🇰 ถึงแม้จะพูดภาษาจีนกลางเหมือนกัน แต่พอเขียนออกมาแล้ว... บางคนอาจต้องพึ่งแว่นขยายกับดิกชันนารี 😂
วันนี้กะชวนทุกคนไปแอบส่องความต่างของทั้งสองฝั่ง ทั้งตัวอักษร สำเนียง การพูด และการสื่อสาร ว่าเค้าคุยกันรู้เรื่องไหม แล้วรู้สึกยังไงเวลาต้องอ่านของอีกฝั่ง มามุงกันเลยค่าาาา~ 👀🧡
🈶 ตัวเต็ม vs ตัวย่อ ต่างกันยังไงนะ?
ก่อนอื่นมารู้จักกันก่อน!
-
ภาษาจีนตัวย่อ (Simplified Chinese) ถูกใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ ตั้งแต่ปี 1950s เพื่อให้คนอ่านเขียนได้ง่ายขึ้น ลดจำนวนขีดของตัวอักษรลง เช่น:
-
龍 (ตัวเต็ม) → 龙 (ตัวย่อ) = มังกร 🐉
-
愛 → 爱 = รัก ❤️
-
學 → 学 = เรียน 📚
-
-
ภาษาจีนตัวเต็ม (Traditional Chinese) ใช้ในไต้หวัน ฮ่องกง และมาเก๊า เป็นตัวอักษรแบบดั้งเดิม ขีดเยอะหน่อย แต่บางคนบอกว่าสวยงามกว่า เช่นเดียวกับอารมณ์วินเทจ~ ✨
ลองนึกภาพง่ายๆ เหมือนการเปรียบเทียบลายมือหวัดกับลายมือประณีตเลยล่ะค่าาา ✍️🖌️
🗣️ สำเนียงต่าง ความรู้สึกก็เปลี่ยน!
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เราขอยกตัวอย่างจากตัวแทนของทั้งสองภูมิภาค คือคนจากปักกิ่ง (ตัวแทนของจีนแผ่นดินใหญ่) และคนจากไทเป (ตัวแทนของไต้หวัน) มาลองเปรียบเทียบกันดูหน่อยว่า สำเนียงและการพูดของทั้งสองฝั่งต่างกันยังไงบ้าง ถึงแม้ทั้งคนปักกิ่งกับคนไทเปจะพูด ภาษาจีนกลาง (普通话/国语) เหมือนกัน แต่ฟังดีๆ แล้วจะมีความต่างอยู่น้า~
📍 คนปักกิ่ง – เสียง "rrrrr~" ชัดมาก
-
สำเนียงปักกิ่งมีเอกลักษณ์มากคือ เสียง卷舌 (เสียงม้วนลิ้น) เช่น:
-
这儿 (zhèr) = ที่นี่
-
哪儿 (nǎr) = ที่ไหน
-
玩儿 (wánr) = เล่น
-
ฟังแล้วแบบ... นึกว่าดูหนังจีนย้อนยุคที่พระเอกพูดเสียงแน่นๆ 🤭
📍 คนไทเป – นุ่มละมุน ฟังแล้วใจบาง
-
คนไต้หวันพูดจีนกลางแบบ ไม่มีเสียง卷舌 แถมพูดนุ่มๆ เป็นธรรมชาติมาก เช่น:
-
這裡 (zhè lǐ)
-
哪裡 (nǎ lǐ)
-
玩 (wán)
-
ฟังแล้วรู้สึกอบอุ่น เหมือนคนพากย์การ์ตูนญี่ปุ่นอะ 🥹💕
📚 ศัพท์ก็มีความต่างนะจ๊ะ
โอ้ยย~ ถึงจะพูดจีนเหมือนกัน แต่บางคำก็ใช้ไม่เหมือนกันจริงๆ นะ! 😲 ยิ่งเวลาเราคุยกับเพื่อนจีนหรือเพื่อนไต้หวัน แล้วอยู่ดีๆ เค้าโพล่งคำอะไรออกมา เราก็ต้องทำหน้าฉงนแบบ... "เอ๊ะ มันแปลว่าอะไรนะ?" 🫨
เดี๋ยวเรายกตัวอย่างคำศัพท์ที่ต่างกันทั้งคำพูดและการเขียน ให้เห็นชัดๆ เลยว่า จีนกับไต้หวันเขาใช้คำไม่เหมือนกันจริงๆ นะจ๊ะ~ 💬👇
ความหมาย | จีนแผ่นดินใหญ่ 🇨🇳 | ไต้หวัน 🇹🇼 |
---|---|---|
🚇 รถไฟฟ้าใต้ดิน | 地铁 (dìtiě) | 捷運 (jiéyùn) |
🌐 อินเทอร์เน็ต | 网络 (wǎngluò) | 網路 (wǎnglù) |
🏪 ร้านสะดวกซื้อ | 便利店 (biànlìdiàn) | 超商 (chāoshāng) |
📧 อีเมล | 邮件 (yóujiàn) | 電子郵件 (diànzǐ yóujiàn) |
อ่านแล้วรู้เลยว่า ถ้าคุยกันเรื่องเทคโนโลยีหรือเดินทางเนี่ย อาจต้องมีคำแปลในใจเล็กๆ 😅
บางทีเพื่อนจีนพูดว่า “网络卡了” (เน็ตช้าจัง!) แต่เพื่อนไต้หวันจะพูด “網路好慢~”
แปลตรงตัวเหมือนกัน แต่คำมันไม่เหมือนกันเลย~ 🥹
🤝 แล้วคนจีนกับคนไต้หวันคุยกันรู้เรื่องไหม?
คำตอบคือ... รู้เรื่องจ้า! 🎉
เพราะพื้นฐานภาษายังมาจากจีนกลางเหมือนกัน แต่บางทีเวลาแชตกัน คนจีนอ่านตัวเต็มของไต้หวันแล้วจะบอกว่า "ตัวมันเยอะ อ่านแล้วเมื่อยตา" 👁️🤣
ส่วนคนไต้หวันเวลาเจอตัวย่อจากจีน ก็จะงงเหมือนเจอภาษาต่างดาว 🛸
ตัวอย่างเช่นคำว่า “后” (ตัวย่อของ 後) หรือ “发” (จาก 發)
บางคนบอกว่า "เหมือนโดนตัดทอนจิตวิญญาณของภาษาจีนออกไปเลยอะ!" 555 🤣
💭 ความรู้สึกเมื่ออ่านภาษาของกันและกัน
-
คนจีนเจอตัวเต็ม: "โอ๊ย ขีดเยอะ เหมือนกำลังสอบคัดลายมือ!" ✍️
แต่บางคนก็บอกว่า "ดูสวยดี มีความคลาสสิก รู้สึกเหมือนอ่านตำราโบราณ" 📜 -
คนไต้หวันเจอตัวย่อ: "อุ๊ย เหมือนภาษาโดนย่อจนกลายเป็นย่อหน้าเดียว"
แต่ก็มีหลายคนพูดว่า "สะดวกดีนะ เวลาแชตไม่เมื่อยมือ" 😆📱
สรุปคือ... แอบบ่นกันคนละนิดละหน่อย แต่น่ารักทั้งคู่เลยอ่ะ 🥰
🥰 สุดท้ายนี้…
จากการติดต่อสื่อสารในยุคสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต 🌐 โซเชียลมีเดีย 📱 หรือแม้แต่ในวงการบันเทิง 🎬🎧 และวัฒนธรรมร่วมต่างๆ ทำให้ความแตกต่างระหว่างภาษาจีนตัวย่อกับตัวเต็มเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ 🫶✨
คนจีนแผ่นดินใหญ่บางส่วนก็เริ่มคุ้นเคยและใช้คำศัพท์แบบไต้หวันมากขึ้น 💬 ในขณะที่คนไต้หวันเองก็เปิดรับคำศัพท์ใหม่ๆ จากจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน 🎉📖
ทุกวันนี้ไม่มีอุปสรรคในการสื่อสารแล้วค่ะ ไม่ว่าจะเป็นข้อความแชต 💌 ซีรีส์ 🎥 หนัง 🎞️ เพลง 🎵 หรือแม้แต่คอนเทนต์ TikTok 🕺—เข้าใจกันหมด! สื่อสารกันได้อย่างลื่นไหล~ เพราะภาษาคือสิ่งมีชีวิตที่เติบโตไปพร้อมกับผู้คนทั่วทั้งภูมิภาคเลยล่ะ~ 🌏🗣️❤️
สุดท้ายนี้~ บทความนี้ก็เขียนจากการรวบรวมข้อมูลหลายๆ แหล่ง 📚 ทั้งประสบการณ์ตรง 🧳 บทสนทนากับเพื่อนๆ 👯♀️ และแอบส่องเว็บโน่นนี่นั่น 🕵️♀️🔍 ถ้าตรงไหนผิด ตรงไหนตกหล่น หรือมีอะไรที่อยากเล่าเพิ่ม ก็มาคอมเมนต์บอกกันได้เลยน้าา~ จะได้มาเมาท์ต่อให้มันส์กว่าเดิม ขอบคุณสำหรับการติดตามค่าาาา 😆📝💬🎊
อ้างอิงจาก: sohu.com,crossing.cw.com.tw






















