Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

"Harvey Milk" นักการเมืองเกย์..คนแรกของอเมริกา

เนื้อหาโดย Amity609

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นกระแสสังคมในการเรียกร้องสิทธิของกลุ่ม LGBTQ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 40-50 ปีที่ผ่านมา การเรียกร้องนี้มักมีแต่อุปสรรคที่ยากลำบาก รวมไปถึงสหรัฐอเมริกาด้วย ที่คนมักมองว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ แต่ยังมีบุคคลหนึ่งที่ยืนหยัด เรียกร้องในเพศสภาพของตน จนได้รับเลือกให้เป็นนักการเมืองคนแรกของสหรัฐฯ นั่นก็คือ "ฮาร์วีย์ มิลค์" (Harvey Milk)

1. ประวัติส่วนตัว
ฮาร์วีย์ มิลค์ เขาเกิดวันที่ 22 พค. 1930 ที่วูดมีร์ นิวยอร์ก สหรัฐฯ (Woodmere, New York, U.S.A) ในครอบครัวชนชั้นกลาง ชั้นมัธยมศึกษาอยู่ที่โรงเรียนมัธยมเบย์ชอร์ (Bayshore high school) ในวัยนี้เองที่เขาค้นพบรสนิยมทางเพศของเขาว่า..เขาเป็นเกย์ และศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยครูแห่งรัฐนิวยอร์ก และจบมหาวิทยาลัยในปี 1951


Harvey Milk


Robert_and_Harvey_Milk_1934

2. โดนจับได้ว่าเป็นเกย์
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาก็เข้าร่วมกับกองทัพเรือ เป็นครูสอนดำน้ำในฐานทัพดิเอโก ในช่วงสงครามเกาหลี แต่ก็ต้องลาออกเพราะโดนจับได้ว่ามี..เพศสัมพันธ์กับทหารชายคนอื่นๆ หลังจากลาออกก็มาทำงานอื่นๆ เช่น ครูในโรงเรียนมัธยม, นักวิเคราะห์หลักทรัพย์, ผู้ช่วยอำนวจการสร้างละครบรอดเวย์

3. เริ่มมีส่วนร่วมทางการเมือง
ในปี 1960-1970 เขาก็มีส่วนร่วมทางการเมือง และเรียกร้องสิทธิมากขึ้น เช่น การร่วมขบวนต่อต้านสงครามเวียดนาม เพราะไม่พอใจกับการสูญเสียจากการทำสงคราม ทั้งเงินจากภาษีที่ต้องทิ้งไปกับการทำสงคราม

4. สมัครเป็นผู้แทนดูแลเมือง
เบื่อจากชีวิตในนิวยอร์ก เขาก็ย้ายมาอยู่เมืองซานฟรานซิสโก (San Francisco) ในปลายปี 1972 เปิดร้านขายกล้องถ่ายรูป บนถนนคาสโทร (Castro Street) แต่เขาเป็นคนมีอารมณ์ขันและนิสัยดี ทำให้เขาจึงเป็นที่รักของคนในชุมชน พอในปี 1973 เขาก็ลงสมัครเป็นผู้แทนคณะกรรมการดูแลเมือง แต่ผลการเลือกตั้ง..เขาพ่ายแพ้

5. ก่อตั้งสมาคม
จนเมื่อมีพ่อค้าบางคนในพื้นที่ ขัดขวางพ่อค้าชายที่เป็นเกย์ 2 คนไม่ให้ขายของ เขาและพ่อค้าคนอื่นๆจึงตั้ง "สมาคมคาสโทรวิลเลจ" ขึ้นมาในปี 1974 เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาในพื้นที่มากขึ้น โดยมีเขาเป็นประธาน สมาคมประสบความสำเร็จมาก จนมีฐานอำนาจในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าชาว LGBTQ และถือเป็นองค์กรแรกในธุรกิจการค้าของชาว LGBTQ และเป็นต้นแบบให้กับชุมชน LGBTQ อื่นๆในสหรัฐฯ

6. ลงสมัครเล่นการเมืองครั้งที่ 2
ในปี 1975 เขาก็ลงสมัครในตำแหน่งสมาชิกสภาเมืองซานฟรานซิสโก แต่ก็แพ้ไปด้วยคะแนนเฉียดฉิว แต่ถึงจะแพ้ในครั้งนี้เขาก็ยังได้รับการเลือก ให้เป็นโฆษกทางการเมืองของชุนชนเกย์

7. ลงเลือกตั้งครั้งที่ 3
ในปี 1977 "จอร์จ มอสโคน" (Mayor George Moscone) เพื่อนสนิทเขา และเป็นนายกเทศมนตรีซานฟรานฯ ให้เขาได้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมพิจารณาอุทธรณ์ท้องถิ่น และเขาก็ได้ลงเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 3 และครั้งนี้เขาได้คว้าชัยชนะมาได้ เมื่อวันที่ 9 มค. 1978


Mayor George Moscone


On his first official day in office on January 9, 1978,
Harvey Milk walked from San Francisco's Castro District to City Hall with his supporters.

8. นักการเมืองเกย์คนแรก
ทำให้เขาเป็นนักการเมืองเกย์คนแรกของสหรัฐฯ เขาทำกิจกรรมหลายอย่าง เพื่อสิทธิให้กับชาว LGBTQ และสตรี รวมถึงทุกๆคนไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม หรือแม้แต่ชนกลุ่มน้อยต่างๆที่ถูกละเลย

9. ถูกลอบสังหาร
เขาต่อสู้เพื่อบอกความจริงเกี่ยวกับเกย์ เพื่อให้คนอื่นๆได้ออกมาเป็นตัวของตัวเอง แต่แน่นอนมีคนรักก็ย่อมมีคนเกลียด และคิดที่จะต่อต้านในเรื่องนี้ ทำให้วันที่ 27 พย. 1978 มือปืนชื่อ "แดน ไวท์" ก็ได้ลอบสังหารเขาและจอร์จ มอสโคน (เพื่อนสนิทเขา) ทำให้เขาเสียชีวิตในวัยเพียง 48 ปี



10. คำสั่งเสียสุดท้าย
เขารับรู้ถึงสัญญาณอันตรายมาตลอด กับการได้รับคำข่มขู่ตลอดที่ได้รับการดำรงตำแหน่ง เขาเขียนพินัยกรรมไว้หลายฉบับ และบันทึกเสียงของเขาในเทป เพื่อบอกความในใจว่า.."ขอให้กระสุนที่ทะลุสมองของฉัน ทำลายประตูตู้เสื้อผ้าทุกบาน" ความหมายก็คือ หลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว ขอให้ทุกคนออกมาเปิดเผยตัวตน และจงใช้ชีวิตในแบบของตนเอง ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศไหนก็ตาม

11. ถูกนำมาทำเป็นภาพยนต์
แม้เขาจะเสียชีวิตไปก็ตาม แต่แนวความคิดยังคงอยู่ โดยได้รับการสานต่อจาก "สจวต มิลค์" (Stuart Milk) หลานชายของเขา เพื่อเคลื่อนไหวจนทำให้ การเมืองได้รับกลุ่ม LGBTQ เข้ามาในวงการเมืองมากขึ้น และประวัติชีวิตของเขาก็ได้ถูกนำเสนอ ในภาพยนต์เรื่อง "Milk" ในปี 2008 จนถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออกสการ์มากถึง 8 สาขาเลยทีเดียว


Stuart Milk


Milk (2008)

เขาไม่ใช่เป็นเพียงนักการเมือง แต่เขายังเป็นฮีโร่ของชุมชน LGBTQ และได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนทั่วโลก เพื่อต่อสู้กับความเท่าเทียมกันในสังคม เพื่อสิทธิของตัวเอง และเพื่อให้คุณได้เป็นตัวของตัวเอง

ค้นคว้าแปลเรียบเรียงเนื้อหาโดย: Amity609
ขอบคุณภาพประกอบ : google, Amity609
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Amity609's profile


โพสท์โดย: Amity609
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
มาเป็นคนแรกที่ VOTE ให้กระทู้นี้
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
5 อันดับ ตึกที่สูงที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน!กรณีแผ่นดินไหวแล้วอาคาร สตง. ถล่ม ต้นเหตุอาจเกิดจากทาวเวอร์เครนฮือฮา! พบสิ่งประหลาดผุดขึ้นมาจากดินที่พม่า..หลังแผ่นดินไหว!!องค์การสหประชาชาติประณาม ทหารพม่าปูพรมถล่มซ้ำเติมเหตุแผ่นดินไหวเปิดแฟ้มลับ 10 แผ่นดินไหวสุดโหด ที่โลก (อาจ) ลืมเลือนบริษัทจีน สร้างตึก สตง ชาวเน็ตจีนรุมจวก ลบข้อมูล แล้ว !!จากอดีตสู่ปัจจุบัน: ร่องรอยการสั่นสะเทือนในแผ่นดินสยามไททัน เจ้าเหมียวอ้วน กับ เดอิ เจ้าเหมียวจอมกวนจุดชมนกนางนวล สะพานแดง สมุทรสาคร ที่เที่ยว ไปกรุงเทพฯแผ่นดินไหวจากฝั่งพม่า สะเทือนถึงฝั่งไทยอีกครั้งมิยาซากิแสดงจุดยืนชัด! ตำนาน Ghibli ปฏิเสธ AI ในวงการแอนิเมชัน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เปิดแฟ้มลับ 10 แผ่นดินไหวสุดโหด ที่โลก (อาจ) ลืมเลือนOne Piece ตอนที่ 1144 วันที่และเวลาวางจำหน่ายกรณีแผ่นดินไหวแล้วอาคาร สตง. ถล่ม ต้นเหตุอาจเกิดจากทาวเวอร์เครนบริษัทจีน สร้างตึก สตง ชาวเน็ตจีนรุมจวก ลบข้อมูล แล้ว !!องค์การสหประชาชาติประณาม ทหารพม่าปูพรมถล่มซ้ำเติมเหตุแผ่นดินไหว
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
แผ่นดินไหวอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิด! 10 เรื่องจริงที่คุณอาจเข้าใจผิดมาโดยตลอดแผ่นดินไหวพม่า สะเทือนถึงกรุงเทพฯ อาเซียนกังวล… แต่กัมพูชามาเหนือฝรั่งอุ้มลูกหนีแผ่นดินไหว แต่เจอเรื่องไม่คาดคิด ร้านตัดผมเล็กๆ แต่น้ำใจยิ่งใหญ่จากอดีตสู่ปัจจุบัน: ร่องรอยการสั่นสะเทือนในแผ่นดินสยาม
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง