สาเหตุของ “การขี้ลืม” เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
ขี้ลืม (Forgetfulness) เป็นพฤติกรรมชั่วขณะหนึ่งที่คนเราอาจจำอะไรไม่ได้ เช่น จำชื่อคนที่เคยรู้จักมานานไม่ได้ จำไม่ได้ว่าตนเองวางสิ่งของไว้ตรงไหน จำไม่ได้ว่าก่อนออกจากบ้านปิดไฟในห้องนอนหรือยัง ซึ่งเป็นการลืมในสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มักเป็นเรื่องปัจจุบัน เป็นความจำในระยะสั้น (Recent memory, ความสามารถจำในสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้) อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต
ขี้ลืมเกิดจากสาเหตุอะไร?
-ความเครียด
-สมาธิไม่ดี จึงไม่ได้ใส่ใจเวลาในการทำกิจกรรมนั้น ๆ
-ภาวะรีบเร่งทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
-ต้องจดจ่อกับอะไรหลาย ๆ อย่างทำให้สมองหลุดโฟกัสบางอย่างไปชั่วขณะ
-ความรู้สึกด้านลบที่ส่งผลต่อความรู้สึก เช่น ความกังวล อารมณ์เศร้า เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อความทรงจำเช่นกัน เนื่องจากเมื่อตกอยู่ในสภาวะเหล่านี้จะทำให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทมากกว่าปกติ มีผลให้เกิดปัญหาด้านความจำ นอกจากนี้ยังเสี่ยงอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย
-นอนไม่พอติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือ นอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมง จะทำให้สมองทำงานหนักต่อเนื่องจนเกิดความเหนื่อยล้าส่งผลให้ไม่มีสมาธิ
-การกินยานอนหลับ ยาลดน้ำมูก การใช้ยาบางประเภทที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้สมรรถภาพในการทำงานของระบบประสาทในส่วนของการจดจำเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจทำให้ลืมได้ง่าย
-การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือ ดื่มทุกวัน จะส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนของฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเป็นเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ การทำงานของสมองในส่วนนี้จะลดลงทำให้เกิดอาการหลงลืมในระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้บางคนจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาดังกล่าว
-อายุที่มากขึ้นในวัยตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ความจำอาจมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ
ทำอย่างไรจะได้ไม่เป็นคนขี้ลืม (Forgetfulness)
1.การมีสมาธิกับงานนั้น ๆ ไม่รีบเร่ง ไม่กังวล ไม่ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
2.กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ โดยจำกัดอาหารจำพวกไขมัน แป้ง น้ำตาล และลดการกินอาหารรสเค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ ในมื้ออาหาร
3.ลด ละ เลิก สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5.ทำกิจกรรมที่ช่วยลดคลายความเครียด การทำงานอดิเรกที่ชอบ เช่น ทำงานฝีมือ งานศิลปะ ฟังดนตรีบำบัด
6.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น โยคะ เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ
7.ฝึกสมาธิด้วยการนั่งสมาธิ การฝึกกำหนดลมหายใจ
8.การฝึกสมองให้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันการเสื่อมของสมอง เช่น การเล่นเกมอักษรไขว้ การต่อจิ๊กซอว์ เล่นเกมจับผิดภาพ การเล่นหมากรุก การเล่นหมากฮอส เป็นต้น
อาการขี้ลืมไม่ได้เป็นโรคเป็นเพียงพฤติกรรมชั่วขณะหนึ่ง ถ้าได้รับการจัดการพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีอาการขี้ลืมก็หายเป็นปกติ ส่วนอาการขี้ลืมเพราะมีความเศร้า เครียด ความกังวล เมื่อได้รับการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นแล้ว อาการหลงลืมก็จะดีขึ้นได้ กรณีเป็นอาการขี้ลืมตามวัยเมื่อได้มีการฝึกสมอง ปรับกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสม อาการขี้ลืมก็จะดีขึ้นได้เช่นกัน
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1102/1102017.x4f6741iiq7v.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1102/1102009.x4f1v2np20a.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101994.x4erti1ru63l.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101705.x4aehiwylse.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1102/1102007.x4f077w94ep.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101988.x4er4kg7nwn.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101995.x4erpk15iuy4.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101968.x4ejtb1gkdhu.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101706.x4aerkwatts.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1102/1102012.x4f37h19d9fy.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101743.x4aset1ow3qj.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1102/1102019.x4f68myubp1.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101983.x4et5ptsgcr.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101992.x4ergjpifu4.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101995.x4erpk15iuy4.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1102/1102009.x4f1v2np20a.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1102/1102007.x4f077w94ep.n2.webp)
![](https://us-fbcloud.net/hottopic/data/1101/1101987.x4er0519gms3.n2.webp)