สถานีโทรทัศน์ฟูจิ เผชิญข้อกล่าวหา หลังนักร้องดังลาออก
การลาออกของ นักร้อง นักแสดง และ พิธีกรชื่อดัง "มาซาฮิโระ นากาอิ" จากวง SMAP วงในตำนานของญี่ปุ่น ซึ่งได้สร้างความตกตะลึงไปทั่วทั้งวงการบันเทิงญี่ปุ่น โดยเขาออกมากล่าวว่า "ผมเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการจากไปอย่างกะทันหันนี้" โดยการตัดสินใจลาออกของเขา ได้จุดชนวนให้เกิดการถกเถียงกันว่า นี่คือจุดสิ้นสุดของข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับตัวเขาและสถานีโทรทัศน์ฟจิหรือไม่?
จุดเริ่มต้นของเรื่องอื้อฉาวดังกล่าว เกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ "มาซาฮิโระ นากาอิ" และ การจัดการปัญหาดังกล่าว ของสถานีโทรทัศน์ฟูจิและสถานีโทรทัศน์คันไซ โดยเหตุดังกล่าวเกิดขึ้น เมื่อมีคนออกมาแฉว่า "มาซาฮิโระ นากาอิ" ใช้เงินจำนวนมหาศาล ซึ่งจ่ายให้กับทางสถานีโทรทัศน์ เพื่อให้พวกเขาส่งพิธีกรสุดสวย มาให้เขาซั่ม ทั้งๆที่เธอไม่เต็มใจก็ตาม โดยพวกเขาได้ใช้อำนาจ ในวงการสื่อและวงการบันเทิง เพื่อทำให้เรื่องเงียบ แต่แล้วเรื่องราวก็บานปลาย จนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตระดับชาติ ในเวลาต่อมา...
ในขณะที่ "มาซาฮิโระ นากาอิ" กำลังโดนคนญี่ปุ่นแบน แต่ทางสถานีโทรทัศน์ฟูจิ ยังคงนำเทปรายการที่มีเขาอยู่ในรายการ ฉายผ่านทางโทรทัศน์อยู่ ซึ่งทำให้ชาวบ้านสงสัยว่า "ทำไมคนเลวๆอย่างมัน ถึงยังถูกฉายอยู่ในทีวี?"
หลังจากนั้นไม่นาน "มาซาฮิโระ นากาอิ" ก็ได้ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว ว่าเป็นข่าวเท็จ แล้วเขาก็ได้รับเลือกให้เป็น ผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ ซึ่งนั่นก็ยังทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีการใช้เงินเพื่อปกปิดเรื่องอื้อฉาวนี้หรือไม่ ซึ่งจากการตรวจสอบของผู้สังเกตการณ์หลายคน พวกเขาคาดเดาว่า "น่าจะเป็นเงินจำนวนมหาศาลนั่นแหล่ะ ที่ทำให้ไม่มีใครพูดถึงเรื่องอื้อฉาวดังกล่าวอีก..."
ซึ่งหลังจากนั้น ก็ได้จุดชนวนให้เกิดการถกเถียงกันอีกครั้ง เกี่ยวกับความรับผิดชอบของสื่อญี่ปุ่น ซึ่งทำให้บริษัทมากกว่า 50 แห่ง ได้ทำการถอนโฆษณาออกจากสถานีโทรทัศน์ฟูจิ แต่ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม กล่าวว่า "ทางสถานีดังกล่าว ก็ยังคงได้รับผลประโยชน์ทางการเงิน จากการลงโฆษณาทางเลือกผ่าน "สภาการโฆษณาแห่งประเทศญี่ปุ่น" อยู่ดี..."
ความขัดแย้งดังกล่าว ได้เปิดเผยถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่ลึกซึ้ง ยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของญี่ปุ่น ผู้สังเกตการณ์ได้สังเกตเห็นความสัมพันธ์อันยาวนาน ระหว่างบริษัทสื่อและหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาล เช่น กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสาร ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแล การออกใบอนุญาตออกอากาศ ความสัมพันธ์เหล่านี้ ทำให้เครือข่ายต่างๆ สามารถควบคุมได้ข้อมูล ข่าวฉาวโฉ่ของพวกเขาได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ ทีอาจกลายเป็นผลเสียต่อพวกเขา...
ท่ามกลางความวุ่นวาย ชาวบ้านและชาวเน็ต ได้ส่งเสียงเรียกร้องให้มีความโปร่งใสมากขึ้น โดยนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงกองทุนของอเมริกา ได้ออกมากดดันให้ทางสถานีฟูจิ จัดงานแถลงข่าวอีกครั้ง ภายใต้การกำกับดูแลจากกลุ่มสื่ออิสระ อีกทั้งยังต้องโดนตรวจสอบจากภายนอก...
เรื่องอื้อฉาวดังกล่าว ยังเน้นย้ำถึงบทบาทของแพลตฟอร์มออนไลน์ ในการเปิดเผยความจริงที่ซ่อนอยู่ อย่างไรก็ตาม ความพยายามของรัฐบาล ในการควบคุมการสนทนาออนไลน์ ได้ทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับ ข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นต่อเสรีภาพในการพูด ชาวเน็ตบางคนกลัวว่า "การควบคุมที่เข้มงวดยิ่งขึ้น อาจจำกัดความสามารถของสาธารณชน ในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นอิสระ ส่งผลให้โครงสร้างสื่อดั้งเดิม มีอำนาจมากขึ้น..."















