เกษตรกรในสหรัฐปรับตัวให้เข้ากับภาวะโลกร้อน โดยการหันมาปลูกพิสตาชิโอเพิ่มมากขึ้น เพราะทนแล้งใช้น้ำน้อย แถมราคายังดีอีกด้วย
ถือว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับภาวะโลกร้อน โดยตามสถิติการเกษตรของรัฐ แคลิฟอร์เนียปลูกผักมากกว่า 1 ใน 3 ของประเทศ และผลไม้และถั่วถึง 75% ของประเทศ และจำนวนพิสตาชิโอเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จนกลายเป็นสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 6 ของรัฐ แซงหน้าพืชผลที่ปลูกมาอย่างยาวนาน เช่น สตรอว์เบอร์รีและมะเขือเทศ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สหรัฐแซงหน้าอิหร่านกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ปลูกถั่วพิสตาซิโอมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
และแน่นอนว่าพื้นที่ปลูกถั่วชนิดนี้เกือบทั้งหมดอยู่ในแคลิฟอร์เนีย พิสตาชิโอเป็นพืชที่ต้นความแล้งได้ดีมาก ซึ่งเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของแคลิฟอร์เนียที่เผชิญปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะในบริเวณหุบเขาของซ็นทรัล วัลเลย์ ที่มีสภาพอากาศคล้ายทะเลทราย และมีปริมาณน้ำจำกัด ก็ไม่สามารถขัดขวางการจะเจริญเติบโตของถั่วพิสตาชิโอได้ เพราะมันมีรากที่ยาว ชอนไชไปได้ลึก อีกทั้งยังอาศัยลมแทนผึ้งในการผสมเกสร และสามารถให้ผลผลิตได้นานหลายทศวรรษ พิสตาชิโอต้องการน้ำประมาณ 3,700 ลูกบาศก์เมตร ต่อเอเคอร์
เมื่อเทียบกับอัลมอนด์ที่ต้องใช้น้ำเกือบ 4,934 ลูกบาศก์เมตร และให้ผลผลิตต่อเอเคอร์มากกว่าอัลมอนด์ในขณะที่มีราคาสูงกว่า คุณสมบัติทนแล้งนี้เองทำให้เกษตรกรในแคลิฟอร์เนียหันมาปลูกพิสตาชิโอมากขึ้น แทนที่การปลูกอัลมอนด์ที่ต้องดูแลและใช้น้ำมากกว่า แม้ว่าอัลมอนด์จะทำรายได้ให้กับรัฐในปี 2023 สูงถึงเกือบ 4 ล้านดอลลาร์ก็ตาม ส่วนแบ่งทางการตลาดที่เติบโตของพิสตาชิโอ เป็นตัวอย่างที่ดีของความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอากาศและตลาดการผลิต เพราะวิกฤติสภาพอากาศที่ส่งผลให้เกิดภัยแล้งทั่วโลก เกษตรกรจึงหันมาปลูกพืชที่ทนแล้ง หนึ่งในนั้นคือ พิสตาชิโอ จนถั่วชนิดนี้ไม่ใช่ของที่มีราคาแพงอีกต่อไป กลายเป็นสินค้าที่หาได้ทั่วไป และถูกนำไปเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อื่นๆ มากมาย