13 วิธีการดูแลตัวเองป้องกัน “กรดไหลย้อน” พฤติกรรมลดความเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน
1.รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ พยายามอย่าให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะอาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการ กรดไหลย้อนตอนนอน มากขึ้นได้ รู้จักควบคุมน้ำหนัก อย่าให้อ้วนมากเกินไป เพราะคนที่น้ำหนักมากจะทำให้ความดันในช่องท้องมากไปด้วย
2.ดูแลตัวเองอย่าให้มีความเครียด เพราะทำให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้น
3.ไม่ควรรับประทานอาหารในช่วงก่อนนอน 3 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นอาหารที่ยังย่อยไม่หมด เมื่อเรานอนราบ กรดในกระเพาะสามารถไหลย้อนขึ้นมาได้
4.ควรหลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นกรดไหลย้อน ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างเช่น น้ำอัดลม กาแฟ ชา อาหารรสจัด อย่างเช่น เปปเปอร์มิ้นต์ กระเทียม หัวหอม นม อาหารไขมันสูง อาหารเผ็ด อาหารที่มีรสชาติเลี่ยน หรืออาหารทอด และอาหารที่มีกรด อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์จากส้ม มะเขือเทศ
5.พยายามหลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ เป็นการสร้างแรงดันภายในกระเพาะอาหาร ควรรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ ในระหว่างวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการกรดไหลย้อนในเวลากลางคืน
6.อย่าปล่อยให้ท้องผูก เพราะจะทำให้มีลมในท้องมากผิดปกติ ลมที่มากจะก่อให้เกิดแรงดันในท้องมากและดันให้กรดไหลย้อนขึ้นมา
7.ปรับเปลี่ยนท่าทางในการนอน ควรนอนตะแคงซ้าย เพื่อยกร่างกายส่วนบนให้สูงขึ้นในระหว่างนอนหลับ การนอนหลับโดยไม่หนุนหมอน หรือหนุนหมอนเตี้ยทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง เนื่องจากหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอยู่ในระดับเดียวกัน ส่งผลให้กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหารได้
8.หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่คับ โดยเฉพาะบริเวณเอว การสวมใส่เสื้อผ้าคับ ๆ เป็นการเพิ่มแรงดันให้กับกระเพาะอาหาร นำไปสู่การเกิดกรดไหลย้อน การสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมหรือมีขนาดพอดี ช่วยลดการสร้างแรงดันในกระเพาะอาหาร และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
9.เคี้ยวหมากฝรั่ง การเคี้ยวหมากฝรั่งกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำลาย ซึ่งช่วยลดการระคายเคืองในหลอดอาหาร และชะล้างกรดลงสู่กระเพาะอาหาร
10.อย่านอนหรือยืนรับประทานอาหาร ควรนั่งในท่วงท่าที่สบายในระหว่างรับประทานอาหาร เพื่อให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น และหลีกเลี่ยงการสร้างแรงดันในขณะกลืนอาหาร
11.พยายามอยู่เฉย ๆ หลังจากรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการก้ม หรือยกของหนักในขณะที่กระเพาะอาหารกำลังทำงาน
12.อย่าออกกำลังกายทันทีหลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเริ่มออกกำลังกาย ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดแรงดันในกระเพาะอาหาร และทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารผิดเพี้ยนไป ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดกรดไหลย้อน
13.เลิกสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ไม่เพียงสร้างความระคายเคืองให้กับทางเดินอาหาร แต่ยังทำให้กล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารคลายตัว ก่อให้เกิดการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร