กินอย่างไร? ไม่ให้เป็น "โรคกระเพาะ"
กินอย่างไร? ไม่ให้เป็น "โรคกระเพาะ"
จากหนังสือกินต้านโรค เขียนโดย พรพรรณ รพี. ได้กล่าวว่า
การเกิดโรคกระเพาะที่สำคัญ คือ เยื่อบุกระเพาะอาหารถูกกัดทำลาย โดยกรดที่อยู่ในน้ำย่อยอาหารจนกระทั่งเป็นแผล และสาเหตุที่ทำให้มีกรดมากในกระเพาะอาหารนั้น เกิดจากพฤติกรรม เช่น
- กินอาหารไม่เป็นเวลา
- กินอาหารรสจัด
- กินยาแก้ปวด พวกยาชุด ยาแอสไพริน และยาที่ใช้รักษาโรคข้อ โรคความดัน
- ดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และพวกน้ำชา กาแฟ
ซึ่ง ความเครียด ความวิตกกังวล ความรีบเร่งในการทำงาน ก็เป็นสาเหตุสำคัญ ของการเป็นโรคกระเพาะ และหากเกิดความเครียดแล้ว กินอาหารไม่ลงด้วย จะยิ่งเกิดโรคกระเพาะได้ง่ายขึ้นและหนักขึ้น ฉะนั้นแล้วควรหลีกหนีพฤติกรรมดังกล่าวไปให้ไกล...
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระเพาะ
คนที่เป็นกระเพาะมักจะมีอาการ ตั้งแต่ แน่นท้อง จุกเสียด มีอาการเรอบ่อยๆ หิวบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลากลางคืน อาจมีคลื่นไส้เล็กน้อย บางคนก็อาจมีอาการปวด ลักษณะที่ปวดจะปวดเป็นพักๆ อาการปวดเป็นลักษณะปวดแน่น มีน้อยคนที่ปวดแสบปวดร้อน อาการปวดจะดีขึ้นเมื่อได้กินอาหารแต่ถ้าในกระเพาะอาหารเป็นแผล อาการปวดจะปวดอยู่นาน ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ้าแผลเป็นมากอาจเกิดการทะลุของกระเพาะอาหาร จะมีอาการปวดอย่างรุนแรง ถือว่าร้ายแรงมาก ต้องรีบไปหาหมอโดยด่วน
กินอาหารอย่างไรเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
เมื่อเป็นโรคกระเพาะแล้ว ต้องควบคุมไม่ให้อาหารมีส่วนเข้าไประคายเคืองต่อกระเพาะ หลักที่จะยึดไว้ปฏิบัติมีดังนี้
- กินอาหารให้ตรงเวลา
- กินทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น
- งดอาหารที่มีรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เครื่องเทศบางชนิดจะระคายเคืองต่อกระเพาะ ทำให้เป็นโรคกระเพาะมากขึ้น เช่น พริกไทย กานพลู เป็นต้น อาหารรสและเครื่องเทศเหล่านี้ จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น
- งดอาหารมัน รวมทั้งอาหารทอดที่อมน้ำมันมาก อาหาร ทอดไม่ทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ หรือเป็นแผลเพิ่มขึ้นแต่จะทำให้
อ้างอิงจาก: หนังสือกินต้านโรค เขียนโดย พรพรรณ รพี.