ลองมาเช็กกันดูว่าคุณมีอาการ ภาวะสมองล้า หรือไม่ ?
ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) คือ ภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัวจากการที่สมองถูกใช้งานอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน ส่งผลต่อสมองในส่วนของสารเคมีที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่าง เซลล์ระบบประสาท ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เหมือนกับการมีหมอกมาบดบังการทำงานของสมอง ทำให้รู้สึกไม่สดใส หากปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยครั้งจะทำให้เสี่ยงโรคอื่น ๆ ตามมา และ สามารถส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ เช่น โรคอ้วน โรคกระเพาะ โรคเบาหวาน ในสุภาพสตรีอาจส่งให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
ลองมาเช็กกันดูว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ?
1.รู้สึกไม่สดชื่นสดใส
2.สายตาอ่อนเพลีย
3.มีอาการปวดหัวเรื้อรัง
4.อารมณ์แปรปรวน
5.หงุดหงิดง่าย
6.ขี้หลงขี้ลืม
7.ความจำระยะสั้นแย่ลง
8.ไม่มีสมาธิในการทำงาน
9.ความคิดสร้างสรรค์หาไป
10.นอนไม่หลับ นอนหลับได้ยาก
11.ทำอะไรก็เหนื่อยง่าย
12.คิดคำพูดไม่ออก
13.ออกเสียงคำไม่ถูก
สาเหตุของภาวะสมองล้า
1.รับคลื่นแม่เหล็กจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือ ใช้งานคอมพิวเตอร์มากเกินไป
2.พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่สนิท การนอนที่ไม่ได้คุณภาพ
3.มีความเครียดมากเกินไป
การป้องกันภาวะสมองล้า
1.ควบคุมเวลาในการเทคโนโลยีในแต่ละวันให้เหมาะสม
2.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากระหว่างวันรู้สึกง่วงนอน หาเวลานอนกลางวันประมาณ 15 นาที
3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4.ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ้างเช่น เดินเล่น เดินไปซื้อของร้านค้าใกล้บ้าน ไปสวนสาธารณะมองต้นไม้สีเขียว ไปท่องเที่ยวสถานที่ธรรมชาติเพื่อผ่อนคลาย เป็นต้น
5.กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้เพื่อรับสารต้านอนุมูลอิสระ และ วิตามินต่าง ๆ
ภาวะสมองล้าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะวัยทำงานและวัยเรียน ถึงแม้อาการจะสามารถหายได้ในเวลาต่อมา แต่หากไม่ใส่ใจอาจมีโรคอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง การผ่อนคลายตนเองไม่ให้สมองทำงานหนักจึงเป็นสิ่งที่เราควรคำนึงถึงอยู่ตลอด
อ้างอิงจาก: https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/disease-treatment/brain-fog-syndrome
https://www.petcharavejhospital.com/en/Article/article_detail/Brain-Fog-Syndrome
https://www.sikarin.com/health/brain-fog-ภาวะ�%A
A%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B9%
89%E0%B8%B2-
%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B
%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89















