ความเข้าใจผิดๆ เรื่องของ "ไขมัน"
ความเข้าใจผิดๆ เรื่องของ "ไขมัน"
จากหนังสือ 20 กลลวงอนามัย รู้ทันก่อนสาย...เล่ห์ร้ายใกล้ตัว เขียนโดย บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้กล่าวว่า มีความเข้าใจผิดในหลักการสำคัญๆ หลายอย่างดังนี้
1. เชื่อผิดๆ ว่ากินไขมันทำให้อ้วน
เหตุผลในทางวิทยาศาสตร์คือ อาหารไขมันจะทำให้คุณอ้วนก็ต่อเมื่อกินไขมัน โดยไม่สนใจปริมาณแคลอรี่ที่รับเข้าไป เพราะ ไขมันย่อมมีปริมาณแคลอรี่มากกว่าโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตอยู่แล้ว คือหนึ่งกรัมให้พลังงานถึง 9 แคลอรี่ ขณะที่อีกสองอย่างให้เพียง 4 แคลอรี่
แต่อย่างไรก็ดี ถ้ากินแล้วไม่ออกกำลังกายก็อ้วนอยู่วันยังคำ โดยเฉพาะคนที่ชอบกินอาหารแบบอเมริกัน ซึ่งมีแต่ไขมันชนิดเลวๆ คือ ไขมันอิ่มตัวที่ถูกบิดโครงสร้าง (Trans fatty acid) ซึ่งมาคู่กับสเต๊กเนย มาร์การีน หรือน้ำมันทอดเฟรนช์ฟราย รวมถึงน้ำมันพืช กลุ่มโอเมก้า 6 เหล่านี้ถือเป็นน้ำมันคุณภาพไม่ดี เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วมักจะทำให้กระบวนเผาผลาญไขมันติดขัด แล้วไขมันเลวๆ เหล่านี้ก็มักจะอุดตันอยู่ตามเซลล์ต่างๆ
2. เชื่อผิดๆ ว่ากินไขมันต่ำ คาร์โบไฮเดรตสูง จะเร่งอัตราเผาผลาญของร่างกาย
มีการวิจัยพิสูจน์เรื่องนี้ที่ Mayo Clinic โดยใน 2 สัปดาห์แรกคนอ้วนได้กินอาหารอเมริกันทั่วไป ซึ่งมีทั้งแป้งและไขมัน (ไขมัน 45%) ต่อมาถูกเปลี่ยนอาหารเป็นไขมันต่ำ คาร์โบไฮเตรตสูงให้กิน 4 สัปดาห์ จากนั้นทดสอบอัตราเผาผลาญอาหารในคนเหล่านี้ปรากฎว่าไม่มีความเปลี่ยนแปลงในอัตราเผาผลาญแต่อย่างใด
สำหรับในเมืองไทย น.พ.ดร.วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ซึ่งเป็นนักชีวเคมี ได้กล่าวว่า อาหารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรตเป็นตัวการร้ายที่ก่อให้เกิดโรคอ้วน
นั่นแปลว่า "สูตรไม่กินไขมัน กินแต่แป้ง" ไม่ได้ช่วยลดความอ้วน
เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ที่
https://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: หนังสือ 20 กลลวงอนามัย รู้ทันก่อนสาย...เล่ห์ร้ายใกล้ตัว เขียนโดย บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล