5 ข้อชวนคิดในการทำธุรกิจแบบมีหุ้นส่วน
ก่อนดึงใครมาร่วมทำธุรกิจคิดให้ดีเสียก่อน เพราะ "หุ้นส่วน" เป็นได้ทั้งตัวช่วย และภาระ
หุ้นส่วนธุรกิจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภทคือ
- หุ้นส่วนลงเงิน
- หุ้นส่วนลงแรง
- หุ้นส่วนลงทั้งเงินและแรง
และอาจจะมีหุ้นส่วนประเภทที่ 4 อีก คือ ไม่ลงทั้งเงินและแรงแต่เอามาเป็นหุ้นส่วน เพราะต้องการชื่อเสียง บวกกับความกว้างขวาง และคอนเน็กชั้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการตลาด หรือคอยซัปพอร์ตในด้านอื่น ๆ ทำให้ธุรกิจราบรื่นขึ้นในการเป็นหุ้นส่วน จะต้องตกลงกันระหว่างหุ้นส่วนให้ชัดเจนว่า เราหรือเขาเป็นหุ้นส่วนประเภทไหน เพื่อไม่ให้มีปัญหาตามมาในภายหลัง การมีหุ้นส่วนทางธุรกิจมีข้อดี คือ มีคนช่วยคิด มีคนช่วยทำ มีคนช่วยหาเงิน
ข้อดีและข้อควรพิจารณาสําหรับการมีหุ้นส่วน
1 หุ้นส่วนธุรกิจก็เหมือนจิ๊กซอว์ที่มา ถ้าเราจะหาใครมาเป็นหุ้นส่วน คน ๆนั้นต้องเติมเต็มส่วนเราขาด หากเป็นจิ๊กซอว์ที่เหมือนตัวเดิมก็ไม่มีประโยชน์อะไร เว้นแต่เราทำงานไม่ทันจนต้องหาคนมาเพิ่ม ยกตัวอย่าง เช่น เราไม่ได้มีปัญหาเรื่องเงินทุน แต่คนที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนของเราอยากจะลงเงินอย่างเดียว นั่นก็ไม่ได้ช่วยอะไร
ถ้าเราเก่งเรืองบริหาร การตลาด การขาย แต่ไม่เก่งเรื่องบัญชีกฎหมาย หรือเรื่องพัฒนาสินค้าและบริการ การมีหุ้นส่วนที่มีความรู้เหล่านี้เข้ามาช่วย ก็จะทำให้เราเติมเต็มในเรื่องธุรกิจเหมือนกับได้
จิกซอว์ที่ขาดมาต่อเติมให้เต็มภาพนั่นเอง
2 หุ้นส่วนเยอะ ตัวหารก็เยอะการมีหุ้นส่วนเยอะ มาช่วยคิด ช่วยทำธุรกิจเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้ามีหุ้นส่วนเยอะเกินไป อาจสร้างปัญหาเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุน หรือการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบที่ไม่เท่ากันได้ในธุรกิจเล็ก ๆ เจ้าของคนเดียวได้กำไรแค่เดือนละ 100,000 บาท ก็อาจจะพอใจแล้ว แต่ถ้ามีหุ้นส่วนมาช่วยหารสัก 3-4 คน กำไรจะเหลือแค่คนละ 20,000-30,000 บาท เท่านั้นเอง ซึ่งอาจไม่เป็นที่น่าพอใจของหุ้นส่วนบางคน ดังนั้น ถ้าเราทำธุรกิจเล็ก ๆ แล้วเรา"เอาอยู่" ทำคนเดียวก็อาจจะดีกว่าการมีหุ้นส่วน
3 ธุรกิจสะดุด เพราะเรารู้สึกว่าหุ้นส่วนไม่เต็มที่กับงาน เรื่องนี้อาจเป็นปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ธุรกิจไปไม่รอด เพราะไม่คุยกันไว้ตั้งแต่ต้นว่าใครต้องทำอะไรบ้าง พอทำไปเราก็อาจจะรู้สึกว่าหุ้นส่วนของเรายังทำงานไม่เต็มที่ โดยที่เขาบอกว่าทำเต็มที่แล้ว แต่ง
ทำงานมากกว่าเขาเท่านั้นเอง หรือหุ้นส่วนบางคนอาจมองว่า หุ้นส่วนคนอื่น ๆ ทำงานน้อยกว่า แต่ได้ส่วนแบ่งของกำไรที่เท่ากัน ทำให้รู้สึกเสียเปรียบ
การป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนจะร่วมหุ้นกัน แนะนำว่าควรทํา MOU (Memorandum of Understanding) หรือทำสัญญาให้ชัดเจนว่าใครต้องทำอะไรบ้าง ทิศทางของธุรกิจจะไปทางไหน เป้าหมายคืออะไร ซึ่งจะทำให้หุ้นส่วนแต่ละคนรู้หน้าที่ของตัวเอง มีเป้าหมายร่วมกัน และระบุถึงปัญหาและทางออกที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างทางที่ร่วมทำธุรกิจให้ชัดเจน เช่น
- เมื่อหุ้นส่วนถอนตัวออกไป ก็ห้ามทำธุรกิจที่เหมือนกันเป็นเวลา.... ปี
- หากขาดเงินทุนจะใช้วิธีไหนในการหาทุนเพิ่ม
- ขาดทุนถึงจุดไหน จึงจะมาตัดสินใจว่าถึงเวลาที่ต้องแยกย้าย
- หากมีผู้มาขอซื้อธุรกิจจะทำอย่างไร จะขายไหม หรือให้มาร่วมหุ้น
- วางแผนการขยายตัวของธุรกิจอย่างไร หาทุนมาจากไหน
- ในอนาคตจะขยายธุรกิจไปอย่างไร รูปแบบไหนบ้างหรืออาจจะคุยกันไว้ตั้งแต่ต้นว่า ใครต้องรับผิดชอบอะไร ใครต้องทำอะไรบ้าง แต่เมื่อทำธุรกิจไปได้สักพัก หุ้นส่วนของเราอาจหมด Passion เพราะแรก ๆ เขาก็อาจจะไม่อยากทำธุรกิจแบบนี้อยู่
แล้ว แต่มีเป้าหมายว่าอยากมีธุรกิจของตัวเอง พอทำไปแล้วเจอปัญหาเข้ามาตลอดทําให้ "หมดไฟ" ไม่อยากทำต่อ อีกกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อย ก็คือ ตอนเริ่มธุรกิจ หุ้นส่วนยังไม่มีครอบครัว ทําให้ทุ่มเทเวลากับธุรกิจได้เต็มที่ แต่พอมีครอบครัวทำให้ต้องแบ่งเวลาไปดูแลครอบครัว หรือครอบครัวไม่เข้าใจที่เราทุ่มเทเวลาให้กับธุรกิจ เกิดปัญหาในครอบครัว ทําให้หุ้นส่วนของเราไม่มีเวลาทุ่มให้
กับธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าเกิดปัญหาเหล่านี้ อาจจะต้องมีการคุยตกลง MOU กันใหม่ระหว่างหุ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้แบบราบรื่น
4.ทำคนเดียวดีไหม หรือควรหาใครมาเป็นหุ้นส่วน
การเป็นเจ้าของคนเดียวมีข้อดี ก็คือ สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องถามหุ้นส่วน แต่ในข้อดีก็มีข้อเสีย นั่นก็คือ ถ้าเราไม่ตัดสินใจ หรือตัดสินใจผิดพลาด ก็อาจทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควรจะเป็น หรืออาจสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นก็ได้
การมีหุ้นส่วน เวลาที่เราจะตัดสินใจทำอะไร จะมีคนช่วยปรึกษา หลาย ๆ มุมมอง ซึ่งทำให้เรามองปัญหาได้รอบด้านมากขึ้น การแก้ปัญหาก็จะละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้นนั่นเอง
5 ไม่จำเป็นต้องมีหุ้นส่วนตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ
การทำธุรกิจเราอาจเริ่มจากธุรกิจเล็ก ๆ ทำคนเดียวไปก่อน เมื่อธุรกิจเติบโต เราอาจจะขาดเงินทุน หรือต้องการคนมาช่วยในบางเรื่องเพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ เมื่อถึงตอนนั้นค่อยหาคนมาเป็นหุ้นส่วนก็ยังไม่สายเกินไป
เมื่อรู้ข้อดี ข้อเสียของการมีหุ้นส่วนแล้ว สุดท้ายก็ต้องกลับมาถามตัวเองว่า... เราจำเป็นต้องมีหุ้นส่วนจริง ๆ หรือเปล่า
สรุปเทคนิคการทำธุรกิจกับหุ้นส่วน
- มองหาหุ้นส่วนที่มีความสามารถบางอย่างซึ่ง
จําเป็นกับธุรกิจ ซึ่งความสามารถนั้นเป็นสิ่งที่ตัวเราขาด เพื่อที่จะมาเติมเต็มธุรกิจให้สมบูรณ์
- เลือกคนที่มีเป้าหมายเดียวกันกับเรา เวลา
เกิดปัญหาระหว่างทางจะได้พร้อมจูงมือไปถึงเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน
- ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร ตั้งแต่เริ่มต้น ว่า
จะเป็นหุ้นส่วนลงแรงลงเงินหรือลงทั้งแรงและเงินจะได้ไม่ต้องโทษกันในภายหลังว่าทำไมไม่ยอมทำงาน หรือรับผิดชอบงานไม่เท่ากัน
- แบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของกันและกัน ใครรับหน้าที่ไหนก็ทำในหน้าที่ของตนเองให้ดี ส่วนงานของคนอื่นก็ให้คนอื่นตัดสินใจ ยกเว้นบางเรื่องอาจมีการประชุม
หาข้อสรุปร่วมกัน
- คิดถึงตอนเลิกธุรกิจกันไว้ตั้งแต่แรก เพราะชีวิต
จริงอาจไม่ได้สวยงามอย่างที่เราคิด สักวันหนึ่งก็ต้องมีวันเลิกรากัน การคิดเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่แรกจะช่วยลดปัญหาก่อนเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจริงได้