เผยโฉมหน้า แจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ถูกเปิดโปงตัวตนจากความก้าวหน้าทาง DNA
ตัวตนของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ หนึ่งในฆาตกรต่อเนื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ ได้รับการเปิดเผยในที่สุด ไม่มีคดีอาชญากรรมใดที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนมากเท่ากับคดีของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ผู้ซึ่งก่อเหตุฆาตกรรมต่อเนื่องที่โหดเหี้ยมในเขตไวต์แชเปลของลอนดอนในปลายศตวรรษที่ 19 การฆาตกรรมเหล่านี้สร้างความตกตะลึงให้แก่สังคมวิคตอเรียและก่อให้เกิดความตื่นตระหนกไปทั่ว
แม้ว่าจะมีการสืบสวนอย่างละเอียด หนังสือหลายเล่ม และทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับคดีนี้ แต่ตัวตนที่แท้จริงของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ยังคงเป็นหนึ่งในปริศนาอาชญากรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ยังไม่คลี่คลาย จนถึงตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์นิติเวชได้อ้างว่าพวกเขาสามารถระบุตัวตนของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ได้แล้ว และยังเปิดเผยรูปภาพของเขาด้วย
ในช่วงเวลาที่แจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ก่อเหตุฆาตกรรมอย่างต่อเนื่อง ไวต์แชเปลเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความยากจนแสนเข็ญ ความแออัด และอาชญากรรม ประชาชนจำนวนมากไม่มีงานทำหรือทำงานในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่และค่าตอบแทนต่ำ ความรุนแรงและการเสพสุราแพร่หลายในบริเวณนั้น
redit: The Penny Illustrated Paper
แจ็ค เดอะ ริปเปอร์ เชื่อกันว่าได้ฆาตกรรมผู้หญิงอย่างน้อย 5 รายในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายนปี 1888 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "Canonical Five" ได้แก่ แมรี แอน นิโคลส์, แอนนี่ แชปแมน, อลิซาเบธ สไตรด์, แคทเธอรีน เอ็ดโดวส์, และแมรี เจน เคลลี่
ความโหดเหี้ยมของการฆาตกรรมเหล่านี้ทำให้หลายคนเชื่อว่าแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ อาจมีความรู้ทางการแพทย์หรือกายวิภาคศาสตร์ แม้ว่าจะยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับตัวเขาได้
ในขณะเดียวกันมีจดหมายหลายฉบับถูกส่งถึงตำรวจและหนังสือพิมพ์ โดยมีจดหมายที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ "Dear Boss" ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนเรียกตัวเองว่า "แจ็ค เดอะ ริปเปอร์" แม้ว่าจะยังไม่แน่ชัดว่าจดหมายดังกล่าวมาจากฆาตกรตัวจริงหรือไม่ แต่ชื่อนี้กลับกลายเป็นที่ติดปากและกลายเป็นตำนานอาชญากรรม
มากว่าร้อยปี ตัวตนของแจ็ค เดอะ ริปเปอร์ ยังคงเป็นที่สนใจของผู้คน และล่าสุดนักวิทยาศาสตร์นิติเวชได้ค้นพบหลักฐานสำคัญจากการวิเคราะห์ผ้าคลุมไหมที่พบใกล้ศพของแคทเธอรีน เอ็ดโดวส์ เหยื่อรายที่ 4 ในปี 1888 โดยผ้าคลุมดังกล่าวมีร่องรอยเลือดและอสุจิซึ่งคาดว่ามาจากฆาตกร
ผลการตรวจสอบทางพันธุกรรมพบว่า DNA ที่พบตรงกับญาติสืบเชื้อสายของ แอรอน คอสมินสกี้ ช่างตัดผมชาวโปแลนด์วัย 23 ปี ซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยหลักในช่วงเวลานั้น ทั้งนี้ นักวิจัยยังได้เปรียบเทียบชิ้นส่วนของ DNA ที่ได้รับจากผ้าคลุมกับตัวอย่าง DNA จากลูกหลานของแคทเธอรีน เอ็ดโดวส์ และแอรอน คอสมินสกี้
แม้ว่าผลการวิเคราะห์นี้จะเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ แต่ยังมีข้อโต้แย้งว่าผลการทดสอบนี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างแน่ชัด เนื่องจาก DNA ที่พบอาจเป็นของคนอื่นที่อาศัยอยู่ในลอนดอนในช่วงเวลานั้น