อาหารที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรน
รู้ได้อย่างไรว่าอาหารเมนูไหนที่เสี่ยงไมเกรน ? อาหารที่กระตุ้นให้ปวดไมเกรนในแต่ละคนอาจไม่กระตุ้นอาการของคนอื่นก็ได้ วิธีดีที่สุดที่ใช้พิจารณาว่าอาหารมีผลต่ออาการไมเกรนหรือไม่ ? ได้แก่ ทำบันทึกอาหารที่กิน เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะพยายามนึกว่ากินอะไรเข้าไปบ้างในช่วง 12 ชั่วโมงก่อนนั้น ควรงดอาหารชนิดนั้นสัก 2 สัปดาห์ขึ้นไป แล้วค่อยกลับไปลองกินดูอีกครั้งว่ายังทำให้เกิดอาการหรือไม่ ? แต่สิ่งที่สำคัญพอ ๆ กับการงดอาหารที่อาจกระตุ้นอาการ คือ ห้ามอดอาหาร เพราะการไม่กินตามปกติอาจทำให้เกิดไมเกรนเช่นกัน
ยกตัวอย่าง 7 อาหารที่กระตุ้นให้เกิดไมเกรน
1.ช็อกโกแลต ขนมประเภทช็อกโกแลตมีส่วนผสมของนม เนย น้ำตาล แต่ยังไม่มีการวิจัยที่ระบุแน่ชัดว่า เพราะอะไรช็อกโกแลตจึงมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน แต่เพื่อป้องกันและลดอาการปวด จึงควรหลีกเลี่ยง
2.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นเมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกิดจากสารไทรามีนที่เข้าไปลดระดับสารเซโรโทนินในสมอง ทำให้รู้สึกปวดหัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะ ไวน์แดง ที่มีส่วนประกอบของสารไทรามีน และ ฮีสตามีนที่มีผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
3.กล้วย และ ผลไม้ตระกูลซีตรัส กล้วยมีส่วนประกอบของสารไทรามีน ฮีสตามีน มีผลทำให้เกิดอาการปวดไมเกรน และ ผลไม้ตระกูลซีตรัส อย่าง ส้ม มะนาว ก็ทำให้เกิดอาการปวดหัวรุนแรงได้เช่นกัน
4.ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน จะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรน และ ไวต่อคาเฟอีนจึงควรหลีกเลี่ยง
5.เนยแข็ง ชีส สารไทรามีนที่เป็นส่วนประกอบของเนยแข็ง และ ชีส ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีความไวต่อสารนี้เกิดอาการปวดไมเกรนได้ง่าย
6.ขนมปัง พิซซ่า มีส่วนผสมของ ยีสต์ และ สารไทรามีนจากชีส คือตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดไมเกรน
7.เนื้อสัตว์แปรรูป เบคอน ไส้กรอก หรือ เนื้อสัตว์รมควัน เพราะมีสารกันบูดอย่าง ไนเตรต ที่ส่งผลกระตุ้นทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และ หากผู้ป่วยมีความไวต่อสารนี้อาการก็อาจเกิดขึ้นได้ในทันที
อาหารที่ช่วยบำบัดไมเกรน
- ผัก ผลไม้ และ ถั่วฝัก
- ปลาเนื้อมัน
- ขิง
- ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว ผักใบเขียวเข้ม และ อาหารอื่นที่มีแมกนีเซียมสูง