ประโยชน์ของเสียงดนตรี เสริมสร้างจิตใจ และร่างกายให้แข็งแรง
1.ลดความเครียด
ในการศึกษาปี 2013 ผู้เข้าร่วมการทดสอบที่นักวิจัยได้คัดมาส่วนใหญ่มักมีภาวะความเครียดจากสิ่งรอบข้างในสังคม แต่เมื่อได้รับการฟังเสียงเพลง เนื้อหา ทำนอง หรือจังหวะ คลื่นเสียงที่ได้ยินนั้น จะถูกส่งเข้าสู่ระบบประสาทอัตโนมัติ จึงทำให้ผู้ทดสอบเริ่มผ่อนคลายตนเองจากความเครียดได้ค่อนข้างรวดเร็ว
งานวิจัย พบว่า การฟังดนตรีช่วยผ่อนคลายความเครียดโดยการหลั่งสารทางเคมีที่ช่วยลดความเครียด เพลงจังหวะสนุก ๆ ทำให้รู้สึกดี และมีพลังบวกมากขึ้น จังหวะที่ช้าลง ทำให้จิตใจสงบ และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงรัด เมื่อกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทำให้รู้สึกดี ความเครียดก็จะถูกปลดปล่อยออกมา
2.ปรับปรุงหน่วยความจำ
การฟังเพลงเป็นประจำ ทำให้เกิดความคิดในเชิงบวก ปรับอารมณ์ให้อยู่ในระดับดีเสมอ จึงไม่เกิดการขัดขวางการทำงานของหน่วยความจำ การศึกษาชิ้นหนึ่งสรุปผลได้ว่า ผู้ที่รักเสียงดนตรีเรียนรู้ภาษา และความหมายจากเพลงนั้น ๆ ที่พวกเขาได้ฟัง จนเกิดการจดจำเปล่งเสียงร้องตาม อาจนำมาพูดสื่อสารปรับในชีวิตประจำวันได้ นับได้ว่าเป็นการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาเลยทีเดียว
3.ช่วยพัฒนาความสามารถในการคิด และเข้าใจของสมอง (Cognitive performance)
การฟังเพลงใหม่ ๆ ช่วยทำให้สมองเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยช่วงแรกสมองจะรู้สึกไม่คุ้นชินกับเสียงใหม่ หลังจากนั้นสมองก็จะดิ้นรนที่จะเข้าใจเสียงใหม่ และสร้างความคุ้นชินขึ้นมา การดิ้นรนที่จะเข้าใจเสียงใหม่ เป็นการช่วยพัฒนาสมองในส่วนของความคิดสร้างสรรค์
4.นอนหลับได้ดีขึ้น
การวิจัยนักเรียนระดับมหาวิทยาลัย โดยแบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ฟังเพลงคลาสสิค กลุ่มที่สองฟังหนังสือที่อ่านอัตโนมัติ กลุ่มที่ 3 ไม่ทำอะไรเลย โดยทำการวิจัยเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ผลการทดลอง พบว่า นักเรียนที่ฟังเพลงคลาสสิค นอนหลับได้มีประสิทธิภาพ มากกว่า นักเรียนที่ฟังหนังสืออ่านอัตโนมัติ และกลุ่มที่ไม่ได้ทำอะไรเลย
นักวิจัย เผยว่า การฟังดนตรีคลาสสิกเป็นเสียงเพลงที่ให้ความเบาสบายผ่อนคลายเหมาะกับช่วงเวลาเข้านอนมากที่สุด และมีความปลอดภัยมากกว่ารับประทานยานอนหลับ
5.เสริมสร้างอารมณ์ให้ดีขึ้น
การฟังเพลงช่วยเพิ่มการผลิตฮอร์โมนโดพามีนในสมอง การหลั่งฮอร์โมนโดพามีนเพิ่มขึ้น จะช่วยลดความกังวล และอาการซึมเศร้าได้ ดนตรีนั้นถูกประมวลผลโดยตรงจากส่วนหนึ่งของสมองที่เรียกว่า Amygdala มีลักษณะเป็นรูปอัลมอนด์ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และประสบการณ์
การฟังเพลงบ่อย ๆ ทำให้ เพลิดเพลิน และรู้สึกสนุกไปกับจังหวะ จนเกิดการกระตุ้นทางด้านอารมณ์ในเชิงบวก มีความสุขขึ้นมาได้โดยที่ไม่รู้ตัว พอส่องกระจกอีกทีก็เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าแทนสีหน้าบึ้งตึงเสียแล้ว
6.ช่วยลดอาการเจ็บปวดทางร่างกาย
การวิจัยผู้ป่วยมากกว่า 7000 ราย พบว่า ดนตรีช่วยลดอาการเจ็บปวดทางด้านร่างกาย ผู้ป่วยที่ฟังเพลงก่อน และหลังการผ่าตัดมีอาการเจ็บปวดที่แผลน้อยกว่า และมีอาการตื่นตระหนกน้อยกว่า ผู้ป่วยที่ไม่ได้ฟังเพลง นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ฟังเพลงยังมีการใช้ยาแก้ปวด น้อยกว่า ผู้ป่วยที่ไม่ได้ฟังเพลงอีกด้วย และผู้ป่วยที่เลือกเพลงเอง มีผลต่ออาการเจ็บปวดที่ดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เลือกเพลงเอง
7.เพลิดเพลินไปกับการออกกำลังกาย
การเปิดเพลงกระตุ้น เป็นเทคนิคเล็ก ๆ ที่ทำให้เพลิดเพลินกับการออกกำลังกายมากขึ้น การจดจ่อกับท่าบริหารต่าง ๆ มากเกินไป จะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้ากว่าเดิม จนเกิดเป็นความเครียด และเจ็บปวดกล้ามเนื้อได้ การฟังดนตรีสนุก ๆ ช่วยกระตุ้นให้อยากออกกำลังกายได้ดีขึ้น
8.ช่วยลดโรคซึมเศร้า
อิทธิพลของดนตรีที่ได้รับการยืนยันว่า มีผลกระทบต่อร่างกายของเรา นักบําบัดจึงเลือกจังหวะท่วงทำนอง และเครื่องดนตรีที่ช่วยให้ผู้ป่วยแสดงความรู้สึกออกมา การใช้เพลง และพูดคุยบําบัด เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนโดพามีนออกมา ทำให้ผู้ป่วยลดอาการวิตกกังวล และซึมเศร้าได้ โดยปกติแล้วนักบําบัดจะเลือกชุดเพลงหลายชุดที่มีการปรับแต่งสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย และยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเคลื่อนไหว การออกกําลังกาย ช่วยหลีกเลี่ยงภาวะซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี การบําบัดแบบนี้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสาร และมีส่วนร่วมในกิจกรรม ทำให้ลดความเครียดลงได้