คดีรถใหญ่ชนรถเล็ก ก็ไม่แน่ว่าจำเลยจะแพ้เสมอไป
ประมาทร่วม คำที่ได้ยินบ่อย ๆ ซึ่งมักจะพบได้ในกรณีรถยนต์ชน ประมาทร่วม คือ เหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความประมาทของทั้งสองฝ่าย จนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น กล่าวคือ“ต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน” แปลตรงตัวได้ว่าทั้งคู่มีความประมาทจนกลายเป็นชนวนให้เกิดอุบัติเหตุ จึงต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งคู่ แต่การประมาทร่วม ไม่ได้บัญญัติอยู่ในข้อกฎหมาย เพราะถ้าหากมีการใช้คำว่า “ร่วม”
จะต้องเกิดจากการะกระทำโดย “เจตนา” ของทั้งสองฝ่ายทำ
คดีละเมิดรถชน ต่างฝ่ายต่างต่อสู้ว่า อีกฝ่ายมีส่วนประมาทด้วย หากศาลรับฟังข้อเท็จจริงว่า ฝ่ายโจทก์มีส่วนประมาทด้วย จะมีผลต่อค่าสินไหมทดแทนที่ฝ่ายโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากฝ่ายจำเลยแค่ไหน เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๘๐/๒๕๔๘, ๖๙๖๔/๒๕๖๑ วางหลักว่า ศาลรับฟังข้อเท็จจริงว่าฝ่ายโจทก์กับฝ่ายจำเลยต่างฝ่ายต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โจทก์จะเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ต้องพิพากษายกฟ้อง
เนื่องจากพิสูจน์ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ซึ่งหมายถึง แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายในทางอาญาก็ไม่สามารถใช้สิทธิความเป็นผู้เสียหายดำเนินการกับบุคคลที่ก่อความเสียหายแก่ตน ถือหลักบุคคลที่จะถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยนั้นจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด มีอยู่ด้วย ไม่ว่าในฐานะตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนหรือมีส่วนประมาทด้วย
+++_________________________________________+++
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ