การตรวจ ABI เพื่อตรวจหาโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน รู้เร็ว รักษาได้เร็ว
ตรวจ ABI เป็นการตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแเดง โดยใช้เทคโนโลยีที่จะช่วยตรวจหาภาวะโรคหลอดเลือดตีบตัน
เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยหาภาวะหลอดเลือดแข็งตัว อย่างการตรวจ ABI เพื่อหาสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ซึ่งการตรวจ ABI จะเป็นตัวชี้วัดหาค่าสัดส่วนแปรผลเลือดจากการวัดความดันที่ขาและแขน เพื่อให้คุณรู้ทันโรคดังกล่าว การตรวจ ABI จึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณตรวจหาโรค พร้อมหาวิธีรักษาในลำดับต่อไป ซึ่งในบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการตรวจ ABI คืออะไร ใครบ้างที่ควรเข้าตรวจ ABI พร้อมบอกวิธีการเตรียมตัวก่อนและหลังการเข้าตรวจ จะมีเรื่องอะไรที่เราควรรู้บ้างเราไปดูกันเลย
ทำความรู้จักกับโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
โรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ หมายถึงโรคที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ทำให้หลอดเลือดตีบตัน
มีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอก่อให้เกิดอาการขาดเลือดไปที่ขา ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจาก ที่ผนังของหลอดเลือดแดงมีหินปูนพอกตัวหนาขึ้น หรือมีแผ่นไขมัน โดยผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ อาจมีอาการอึดอัดหรือปวดขาขณะเดิน เนื่องจากเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ
และนอกจากนี้โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ อาจจะเป็นสัญญาณที่กำลังบอกว่า มีการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสิ่งที่กีดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจและสมอง ดังนั้นจึงมีเทคโนโลยีอย่างการตรวจ ABI เข้ามาช่วยหาภาวะดังกล่าว เป็นการตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั่วร่างกาย ลักษณะของการตรวจ ABI ทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว มีความคล้ายกับการตรวจวัดความดันโลหิตทั่ว ๆ ไป และไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้นแต่อย่างใด
ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจ ABI
สำหรับการตรวจ ABI นั้นมีใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ เพื่อเป็นการหาวิธีรักษาให้ได้อย่างทันถ่วงที มาดูกันว่ากลุ่มคนประเภทไหนที่ควรได้รับการตรวจ ABI บ้าง
- กลุ่มคนที่ควรได้รับการตรวจ ABI คือ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีประวัติสูบบุหรี่มานาน
- กลุ่มคนที่ควรได้รับการตรวจ ABI คือ คนที่มีภาวะอ้วน ความดันโลหิตสูง ภาวะคอเลสเตอรอลสูง ที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
- กลุ่มคนที่ควรได้รับการตรวจ ABI คือ คนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง
- กลุ่มคนที่ควรได้รับการตรวจ ABI คือ คนที่มาอายุมากกว่า 60 ปี
การดูแลตัวก่อน-หลังตรวจ ABI ควรเตรียมตัวอย่างไร
ก่อนที่คุณจะเข้ารับการตรวจ ABI มีสิ่งที่คุณควรรู้และควรปฏิบัติตาม ในการเตรียมตัวก่อน และหลัง เพื่อให้การตรวจนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณควรปฏิบัติตัว ดังนี้
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
- ก่อนตรวจ ABI ควรงดออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ
- ก่อนการตรวจ ABI ควรงดสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- หากคุณเคยได้รับการรักษาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ขามาก่อน ให้แจ้งกับแพทย์ให้ทราบ
- เมื่อถึงวันตรวจ ABI ให้สวมใส่เสื้อที่โปร่งและสบายตัว เพื่อให้แพทย์สามารถเจาะเลือดได้สะดวก
การเตรียมตัวหลังตรวจ
- หลังจากการตรวจด้วยเครื่อง ABI แล้ว แพทย์จะให้คุณพัก 15-30 นาที หลังจากนั้นก็สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ
- หลังจากการตรวจหากพบอาการผิดปกติ เช่น ปวด ๆ บริเวณที่ทำการเจาะเลือด หรืออาการผิดปกติอื่น ๆ ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที
การวินิจฉัยผลตรวจ ABI เบื้องต้น และ วิธีการอ่านค่า ABI Index
เมื่อคุณได้รับการตรวจ ABI เสร็จแล้ว แพทย์จะทำการวินิจฉัยค่าที่แปรผลได้จากเครื่องตรวจ ABI ซึ่งจะแสดงเป็นค่าปกติและค่าผิดปกติ โดยนำเอา ค่า ABI index มาคำนวณหาสัดส่วนของค่าแปรผลเลือดจากเครื่อง ABI โดยใช้ความดันซิสโตลิก (Systolic) เป็นค่าตัวบนของแขน และวัดความดันไดแอสโตลิก (Diastolic) เป็นค่าตัวล่างของขา แล้วนำผลทั้งสองข้างมาเทียบค่าผลการตรวจ ABI อยู่ในเกณฑ์ระดับไหน
ตัวอย่างเช่น ABI Index ในการวัดความดันแขนมีค่า 120 และค่าที่ได้จากการวัดความดันเส้นเลือดที่ขา 120 นำมาคำนวณหาสัดส่วนได้120/120 = 1 เป็นตัวเลขที่ถือว่าอยู่ใน เกณฑ์ปกติ ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำตัวเลขมาเทียบได้ ดังนี้
- มากกว่า 0.9 คืออยู่ในเกณฑ์ปกติ
- น้อยกว่า 0.90 ถือว่ามีการตีบในเส้นเลือดที่ขา
- น้อยกว่า 0.6 มีการตีบของหลอดเลือดและมีอาการขาดเลือดที่ขา
- น้อยกว่า 0.5 มีการตีบของหลอดเลือดที่ขาที่มีหลายระดับ ดังนี้ ค่าน้อยกว่า 0.3 มีการตีบของหลอดเลือดที่ขาขั้นรุนแรง , ค่าน้อยกว่า 0.26 มีอาการปวดขาจากอาการเส้นเลือดตีบ และ ค่าน้อยกว่า 0.2 เซลล์ในเนื้อเยื่อบริเวณช่วงขาและกล้ามเนื้อมีการตายเนื่องจากเส้นเลือดตีบ
ภาวะของโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โดยตัวโรคที่เป็นแบบเรื้อรังค่อยเป็นค่อยไป จึงทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกิดการเพิกเฉยไม่ไปตรวจ ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรได้รับการตรวจประเมินการไหลเวียนของเลือด เพื่อหาวิธีการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
สรุปการตรวจ ABI ตรวจภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
หากคุณอยู่ในกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ก็ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ ABI เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันถ่วงที โดยสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคดังกล่าวอาจมาจากอายุที่มากขึ้น พันธุกรรม พฤติกรรมของผู้ป่วย และเพื่อการหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น การตรวจ ABI ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยเพิ่มการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น