“Fauxductivity” ภาวะทำงานปลอม ๆ เพราะสังคมมันปลอม
“Fauxductivity” มากจากคำว่า “Fake productivity” หมายถึง การแสร้งทำเหมือนว่ามีประสิทธิภาพในที่ทำงาน พฤติกรรมนี้มักเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เป็นพิษ (Toxic workplace) โดยปัญหาไม่ได้อยู่ที่บุคคลโดยตรง แต่เกี่ยวข้องกับระบบงานที่ไม่เอื้อต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ขาดความไว้วางใจระหว่างพนักงาน หรือเกิดจากโครงสร้างองค์กรที่มีปัญหาทั้งในภาครัฐและเอกชน
“Fauxductivity” เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบ "always-on" ที่เน้นการทำงานตลอดเวลาจนอาจทำให้เกิดความกดดันและความเครียดสะสม ยกตัวอย่างเช่น ปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเกิดการลดจำนวนพนักงาน (Lay Off) ทั่วทั้งองค์กร เวลางานรบกวนชีวิตส่วนตัว ค่าแรงที่ตอบแทนไม่คุ้ม
สิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานไม่มีความสุขในการทำงาน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่พร้อมที่จะลาออก เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ผันผวนสูง ตลาดงานซบเซา หางานยาก เสี่ยงตกงานระยะยาว พวกเขาจึงต้องฝืนใจทำงานต่อไป และหาทางอยู่รอดในโลกการทำงานที่ไม่มีความสุขดังกล่าว ด้วยการหลีกหนีหรือแยกตัวออกจากงาน เฉยเมย ไม่สนใจ ไม่มีส่วนร่วมในงาน ทำงานเฉพาะในหน้าที่หรือทำแค่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
พฤติกรรม 'Fauxductivity' อาจแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น 'Coffee Badging' การเข้าออฟฟิศเพียงเพื่อดื่มกาแฟและพูดคุยสั้นๆ ก่อนกลับบ้าน 'Quiet Quitting' การทำงานแบบขอไปที หรือ 'Mouse Jigglers' การใช้โปรแกรมเพื่อทำให้ดูเหมือนออนไลน์ทำงานอยู่ตลอดเวลา พฤติกรรมเหล่านี้นอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมขององค์กรแล้ว ยังส่งผลเสียต่อตัวพนักงานเองในระยะยาว เช่น ความเครียด ความกดดัน และความรู้สึกหมดไฟในการทำงาน
พนักงานเลยตอบโต้ด้วยการแสร้งทำงานปลอมๆ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมการทำงานที่เรียกว่า “Fauxductivity” หรือ “Fake productivity” นั่นคือการแสร้งทำเหมือนว่างานยุ่งหรือทำเหมือนว่าตนเองทำงานตลอดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหลอกเครื่องมือติดตามเหล่านั้น และเมินเฉยที่จะมุ่งมั่นทำงานอย่างสร้างสรรค์ เพราะมองว่าแค่แสร้งทำงานให้ระบบตรวจสอบได้ก็เพียงพอแล้ว
*** เชื่อว่าคนทำงานทุกคนต้องเคยเจอสภาพคนรอบข้างปลอมใส่ องค์กรปลอมใส่ แล้วความจริงใจล่ะมีบ้างมั๊ย ***
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ