เตรียมตัวอย่างไร เมื่อเข้าสู่ "ฤดูหนาว"
เตรียมตัวอย่างไร เมื่อเข้าสู่ "ฤดูหนาว"
เตรียมโบกมือลาหน้าฝน กรมอุตุนิยมวิทยา เผยฤดูหนาวปี 2567 เริ่มปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ตุลาคม 2567 คาดปีนี้หนาวเย็นกว่าปี 2566 ฉะนั้น เราควรต้องเตรียมพร้อม รับมือกับฤดูที่ไข้หวัดใหญ่ระบาดมากที่สุด หรือไม่อย่างไร
จาก หนังสือ 100 วิธี รับมือ โรคหวัด เขียนโดย แพทย์และนักโภชนาการ 3 ท่าน นพ.หลินอิงชิน นพ.เหยียนจื้อเฉิง และโภชนากรเฉินเหวินฮุ่น และแปลโดย เรืองชัย รักศรีอักษ ได้แนะว่า เมื่อถึงฤดูหนาว ผู้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ควรรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ฤดูหนาวเป็นฤดูที่ไข้หวัดใหญ่ระบาดมากที่สุดในรอบปี ทั้งนี้เพราะ อากาศหนาวทำให้ทางเดินหายใจอ่อนแอ และเชื้อไวรัสแพร่พันธุ์ได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ
ประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นอยู่กับชนิดของสายพันธุ์ เชื้อไวรัสของวัคซีนในปีนั้นว่า ตรงกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่ระบาดอยู่หรือไม่ สำหรับผู้ใหญ่ที่สุขภาพแข็งแรง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ผลในการป้องกัน 70-90% สำหรับผู้สูงอายุได้ผล 30-50% สามารถลดอัตราการเสียชีวิต 80% และสำหรับเด็กยังลดอัตราเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย
วิธีรับวัดซีนไข้หวัดใหญ่
วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ราว 1-2 ปี แต่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ มักจะกลายพันธุ์ จึงจำเป็นต้องรับวัคซีนทุกปี
ระบบภูมิคุ้มกันต้องใช้เวลาราว 2 สัปดาห์ ร่างกายจึงจะสร้างแอนติบอดีต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นได้ จึงควรรับวัคซีนก่อนเข้าสู่ฤดูระบาดราว 2 สัปดาห์ สำหรับเด็กที่รับวัดซีนเป็นครั้งแรกต้องรับ 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 เดือนขึ้นไป
วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีผลข้างเคียงหรือไม่
ภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับวัดซีนไข้หวัดใหญ่ บางคนจะมีปฏิกิริยาเล็กน้อย เช่น ปวดและบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ อ่อนเพลีย ฯลฯ โดยทั่วไปอาการจะหายไปเองในเวลา 1-2 วัน ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงพบน้อยมาก
รับวัคซีนแล้วทำไมจึงยังเป็นหวัด
เนื่องจากมีไวรัสชนิดอื่นที่ทำให้เป็นหวัดได้ เช่น อะดีโนไวรัส รีโนไวรัส วัดซีนไข้หวัดใหญ่มีผลเฉพาะต่อไวรัสสายพันธุ์เดียวกับวัคซีนเท่านั้น
ป.ล. เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ที่
https://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: หนังสือ 100 วิธี รับมือ โรคหวัด เขียนโดย แพทย์และนักโภชนาการ 3 ท่าน นพ.หลินอิงชิน นพ.เหยียนจื้อเฉิง และโภชนากรเฉินเหวินฮุ่น และแปลโดย เรืองชัย รักศรีอักษ