การทำงานของหงอก ผมหงอกก่อนวัย
เส้นผมไม่ได้เป็นแค่ความสวยงามหรือบ่งบอกว่าเราสุขภาพดีเท่านั้น แต่เส้นผมยังสามารถช่วยปกป้องเราจากแสงแดด ฝุ่นละออง รวมไปถึงเเมลงต่างๆอีกด้วย
รู้ไหมว่า... รากผมของเรามีมากสุดคือช่วงเเรกเกิดแต่เมื่อเราอายุมากขึ้นรากผมก็จะค่อยๆลดลงไป
การสร้างตัวของเส้นผม
เส้นผมของเราสร้างมาจาก ''เซลล์รากผม'' ซึ่งจะอยู่ลึกลงไปประมาณ 1-2 มิลลิเมตรจากหนังศรีษะ ในบริเวณรากผมจะมีเซลล์สร้างเม็ดสีซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละเชื้อชาติโดยที่ชาวเอเชีย จะมีผมสีดำ น้ำตาลเข้มเพราะมีเม็ดสีที่ชื่อว่า ยูเมลานิน (Eumelanin) ส่วนคนที่มีผมสีทองจะมีเม็ดสีที่ชื่อว่า ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งเซลล์สร้างเม็ดสีเหล่านี้ก็เหมือนเซลล์ร่างกายที่มีการเสื่อม ทำงานช้าลง หรือตายไป จึงเกิดภาวะที่เรียกว่า...ผมหงอก นั่นเอง
สาเหตุที่เร่งให้เกิดผมหงอก
นอกจากธรรมชาติของเส้นผมเเล้วยังมีหลายสาเหตุที่ทำให้ผมหงอกเกิดเร็วกว่าวัยอันควร เช่น
• การดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
• เกิดความเครียดต่อเนื่อง
• การสูบบุหรี่
• โรคประจำตัว ได้เเก่ โรคไทรอยด์ชนิดเกรฟ (Graves disease) โรคผิวหนังอักเสบ (atopic dermatitis)ภาวะผิดปกติของภูมิต้านทาน
โรคโลหิตจางชนิดขาดวิตามิน B12 โรคไตเรื้อรัง โรคผิวหนังบางชนิด เช่น โรคด่างขาว
• ภาวะขาดสารอาหารรุนแรง ขาดโปรตีน ขาดธาตุเหล็กรุนแรง และภาวะขาดทองแดง
การที่เราเริ่มมีผมหงอกตั้งแต่อายุยังน้อยไม่ได้หมายความว่าเราจะมีผมหงอกเร็วทั่วศรีษะ บางคนมีผมหงอก 10-20เส้นอยู่จุดเดียวของศรีษะเเต่มีเพียงเท่านั้น เเต่อีกคนที่มีผมหงอกช้าเเต่มีการเกิดผมหงอกเร็วในเวลาที่สั้น
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาผมหงอกที่ปลอดภัยเเละได้ผลถาวร แต่มีการทดลองใช้ยาบางชนิดซึ่งเมื่อหยุดยาผมก็จะกลับมาหงอกเช่นเดิม
เรารู้สาเหตุของการเกิดผมหงอกกันเเล้ว ถ้าไม่อยากผมขาวก่อนวัยก็ หลีกเลี่ยง ปัจจัยดังกล่าวกันด้วยนะคะ😊