เล่นเกม ช่วยฝึกสมองให้ฉลาดขึ้นจริงหรือ?
หลายๆคน คงจะเคยได้ยินว่า เล่นเกมบ่อยๆไม่ดีนะ บางข่าว ก็ชอบ ยกว่าเกมคือต้นเหตุว่าความรุนแรงบ้าง แล้ว? เกมมันจะไม่มีข้อดีเลยเหรอ? ทำไมเกมมันมีข้อเสียไปหมด แต่เรายังเห็นเกมหลายๆเกม ผุดขึ้นมาเต็มเลย
โดยวันนี้เอง จะขอหยิบยกงานวิจัยงานนึง
"Action video game modifies visual selective attention" โดย Daphne Bavelier และทีมงาน (2008) ตีพิมพ์ในวารสาร Nature.
ในงานวิจัยนี้,
นักวิจัยได้ศึกษาผลของการเล่นเกมแอคชั่นต่อการปรับปรุงความสามารถในการมองเห็นรายละเอียดในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน
โดยเปรียบเทียบกลุ่มผู้เล่นเกมแอคชั่นกับกลุ่มที่ไม่เล่นเกม ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่เล่นเกมแอคชั่นมีความสามารถในการมองเห็นและเลือกจับความสนใจในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกมแอคชั่นสามารถส่งผลดีต่อการพัฒนาทักษะด้านการมองเห็นและการตอบสนองได้เร็วขึ้น
จะเห็นว่าเกมนั้นมีข้อดีจริงๆ สมองจะฝึกยังไง ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเล่นเกมอะไร? แนวไหน? เราก็จะได้ข้อดีที่แตกต่างกันไปอีก
แต่ใช่ว่า การเล่นเกม จะดีไปสะทีเดียว เราลองมาดูงานวิจัยอีกงานนึง ที่พูดถึงข้อเสียของเกมบ้าง
Karolinska Institute (2014) ซึ่งตีพิมพ์ใน JAMA Pediatrics. งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการเล่นเกมที่มีความรุนแรงและการใช้เวลาหน้าจอที่ยาวนานต่อสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น พบว่า การใช้เวลาหน้าจอที่ยาวนาน เช่น การเล่นวิดีโอเกม มีความสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น
การศึกษานี้เน้นถึงความสำคัญของการควบคุมเวลาการใช้หน้าจอและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเล่นเกมอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน้าจอเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตและอารมณ์ของเยาวชน
จะสังเกตว่า เกม เล่นมากเกินไป ก็สามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจได้เช่นกัน และยังส่งผลต่อทางกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเมื่อย จากการนั่งท่าเดิมๆ หูอื้อ จากการฟังเสียงเกมนานๆ
สรุปแล้ว การเล่นเกม ควรเล่นแต่พอดี ไม่ควรนานเกินไป ขอแนะนำว่า เล่นวันละ2-4ชม. ถือว่าพอดี ทั้งนี้ทั้งนั้น เวลาชีวิตของแต่ละคน มีภาระไม่เหมือนกัน ก็อาจจะไม่ตรงตามนี้ก็ได้ แต่ขอให้อย่าเกิน5ชม.ขึ้นไป ซึ่งนั่นเป็นการเสพติดการเล่นเกมที่มากเกินพอดี
ลองไปนำไปปรับกับชีวิตกันดู ขอให้เล่นเกมอย่างมีความสุข!!!!
อ้างอิงจาก: Action video game modifies visual selective attention" โดย Daphne Bavelier และทีมงาน (2008) ตีพิมพ์ในวารสาร Nature.
Karolinska Institute (2014) ซึ่งตีพิมพ์ใน JAMA Pediatrics.