หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

9 สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ

เนื้อหาโดย machete007

 

ก่อนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง เราต้องรู้ข้อเท็จจริงและเข้าใจในธุรกิจนั้น ๆ หลายคนอยากเป็นนายตัวเอง เพราะคิดว่าเราจะมีอิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น สบายกว่าทำงานประจำและมีรายรับที่มากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราจะต้องแลกมาด้วยความรับผิดชอบที่สูงกว่า ต้องคิด ต้องดิ้นรนมากกว่าการทำงานประจำ

 

การทำธุรกิจส่วนตัวจึงไม่ใช่ทางออกของคนรักสบาย ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีเจ้านาย แต่เราก็มีโอกาสสูงมากที่จะต้องง้อคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ซัพพลายเออร์ ธนาคาร หรือแม้กระทั่งลูกน้อง เพื่อ

ให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ธุรกิจส่วนตัวจึงเป็นทางเลือกของคนที่แสวงหาอิสรภาพในการใช้ชีวิตหรืออิสรภาพทางการเงิน โดยยินดีที่จะแลกกับการทำงานที่หนักกว่าคนทั่วไป แต่เป็นงานที่เราอยากทำ ทั้งหมดอยู่ที่เราเองว่าเราจะชอบแบบไหน

 

1.เป็นพนักงานที่เก่งไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่เก่งได้

ตอนที่เราเป็นพนักงาน เราอาจจะรับผิดชอบเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รู้สึกในเรื่องที่เรารับผิดชอบเรื่องเดียวก็เพียงพอ เพราะในระบบการทำงานจะมีหน่วยอื่นหรือแผนกอื่น ๆ มาช่วยซัปพอร์ต และทำงานต่อ

จากเราจนจบกระบวนการ แต่พอเราเป็นเจ้าของธุรกิจภาระหน้าที่ทุกอย่างจะเป็นของเราโดยทันที

หรือต่อให้เราเคยเป็นผู้บริหารบริษัทที่ช่วยบริษัทขยายธุรกิจ แต่การเอาเงินคนอื่น 5 ล้านบาทมาลงทุน กับการเอาเงินสด 5 ล้านบาทที่เก็บมาทั้งชีวิตของเราเองไปลงทุนก็ไม่เหมือนกัน

 

ฉะนั้น ไม่ได้การันตีว่า การเป็นพนักงานที่เก่งจะเป็นเจ้าของกิจการที่เก่งได้ พนักงานบางคนเก่งในการทำตามคำสั่ง ไม่ได้เก่งในการบริหาร หรือหาลูกค้า การเป็นเจ้าของกิจการจะต้องมีความเป็นผู้นำ ไม่ใช่แค่ผู้ปฏิบัติ

 

 

2.ธุรกิจที่ลงทุนน้อย ก็มีโอกาสสร้างรายได้น้อย และมีอายุสั้น

 

ถ้าเราเปิดร้านขนมที่เป็น Kiosk อยู่ตามปั๊มน้ำมัน แน่นอนว่าขนาดของร้านที่เล็ก โอกาสในการเก็บลูกค้าก็จะน้อยกว่าร้านที่มีขนาดใหญ่ โอกาสตั้งราคาสินค้าสูงจะมีน้อยกว่า เพราะลูกค้าไม่ได้ประสบการณ์อะไรเพิ่มเติมจากการมาใช้บริการ

 

ถ้าเราทำร้านกาแฟขนาดใหญ่มีเงินลงทุนสูง

พอลูกค้ามาแล้ว สัมผัสได้ว่าร้านเรามีบรรยากาศที่ดี ตลาดก็จะกว้างมากขึ้น โอกาสที่เราขายสินค้าราคาสูงก็มีมากขึ้น รายได้ก็มากขึ้น แต่แน่นอนว่าเวลาเจ็บตัวก็จะเจ็บตัวมากกว่าธุรกิจที่ลงทุนน้อยเช่นเดียวกัน

 

ร้านที่ลงทุนน้อยที่ใคร ๆ ก็สามารถลงทุนได้ บางทีคนที่มาลงทุนก็ไม่ได้คิดให้ละเอียดถี่ถ้วน พอเริ่มขาดทุนเขาก็สามารถตัดใจปิดธุรกิจไปได้ง่ายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดเล็ก

ด้วยแล้ว ที่ไม่ได้ทั้งทำแบรนด์เอง คิดสูตรเอง พอยิ่งเริ่มต้นได้ง่าย โอกาสที่จะออกจากธุรกิจก็ง่ายไปด้วย

 

โดยทั่วไปร้านที่มีขนาดเล็กลูกค้าจะไม่ได้ติดแบรนด์ แต่จะเอาความสะดวกเป็นหลัก ฉะนั้น จึงยากที่ร้านแบบนี้จะอยู่ได้ด้วยลูกค้าประจำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การเริ่มต้นการทำธุรกิจเล็ก ๆ

จะไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จเลย เพราะเราก็คงเคยเห็นหลายธุรกิจที่เติบโตในปัจจุบัน ก็เริ่มต้นจากร้านเล็ก ๆ แล้วค่อยๆ สร้างฐานลูกค้าจนขยายเป็นธุรกิจที่ใหญ่โต แต่นั่นหมายถึง เราจะต้องมี

จุดขายที่ชัดเจนมีการสร้างแบรนด์ที่น่าจดจำ และมีการรักษาลูกค้าเก่าให้ได้มากที่สุด เราถึงจะสามารถไปถึงจุดนั้นได้

 

 

3.อย่าเลือกธุรกิจที่ใครบอกว่าดี แต่ให้เลือกธุรกิจที่เราชอบ และมีความรู้เรื่องนั้นจริง ๆ ทุกธุรกิจมีเทรนด์ของมัน ถ้าเราทำตามเทรนด์หรือกระแสที่

กำลังเป็นขาขึ้น แน่นอนว่าเราย่อมที่จะขายได้ แต่ต้องถามตัวเองก่อนว่าในวันที่เทรนด์หมด ลูกค้าลดน้อยลง เรายังจะมีแรง หรือมีใจทำอยู่หรือเปล่า

 

ทุกธุรกิจที่มีคนบอกว่าดีหรือไม่ดี มันจะมีคนอยู่ได้เสมอ ซึ่งคนที่อยู่ได้มักจะเป็นคนที่รู้จริง และเข้าใจในธุรกิจนั้นจริง ๆ ฉะนั้น ถ้าเราจะทำธุรกิจอะไร อย่าดูกระแสอย่างเดียว ต้องดูว่าเรารัก และเรารู้จริงในธุรกิจนั้นหรือเปล่า ถ้าธุรกิจที่เราชอบ และเรามีความรู้เรื่องนั้นจริง ๆ เป็นธุรกิจที่คนอื่นบอกว่าดี ตอนนี้มันอาจเป็นกระแส แต่ในอนาคตมันจะอาจ

ตกลงเราจึงควรจะวางโมเดลธุรกิจให้มี Fixed Costs ที่ไม่มาก วางโครงสร้างธุรกิจเพื่อในวันที่ยอดขายตกไว้ด้วย เพราะต่อให้ยอดขายตกเราก็ยังอยู่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ

 

4.ระบบคือสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง

ช่วง 1-3 ปีแรกที่เราเริ่มธุรกิจ เราคงมีแรงในการเฝ้าธุรกิจทุกวัน ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เข้ามาก็ดูเป็นเรื่องสนุก ท้าทาย แต่อยากให้เราลองจินตนาการภาพของตัวเองว่า เราจะสามารถอยู่ในธุรกิจนี้ไปได้

นานแค่ไหน เราโอเคกับการอยู่เฝ้าร้านในทุก ๆ วันหรือไม่ หรือวันที่ไฟในการทำธุรกิจเราหมด วันที่เราได้ทำทุกอย่างที่อยากทำแล้ว เราจะยังอยากทำธุรกิจนี้อยู่หรือไม่ ถ้าใช่ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเราตอบตัวเองได้ชัดว่าไม่ เรายังอยากไปทำอย่างอื่นด้วย สิ่งที่เราต้องทำคือ การวางระบบและสร้างทีมงานให้สามารถบริหารธุรกิจแทนเรา โดยเราไม่จำเป็นต้องทำเองได้ ต่อให้ธุรกิจในปัจจุบันจะมีอายุที่สั้นลงเรื่อย ๆ แต่ก็คงไม่มีใครที่คิดจะทำธุรกิจเพียงปี สองปี แล้วไปเริ่มธุรกิจใหม่แน่นอน

เพราะนั่นเท่ากับเราต้องเสียเงินลงทุนใหม่ เรียนรู้ธุรกิจใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ

 

 

5.อย่าลงเงินทั้งหมดที่มีกับธุรกิจ ให้เผื่อก๊อกสองไว้ด้วย

ในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจ ไม่แนะนำให้ลงเงินทั้งหมดที่มีไปกับธุรกิจ เพราะเราเองก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราทำจะสร้างผลกำไรได้ตั้งแต่เดือนแรกที่ทำเลยหรือเปล่า แถมประสบการณ์ในธุรกิจเราก็ไม่มีอีก

 

ถ้าเราใช้เงินทั้งหมดที่เรามีไปกับการเริ่มต้น แล้วปรากฏว่าไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิด อาจทำให้เราต้องออกไปจากธุรกิจ ทั้งที่เรายังอยากสู้ต่อ แต่ก็ไม่ได้อยากให้ไปกู้หนี้ยืมสินจากใครมาลงทุนด้วยเช่นกัน หากเราไม่มีประสบการณ์ในธุรกิจนั้นมาก่อน

แล้วเราจะทำยังไงได้ล่ะ

สมมุติถ้าวันนี้เรามีเงินเก็บ 100 บาท ถ้าจะเอามาลงทุนทำธุรกิจ อาจเอามาลงทุนไม่เกิน 60 บาท เผื่อวันหนึ่งหากธุรกิจไม่เป็นอย่างที่คิด เราก็ยังมีเงินเหลืออีก 40 บาทในการลงทุนเพิ่มหรือสามารถเอาไปเริ่มต้นธุรกิจใหม่ได้

เราอาจจะคิดว่า....ถ้าเริ่มด้วยเงินน้อยแบบนี้ธุรกิจก็จะไม่โตสิ แต่อยากให้เราลองคิดว่า เริ่มต้นเล็ก ๆ แล้วค่อย ๆ เติบโตที่ละนิดดีกว่าเริ่มต้นใหญ่ แล้วเวลาล้ม มันจะล้มดัง

 

6.ต่อให้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์เราก็ต้องลงไปดูธุรกิจเองด้วย

การซื้อแฟรนไชส์ ไม่ได้หมายถึงการซื้อความสำเร็จโดยไม่ต้องทำอะไรเลย แต่คือการซื้อวิธีการทำธุรกิจที่เคยมีคนทำสำเร็จมาแล้วมาทำต่อ โดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์เอง

ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ธุรกิจเลือกขยายสาขาในรูปแบบของแฟรนไชส์ ก็เพราะเจ้าของแบรนด์ไม่มีทางเข้าใจลูกค้าได้ในทุกทำเล แต่ละสาขาก็มีกลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน มีพฤติกรรมที่ต่างกันพอเป็นแบบนั้น ไม่มีทางที่เจ้าของแบรนด์หรือ Franchisor จะลงมาทำแทนเราทุกอย่าง หน้าที่ของ Franchisor จะมีหน้าที่แนะนำรูปแบบการบริหารจัดการ แนะนำการขาย การทำการตลาด แต่คนทำทั้งหมดก็ยังต้องเป็นเราอยู่ดี ถ้าเราคิดว่าจะจ้างพนักงานมา

ทำแทนเราทั้งหมด โดยที่ไม่คิดลงมาดูธุรกิจเอง เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าลูกค้าของเราเป็นใครกันแน่ สิ่งที่เราคิดไว้ก่อนเริ่มต้นจะเป็นไปตามนั้นทั้งหมดหรือเปล่า สินค้าที่เราคิดว่าจะขายดี ถึงเวลาลูกค้าให้การตอบรับดีจริงมั้ย

เมื่อไหร่ที่เราไม่รู้ความต้องการแท้จริงของลูกค้า ไม่รู้ว่าปัญหาธุรกิจที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุอะไร เราก็จะไม่สามารถนำข้อผิดพลาดไปพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการของเราให้ดีขึ้นได้เลย

 

 

7.ไม่มีธุรกิจไหนดีที่สุด มีแต่เหมาะหรือไม่เหมาะกับเรา

เราต้องดูว่าเราชอบธุรกิจที่กำลังจะทำหรือเปล่า เราอยู่กับมันได้นานแค่ไหน ไม่มีหรอกที่บอกว่าร้านสะดวกซักเหมาะกับทุกคน ถ้าเราเป็นคนชอบทำธุรกิจแบบ Active คือชอบคิดอะไรใหม่ ๆ ชอบทำการตลาดเชิงรุก ชอบธุรกิจที่เสี่ยงสูง ได้รับผลตอบแทนที่สูง ผลตอบแทนจากร้านสะดวกซักอาจไม่มากพอที่เราจะสนใจ แต่ถ้าเรามีธุรกิจอื่นอยู่ หรือมีทำเลที่ไม่ได้คิดจะทำอะไร แล้วไม่ต้องการผลตอบแทนมาก ธุรกิจร้านสะดวกซักอาจจะตอบโจทย์ก็ได้ มันไม่ใช่ว่าธุรกิจไหนดี หรือไม่ดีกว่ากัน

ขึ้นอยู่กับว่าเราชอบไหม เราพอใจกับผลตอบแทนหรือเปล่า ถ้าตอนแรกเราคิดว่าธุรกิจนี้น่าจะเหมาะกับเรา แต่พอทำไปแล้วพบว่ามันไม่ใช่ ถ้าอยากทำต่อก็ต้องปรับตัว แล้ววางระบบไป

หลายคนที่ทำธุรกิจก็ไม่ได้รู้สึกว่าเหมาะกับตัวเอง บางคนรับธุรกิจที่บ้านมาทำต่อ ก็วางระบบให้ธุรกิจเดินหน้าไปต่อได้ แล้วค่อยไปหาความชอบจากการหางานอย่างอื่นแทน ไม่จำเป็นจะต้องทำธุรกิจที่เรารักเสมอไป

 

8.อย่าคิดว่าธุรกิจดี จะอยู่ที่ทำเลไหนก็ได้

เรื่องนี้ไม่จริง เพราะลูกค้ามีทางเลือกอยู่หลายทาง

ถ้าถามว่า อยู่ในทำเลไม่ดีแล้วมีโอกาสที่ลูกค้ามาใช้บริการไหม เพราะในตลาดมีของทดแทนให้เลือกอยู่มากมาย วันนี้เราอาจเป็นธุรกิจใหม่ ตอบได้เลยว่า “มี” แต่อย่าลืมว่าถ้าลูกค้ามาแล้วลำบาก เขาก็จะไม่อยากมาบ่อย

ที่ใคร ๆ ก็อยากมาใช้บริการ แต่พอเปิดไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง ลูกค้ามีโอกาสได้มาลองหมดแล้ว วันนั้นเราก็จะเหมือนคนที่น่าเบื่อไม่มีอะไรแปลกใหม่

ฉะนั้นการที่เป็นคนมีเสน่ห์มีแรงดึงดูดมันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีตลอดไปมันจะเป็นแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น การเลือกทำเลที่เหมาะสม

กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เหมาะสมกับเงินที่เรามี ก็จะทำให้เราสามารถยืนระยะได้ยาวมากยิ่งขึ้น

 

 

9.ธุรกิจก็เหมือนหุ้น มีทั้งช่วงขึ้นและลง ไม่มีธุรกิจไหนที่ขายดีตลอดไป

มันจะมีช่วงจังหวะของธุรกิจ มีช่วงธุรกิจขาขึ้น ที่ไม่ว่าจะออกอะไรมาก็ขายได้เพราะธุรกิจกำลังอยู่ในกระแส ในขณะเดียวกันก็มีขาลง มีช่วงที่เทรนด์หรือพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป ดังนั้น เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอในยามที่ธุรกิจเราอยู่ในช่วงขาลงหรือไม่เป็นอย่างที่เราคิด เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจต้องเตรียมเงินทุนไว้ด้วย และสิ่งที่ดีที่สุดก็คือ เมื่อเราเห็นสัญญาณว่าธุรกิจเราเริ่มเป็นขาลงแล้ว เราต้องรีบปรับตัว อาจจะปรับรูปแบบบางอย่างของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจเรากลับมาเป็นขาขึ้นเหมือนเดิม หรือถ้าเรารู้ว่าธุรกิจที่เราทำอยู่กำลังจะหมดกระแสหรือหมดเทรนด์ บางครั้งอาจต้องเตรียมหาธุรกิจใหม่ทำไว้รอล่วงหน้า

เนื้อหาโดย: machete007
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
machete007's profile


โพสท์โดย: machete007
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: machete007
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นางเอกดังสุดเศร้า กับการสูญเสียครั้งใหญ่ โพสต์อาลัยรักสุดหัวใจเลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.4" งวดวันที่ 1 ธันวาคม 25675 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้นอีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"ตำรวจ ตามรวบจนครบ 3 โจ๋เหิมเกริม ใช้มีดฟันคู่อริ กลางสถานี BTS
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ลิลลี่ เหงียน" สวนกลับ "ปู มัณฑนา"..อย่าลืมเอาเงินมาคืนกะxsี่ผู้มีพระคุณด้วยเงินดิจิทัลเฟส 3 คนทั่วไป เงินเข้าเมื่อไหร่ ได้เงินสดไหม วิธีเช็กสถานะทางรัฐอีกมุมของ "ยายสา" ตำนานแม่มดแห่งสมิหลา กับความลึกลับที่ไม่มีใครกล้าท้าทาย"หวังเซียนเฉา นักการทูตผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ถัง‘ขนม ศศิกานต์’ เลิก ‘ครูเต้ย อภิวัฒน์’ ทั้งที่เพิ่งคลอดลูก คนที่ 2 จากกันด้วยดี ไม่มีมือที่ 3
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ปริศนาในภาพเขียน Salvator Mundi โดย Leonardo da Vinciแม้รวยเท่าใดอย่างไรก้ต้องเกิดตายไม่สิ้นสุด จะหยุดได้ก็เพียงด้วยยอดแห่งบุญ"ตารางลดน้ำหนัก" ฉบับกินยังไงก็ผอม5 เทคนิคเพิ่ม Productivity ที่ช่วยให้คุณทำงานสำเร็จเร็วขึ้น
ตั้งกระทู้ใหม่