ฟู่เหิง ยอดทหาร-นักปกครองแห่งกองธงเหลืองขลิบ ราชวงศ์ชิง
ฟู่เหิง ยอดทหาร-นักปกครองแห่งกองธงเหลืองขลิบ ราชวงศ์ชิง
🔹ฟู่เหิง (傅恒) เป็นยอดนักการทหารและนักปกครองแห่งกองธงขลิบเหลือง ซึ่งเป็นกองธงที่สำคัญแห่งราชวงค์ชิงที่ขึ้นตรงต่อองค์จักรพรรดิ
🔹ฟู่เหิงยังมีอีกฐานะหนึ่งเป็นน้องชายของ จักรพรรดินีเสี้ยวเสียนฉุน(孝賢純เป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกในจักรพรรดิเฉียนหลง)
🔹ซึ่งจักรพรรดิเฉียนหลงทรงโปรดปรานฟู่เหิงผู้นี้มากทั้งเรื่องสติปัญญาและความรอบคอบในการทำงาน โดยจักรพรรดิเฉียนหลงมักจะทรงปรึกษาเขาก่อนตัดสินใจในหลายๆเรื่อง
🔹ซึ่งฟู่เหิงเองก็ไม่ทำให้พระองค์ผิดหวังเลยไม่ว่าจะเรื่องการเมืองหรือการทหาร
🔸 จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดปรานเขาถึงขนาดยกย่องว่าเป็นเหมือนน้องชายอีกคนหนึ่ง เเละอีกสิ่งที่แสดงถึงความใส่ใจในตัวฟู่เหิง คือการแต่งตั้งลูกชายของเขาอย่าง ฝูคังอัน(福康安) ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น "กู้ซานเป้ยจื่อ" เปรียบเสมือนโอรสบุญธรรมอีกคนของพระองค์
🐉จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตของฟู่เหิง🐉
🔸ในช่วง สงครามจีน-พม่า ซึ่งจักรวรรดิชิงต้องพ่ายแพ้พม่าไปแล้วถึง 3 ครั้ง
📌สงครามจีน–พม่า หรือ การบุกพม่าของราชวงศ์ชิง หรือเรียก การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง ก็ได้ครับ เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างราชวงศ์ชิงของจีนและราชวงศ์โก้นบองของพม่า
🔸ซึ่งจีนภายใต้จักรพรรดิเฉียนหลงเปิดการรุกรานพม่า 4 ครั้งระหว่างปี ค.ศ 1765 ถึง ค.ศ. 1769 กินระยะเวลาร่วม 4 ปี เเละซึ่งถือเป็น 1 ใน 10 การทัพใหญ่ของจักรพรรดิเฉียนหลง ครับ
🔸การศึกครั้งนี้ของพม่าอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้ามังระ ราชวงศ์โก้นบอง
..............................................................................
🔸หลังจากการบุกครั้งที่ 3 ด้วยความพ่ายแพ้ของจักรวรรดิชิง ทำให้หมิงรุ่ยเลือกที่จะจบชีวิตตนอย่างมีเกียรติในแผ่นดินอังวะ เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงทราบข่าว จึงทรงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่งต่อความพ่ายแพ้ของหมิงรุ่ยยอดแม่ทัพแห่งราชวงศ์ชิง
🔸ซึ่งครั้งที่ 4 นี้พระองค์ทรงเรียก
- ฟู่เหิงนักการทหารผู้ยิ่งใหญ่แห่งต้าชิง กลับมารับตำแหน่งผู้บัญชาการ
- เสนาบดีกลาโหมอากุ้ย แม่ทัพใหญ่อาหลีกุน
- เอ้อหนิงข้าหลวงใหญ่แห่งยูนานและกุ้ยโจว
🔸เเละทำพิธีส่งกองทัพนี้อย่างยิ่งใหญ่ต่อหน้าพระบรมวงศานุวงศ์แห่งต้าชิงด้วยพระองค์เอง
🔸ซึ่งล้วนแต่เจนจบในพิชัยสงครามให้มารวมตัวกันเพื่อหวังพิชิตพม่าเป็นครั้งที่ 4 โดยคุมกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงศ์ชิงอย่างแปดกองธงมาเพื่อจะสยบพระเจ้ามังระให้ได้ (เป็นทหารแปดกองธงและมองโกล ประมาณสี่หมื่นนาย, ทัพฮั่นกองธงเขียว, ทัพไทใหญ่ และทัพเรือฮกเกี้ยน ประมาณสองหมื่นนาย)
🔸แต่ก็เป็นอีกครั้งที่ต้าชิงต้องมาเจอกับยอดแม่ทัพของพระเจ้ามังระอย่าง
-อะแซหวุ่นกี้
-บะละมี่นดีน
-เนเมียวสีหตู
-เนเมียวสีหบดีที่กลับมาจากการศึกกับอยุธยา ซึ่งทั้งสี่คนนับเป็นหัวใจหลักที่จะสามารถต้านทานการบุกทั้งทางบกและทางทะเลของต้าชิงได้ (ทหารพระเจ้ามังระ ราวๆ สี่หมื่นนาย)
🔸โดยครั้งนี้พระเจ้ามังระได้ส่งกองทัพไปรบแถบชายแดน เพื่อไม่ให้กองทัพชิงรวมตัวกันได้ในพื้นที่ภาคกลางเหมือนการบุกครั้งที่3
🔸การบุกครั้งนี้แม้ฝ่ายต้าชิง จะพยายามอย่างมากในการเข้ายึดเมืองก้องโตนอันเป็นจุดยุทธศาสตร์
🔸แต่ก็เป็นอีกครั้งที่บะละมี่นดีน สามารถต้านทานกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้
🔸ส่วนอีกด้านหนึ่งกองทัพจีนก็รุกคืบได้ช้า เนื่องจากไม่ชินกับสภาพภูมิประเทศเเละภูมิอากาศในพื้นที่ เเละด้วยความชำนาญพื้นที่เขตการรบของพม่า
🔸อะแซหวุ่นกี้ได้ส่งเนเมียวสีหตูคอยทำสงครามปั่นป่วนแนวหลังของต้าชิงเอาไว้ และด้วยความชำนาญการรบแบบจรยุทธของเนเมียวสีหตูนี้เองทำให้กองทัพต้าชิงที่บัญาด้วยฟู่เหิงประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เพราะต้องคอยพะวงหลังตลอดการศึก
🔸สุดท้ายกองทัพพม่าสามารถล้อมกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้บางส่วน จนทำให้เกิดการเจ็บป่วย ขาดเสบียง เเต่ฟู่เหิงตัดสินใจจะทำสงครามตัดสินกับทางพม่า แต่อากุ้ยได้ห้ามเอาไว้ก่อน (📌ศึกครั้งนี้อากุ้ยนับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหารตลอดการศึกครับ)
🔸ทางพม่าคืออะแซหวุ่นกี้เองก็มีกำลังไม่มากพอที่จะเอาชนะต้าชิงในตอนนี้ได้ จนจุดเปลี่ยนสำคัญได้มาถึงเมื่อกองทัพของเนเมียวสีหบดีเสร็จศึกกับอยุธยา(ถอนกำลังกลับมาบางส่วน)
🔸ทำให้อะแซหวุ่นกี้ที่ตอนนี้มีกำลังพลมากพอ สามารถเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากที่คอยตั้งรับอย่างเหนียวแน่น เป็นการรุกตอบโต้อย่างเด็ดขาดโดยสั่งทหารเข้าโจมตีจุดสำคัญของต้าชิงพร้อมๆกัน
🔸จนทำให้กองทัพต้าชิงที่กระจายตัวอยู่ต้องถอยร่นมารวมตัวกัน จากนั้นอะแซหวุ่นกี้จึงใช้วิธีโอบล้อมโจมตีกองทัพต้าชิงโดยค่อยๆบีบเข้ามาเรื่อยๆ การสู้รบครั้งนี้เป็นไปอย่างดุเดือด สุดท้ายกองทัพต้าชิงถูกกองทัพของพม่าล้อมเอาไว้ได้
🔸แต่อะแซหวุ่นกี้ก็เลือกจบสงครามครั้งนี้ลง ด้วยการบีบกองทัพต้าชิงที่ติดอยู่ในวงล้อมให้ตัดสินใจเจรจา เเละเกิดเป็นสนธิสัญญาก้องโตน เป็นการจบสงครามระหว่าง พระเจ้ามังระ กับ จักรพรรดิเฉียนหลง ลงในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1769
🔸(บางข้อมูลว่า สาเหตุที่ยุติสงครามโดยไม่รู้ผลเเพ้ชนะเเบบเด็ดขาดเนื่องจากในอนาคตถ้ากองทัพจีนยกมาเต็มรูปเเบบอาจจะต้านทานได้ยากกว่าครั้งนี้)
🔸ส่วนฟู่เหิงได้เสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับเมืองหลวง
🔸สร้างความเศร้าโศกให้แก่จักรพรรดิเฉียนหลงเป็นอย่างมากที่ต้องมาเสียแม่ทัพคนโปรดอย่างฟู่เหิงไป และตำหนิเหล่าแม่ทัพนายกองที่ส่งไปบุกพม่าครั้งนี้อย่างรุนแรง
#jarnmooChannel
#การทัพพม่าแห่งราชวงศ์ชิง