หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

จักรพรรดิ​นีเเละหวงกุ้ยเฟย ในจักรพรรดิ​เฉียนหลง

เนื้อหาโดย jarnmoochannel

🐉จักรพรรดิ​นีเเละหวงกุ้ยเฟย ในจักรพรรดิ​เฉียนหลง

 

🔻มีเพื่อนๆขอมากันเยอะ ว่าให้ทำเทียบกับซีรีย์(ซีรีย์ หรูอี้จ้วน(如懿转) (จัดไปครับ😅)

 

🔻นับจากซ้ายไปขวานะครับ จะเป็นตอนที่1นะครับ เพราะยังมีพระมเหสี​อีกหลายพระองค์เลยครับ

..................................................................

 

🐉จักรพรรดินีเสี้ยวเสียนฉุน🐉 (จักรพรรดิ​นิพระองค์เเรกใน​จักรพรรดิ​เฉียนหลง​)​

 

  🔹จักรพรรดินีเสี้ยวเสียนชุนหรือฟู่ฉาฮองเฮาทรงมาจากจากราชสกุลสกุล ฟู่ฉา (富察) ทรงเป็นธิดาคนเดียวของ ฟู่ฉา หลี่หรงเป่า มีน้องชายคือ ฟู่ฉา ฝูเหิง พระนางได้อภิเษกสมรสกับองค์ชายสี่ก่อนที่จะเป็นเป่าชินหวัง (宝亲王/寶親王)

🔹(ต่อมาครองราชย์เป็นจักรพรรดิเฉียนหลง) มีพระอิสริยยศเป็น ตี้ฝูจิ้น และหลังจากนั้นเมื่อองค์ชายเป่าชินหวังได้ขึ้นเสวยราชย์สมบัติเป็น จักรพรรดิเฉียนหลง จึงทรงแต่งตั้งพระนางเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินี 

🔹พระนางฟู่ฉาทรงเป็นที่รักและโปรดปรานของ จักรพรรดิเฉียนหลงมาก จึงมักจะทรงติดตาม จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จประพาสทั่วประเทศจีนอยู่เสมอจักรพรรดิเฉียนหลง

🔹 ต่อมาในปี ค.ศ. 1748 ในช่วงหนึ่งของการประพาสตามหัวเมืองภาคใต้ของประเทศจีน พระนางฟู่ฉาทรงพระประชวรหนักเและสิ้นพระชนม์ในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ.1748 ขณะพระชันษา 36 พรรษาพระศพถูกฝังอยู่ในสุสานชิงตะวันออก

🔹 และการสิ้นพระชนม์ของพระนางนั้นทำให้จักรพรรดิเฉียนหลงทรงเสียพระทัยมากหลังจากที่พระนางสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิเฉียนหลงมักจะแต่งกลอนรำพันและกลอนเชิดชูพระนางอยู่หลายบท และทุก ๆ ครั้งก่อนที่พระองค์จะเสด็จไปที่ใดก็พระองค์ก็จะทรงไปเยี่ยมหลุมพระศพของพระนางอยู่เสมอ กล่าวได้ว่าพระนางฟู่ฉานั้นเป็นผู้ที่จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรักและให้เกียรติมากที่สุดผู้หนึ่ง

............................................................................

 

🐉จักรพรรดินีอูลาน่ารา จากสกุลน่ารา เผ่าอูลา (อูลาน่ารา) (จักรพรรดิ​ดินีพระองค์ที่2ใน​จักรพรรดิ​เฉียนหลง​)​

🔸พระนางธิดา ของแม่ทัพ น้าเอ่อปู จากราชินิกุลอูลาน่าราจากกองธงขลิบเหลือง ( อดีตคือ กองธงน้ำเงินขลิบแดง ) พระนางก็ได้อภิเษกสมรสกับองค์ชายสี่หงลี่ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นเป่าชินหวัง (宝亲王/寶親王)

 

🔸(ต่อมาครองราชย์เป็นจักรพรรดิเฉียนหลง) มีพระอิสริยยศเป็น เช่อฝูจิ้น (พระชายารอง) และหลังจากนั้นเมื่อองค์ชายเป่าชินหวังหงลี่ได้ขึ้นเสวยราชย์สมบัติเป็นจักรพรรดิเฉียนหลง 

🔸จึงทรงแต่งตั้งให้พระนางเป็น เสียนเฟย-เสียนกุ้ยเฟย-เสียนหวงกุ้ยเฟย-น่าราฮองเฮา

 

🔸ในตอนที่จักรพรรดินีเซี่ยวเสียนฉุน พระอัครมเหสีพระองค์แรกในจักรพรรดิเฉียนหลงสวรรคต ทำให้จักรพรรดิเฉียนหลงเสียพระทัยมาก และเพราะยังอยู่ในช่วงไว้ทุกข์ ไทเฮาจึงให้แต่งตั้ง เสียนกุ้ยเฟย ขึ้นเป็น เสียนหวงกุ้ยเฟย เพื่อให้พระนางดูแลวังหลังแทนเสมอจักรพรรดินี คือควบคุมวังหลัง 6 วังใหญ่

 

🔸หลังจากการไว้ทุกข์ตามโบราณราชประเพณี คือ 2 ปี จักรพรรดิเฉียนหลงจึงเฉลิมพระยศพระนางให้เป็นจักรพรรดินีซึ่งเป็นฮองเฮาพระองค์ที่สองในรัชกาลเฉียนหลงตามพระประสงค์ของไทเฮา

🔸ต่อมาจักรพรรดิเฉียนหลงจะแต่งตั้งลิ่งกุ้ยเฟยเป็นลิ่งหวงกุ้ยเฟย พระนางทรงเห็นว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการทำผิดพระราชประเพณี คือถ้าฮองเฮายังไม่สวรรคตจะไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งหวงกุ้ยเฟย 

 

🔸พระนางจึงทรงตัดพระเกศาของพระองค์เองเพื่อเป็นการประท้วง ซึ่งการที่ตัดผมชาวแมนจูถือว่าการตัดผมนั้นเป็นการไว้ทุกข์ให้กับผู้ใหญ่ในครอบครัวของตนหรือของสามี ซึ่งในตอนนั้นพระราชมารดาของจักรพรรดิเฉียนหลงยังมีพระชนม์ชีพอยู่จึงอาจถือเป็นการแช่งพระราชมารดาของพระองค์

 

🔸จักรพรรดิเฉียนหลงจึงยึดตราประทับจักรพรรดินี แต่ยังคงให้พระนางอยู่ในตำแหน่งจักรพรรดินี หลังจากนั้นไม่เกินปีพระนางก็สิ้นพระชนม์ โดยงานพระศพถูกจัดในขั้นหวงกุ้ยเฟย แต่ถึงอย่างนั้นงานศพของพระนางถูกจัดอย่างเรียบง่ายไม่สมฐานะเท่าใด

🔸 พระศพของพระนางถูกฝังในสุสานชิงตะวันออกและไม่ได้ถูกฝังในโถงเดียวกันกับจักรพรรดิเฉียนหลง แต่ถูกฝังร่วมกันกับฉุนฮุ่ยหวงกุ้ยเฟย

 

.............................................................................. 

 

🐉จักรพรรดินีเสี้ยวอี้ฉุน เป็นพระมเหสีในจักรพรรดิเฉียนหลง และเป็นพระราชมารดาในจักรพรรดิเจียชิ่ง

 

  🔸พระนางกำเนิดในราชสกุลเว่ยจียา หรือ เว่ย ซึ่งเป็นสกุลจากกองธงฮั่น เดิมที พระนางทรงเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในพระนางฟู่ฉาฮองเฮา แต่เนื่องด้วยพระนางเป็นสตรีที่งดงามทั้งกิริยา วาจา การวางตัว บวกกับมีพระพักตร์ที่งดงาม สะสวย

 

🔸 ทำให้จักรพรรดิเฉียนหลง ที่มักเสด็จมาที่ตำหนักฉางชุนของสมเด็จพระจักรพรรดินีบ่อย ๆ ทรงเกิดความพอพระทัยในตัวของพระนาง จึงรับสั่งให้เข้าเฝ้าถวายองค์ และแต่งตั้งให้เป็นพระสนมหลิง (หลิงกุ้ยเหริน) ปีต่อมาจึงอวยฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระสนมเอกหลิง (หลิงผิน) ถัดมาอีกสามปีก็ถูกเลื่อนขึ้นเป็นพระชายาหลิง(หลิงเฟย)

 

🔸ถัดมาอีกสิบปีเลื่อนเป็นสมเด็จพระอัครเทวีหลิง (หลิงกุ้ยเฟย) และถัดมาอีกสิบสองปีตำแหน่งสุดท้ายของพระชนม์ชีพที่ได้รับคือพระอัครราชเทวีในองค์จักรพรรดิหลิงอี้ (หลิงอี้หวงกุ้ยเฟย) 

🔸และหลังจากที่จักรพรรดินีจี้ ทรงสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิเฉียนหลงก็ไม่ได้ตั้งใครขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีอีกเลย

 

🔸 หน้าที่ควบคุมดูแลฝ่ายในทั้งหมดจึงตกอยู่ที่พระอัครราชเทวีในองค์จักรพรรดิ (หลิงอี้หวงกุ้ยเฟย) เมื่อสิ้นรัชกาลเฉียนหลง องค์ชายหย่งเอี๋ยน ซึ่งเป็นพระโอรสลำดับที่สิบห้าในจักรพรรดิเฉียนหลงและประสูติจากหลิงอี้หวงกุ้ยเฟย 

🔸ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ทรงมีปมในพระทัยที่ว่า ที่พระมารดาของพระองค์ไม่ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีเพราะว่าพระนางมีชาติกำเนิดที่เป็นชาวฮั่น 

 

🔸ซึ่งตามกฏมลเฑียรบาลราชวงศ์ชิงกำหนดไว้ว่าห้ามสตรีจีนเป็นใหญ่เหนือสตรีแมนจู ทำให้จักรพรรดิเจียชิ่งเกิดความคับข้องพระทัยมาโดยตลอดพระองค์จึงเปลี่ยนราชสกุลของพระมารดาที่เป็นสกุลฮั่นจาก เว่ย เป็น เว่ยจียา และเลื่อนพระมารดาจากพระอัครราชเทวีในองค์จักรพรรดิให้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีโดยให้ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวอี้ชุน

 

.................................................................

 

🐉พระมเหสีเอกซูเจีย หรือ ซูเจียหวงกุ้ยเฟย

 

  🔸ซูเจียหวงกุ้ยเฟย เป็นพระมเหสีเอกในพระ จักรพรรดิเฉียนหลง ประสูติเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.1713 ในตระกูลจิน (สกุลคิม) ของชาวโชซอน (เกาหลี)

🔸 และภายหลังได้เปลี่ยนเป็นชาวแมนจู โดยเป็นธิดาของจินซานเป่า ถวายตัวเป็นพระสนมกับพระจักรพรรดิเฉียนหลง และได้เป็นพระสนมเอกขั้นกุ้ยเหริน

 

🔸 และในปี ค.ศ.1737 จึงได้รับพระยศเป็น เจียผิน (嘉嬪"พระวรราชชายาเจีย") ให้ประสูติองค์ชายสี่คือ หลู่ว์ตวนชินอ๋อง หย่งเฉิง ในปี ค.ศ.1739

🔸จนในปี ค.ศ.1741 จึงได้รับพระยศเป็น เจียเฟย (嘉妃"พระวรราชเทวีเจีย") และประสูติองค์ชายแปด อี๋เซิ่นชินอ๋อง หย่งเสวียน ในปี ค.ศ.1746

 

🔸ในปี ค.ศ.1748 ก็ได้รับพระยศเป็น เจียกุ้ยเฟย และประสูติองค์ชายเก้าในปีเดียวกัน 

🔸ในปี ค.ศ.1752 ก็ทรงประสูติพระโอรสอีกองค์คือองค์ชายสิบเอ็ด เฉิงเจ๋อชินอ๋อง หย่งซิง

🔸 พระนางสิ้นพระชนม์ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1755 พระชนม์ 42 ชันษา สมเด็จพระพันปีหลวงฉงชิ่งจึงอวยพระยศพระนางหลังสิ้นพระชนม์ขึ้นเป็น ซูเจียหวงกุ้ยเฟย

 

📌🐼ยังมีอีกนะครับ เดี๋ยวผมจะมาต่อในตอนต่อไปนะครับ🙂❤️🙏

 

#jarnmooChannel

#history

#ประวัติศาสตร์จีน

เนื้อหาโดย: jarnmoochannel
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
jarnmoochannel's profile


โพสท์โดย: jarnmoochannel
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ปิดตำนาน เจ้าของบทเพลงดังอันลือลั่น #ผู้ใหญ่ลีผังเมืองบาร์เซโลน่า: ความทึ่งในระเบียบที่สมบูรณ์แบบชาวบ้านอาหารเป็นพิษนับร้อย หลังกินอาหารบริจาคช่วยน้ำท่วม ที่เมียนมาประธานใหญ่ยามาฮ่าถูกลูกสาวแทงด้วยมีดเด็กชายแบกร่างไร้วิญญาณของน้อง เรื่องสุดเศร้า ใน นางาซากิ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สื่อมาเลเซียรายงาน ขอแสดงความยินดีกับประเทศไทย!บริษัทกลับลำ ต่อสัญญา ‘หนุ่มไม่ผ่านโปร’ แต่ห้ามพูดอีสาน ในที่ทำงานรีวิวหนังดัง LOGAN โลแกน เดอะวูลฟ์เวอรีนคนอินเดียแห่แชร์ประสบการณ์ ถูกเหยียดในเกาหลีใต้ จนหลายคนเลิกตามกระแส K-popประโยชน์ว่านหางจระเข้ บำรุงผิวพรรณเด็กญี่ปุ่นในจีนถูกแทงดับ ระหว่างเดินทางไปโรงเรียน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เมืองที่มีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีที่สุดในโลกพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรทรงดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐในหลายดินแดนทั่วโลกซุ้มประตูหยุนไถ ในสมัยราชวงศ์หยวน อายุกว่า 700 ปี“จงเป็นเธอในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด”
ตั้งกระทู้ใหม่