หง ซิ่วเฉฺวียน(ราชาสวรรค์ไท่ผิง)ต้นเเบบนักปฏิวัติของจีน
🔸หง ซิ่วเฉฺวียน (洪秀全) ผู้นำกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว เกิดในครอบครัวชาวนาเชื้อสายจีนแคะ ในหมู่บ้านกวนลู่ผู่ อำเภอฮัวเสี้ยน มณฑลกวางตุ้ง วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1814 ในตละกูลหง
🔸(ก็จะอยู่ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง(จักรพรรดิชิงองค์ที่7) ตอนปลาย ถึง ต้นรัชสมัยจักรพรรดิถงจื้อ(จักรพรรดิชิงองค์ที่10)ตอนต้นๆ
🔸หง ซิ่วเฉฺวียนได้ศึกษาตำราขงจื๊อ เพื่อสอบเข้ารับราชการเช่นเดียวกับชายหนุ่มทั่วไปในสมัยนั้น และสอบไล่เป็น ซิ่วไฉ (บัณฑิตระดับต้น) ที่เมืองกวางเจาถึงสามครั้ง ก็ไม่ผ่าน
🔸ในการไปสอบ ซิ่วไฉครั้งที่สอง หง ซิ่วเฉฺวียนได้พบกับนักสอนศาสนาชาวตะวันตก และได้รับแจกหนังสือภาษาจีนอธิบายเกี่ยวกับศาสนาคริสต์จากนักสอนศาสนาผู้นั้นมาเล่มหนึ่ง หนังสือนั้นชื่อว่า "สุนทรกถาเพื่อปลุกเร้ายุคสมัย" เขียนโดยชาวจีนชื่อ เหลียง อาฝา
🔸เหลียง อาฝาเป็นผู้ช่วยของ โรเบิร์ต มอริสัน มิชชันนารีชาวอังกฤษ ผู้เดินทางมาเผยแพร่นิกายโปรเตสแทนท์ในประเทศจีนเป็นคนแรก
🔸หนังสือเล่มนี้ยังไม่มีอิทธิพลต่อหง ซิ่วเฉฺวียน จนเมื่อสอบตกเป็นครั้งที่สาม หง ซิ่วเฉฺวียนล้มป่วยหนักเจียนตายอยู่ 40 วัน ระหว่างป่วยเกิดนิมิตว่า ถูกนำไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง มีแสงสว่างจ้า เขาถูกเปลี่ยนอวัยวะภายใน แล้วถูกนำไปพบกับ ผู้เฒ่าสวมเสื้อคลุมดำ
🔸 ผู้เฒ่ามอบดาบวิเศษให้เขาเพื่อประหารปีศาจร้ายให้หมดสิ้น และผู้เฒ่านั้นได้ด่าบริภาษขงจื๊อมากมาย ซึ่งเมื่อหายป่วยแล้ว
🔸 หง ซิ่วเฉฺวียนเชื่อว่า ผู้เฒ่านั้นคือพระเจ้าและตัวเขาเองเป็นพระอนุชาของพระเจ้า เป็นพระเชษฐาของพระเยซูคริสต์ และพระผู้เป็นเจ้าได้มอบหมายให้เขากำจัดปีศาจร้ายให้หมด นั่นคือ ราชวงศ์ชิง ครับ
🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸
🔸หลังจากนั้น หง ซิ่วเฉฺวียนก็ได้เปลี่ยนไปเป็นคนละคน มีคุณลักษณะของผู้นำมากขึ้น เขาหันมาสนใจหนังสือ "สุนทรกถาเพื่อปลุกเร้ายุคสมัย" ของเหลียง อาฝา จนในที่สุด เขาก็สร้างลัทธิบูชามหาเทพ ทำการเผยแพร่จนมีผู้คนเชื่อถือตามมากขึ้นเรื่อย ๆ
🔸หง ซิ่วเฉฺวียนสร้างลัทธิของเขาว่า พระผู้เป็นเจ้าส่งเขาลงมาโลกมนุษย์พร้อมด้วยดาบเพื่อสังหารปีศาจร้าย คริสต์ศาสนาแต่เดิมเป็นคำสอนทางศาสนาของชาวจีน เคยแพร่หลายมาก่อนลัทธิขงจื๊อ อาณาจักรจีนเดิมเป็นที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า
🔸หากแต่ปัจจุบันพวกปีศาจร้ายเข้ามาครอบครอง พระผู้เป็นเจ้ามีประกาศิตให้ หง ซิ่วเฉฺวียนมาปราบปีศาจร้าย โดยจุดสำคัญคือเรื่องความเสมอภาค ภราดรภาพ ตามอุดมคติของคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นแนวความคิดใหม่ที่โดนใจทาสกสิกรที่ถูกศักดินากดขี่ขูดรีดอย่างทารุณ
🔸หง ซิ่วเฉฺวียนไปเผยแพร่ลัทธิในเขตชาวจีนแคะที่ลำบากยากจนตามภูเขาในมณฑลกวางสี และได้สหายร่วมอุดมการณ์สำคัญสี่คนซึ่งก็ล้วนเป็นคนจีนแคะทั้งสิ้น คือ
- หยาง ซิ่วชิง-คนเผาถ่าน
-เซียว เฉากุ้ย-คนตัดฟืน
-ซือ ต๋าไค-หนุ่มลูกชายเจ้าที่ดิน
-วุ่ย จางฮุย-เจ้าที่ดินและนายทุนเงินกู้ ผู้ออกทุนในการเตรียมการลุกขึ้นสู้ถึงหนึ่งแสนตำลึง
🔸 ทั้งสี่คนนี้ภายหลังเป็นแม่ทัพคนสำคัญของกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว
🐉เหตุการณ์สำคัญ🐉
🔸กบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว🔸
🔸หง ซิ่วเฉฺวียน ก่อตั้งลัทธิป้ายช่างตี้ (ลัทธิบูชามหาเทพ) ที่มุ่งหวังจะให้ประชาชนหันมานับถือศาสนาคริสต์ตามแบบของเขาที่มีการบูชาเทวดาต่าง ๆ ทั้งจะโค่นล้มราชวงศ์ชิง แล้วจัดการปฏิรูปบ้านเมืองขนานใหญ่
🔸การปฏิรูปของหง ซิ่วเฉฺวียน ไม่ได้เป็นไปเพื่อเอาชนชั้นรากหญ้าเข้าแทนที่ชนชั้นปกครองเท่านั้น แต่พยายามจะสับเปลี่ยนระเบียบทางสังคมและจิตวิญญาณด้วยครับ
🔸เเต่เมื่อถูกขุนนางท้องถิ่นห้ามปราม ลัทธิป้ายช่างตี้ก็ลุกฮือที่จินเถียน (金田起義) ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1851 รัฐบาลกลางจึงส่งทัพธงเขียว (綠營兵) เข้าไปปราบปราม
🔸ทำให้ หง ซิ่วเฉฺวียน จึงออกหน้าประกาศตนเป็นเทียนหวัง (天王; "เจ้าฟ้า") แห่งประเทศที่เขาก่อตั้งใหม่ เรียกว่า "ไท่ผิงเทียนกั๋ว" แล้วจัดตั้งทัพมุ่งขึ้นเหนือเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1851 เพื่อโจมตีชาวแมนจูกลับ 🔸ครั้นวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1853 ทัพไท่ผิงเทียนกั๋วยึดหนานจิง (南京; "เมืองใต้") ไว้ได้ จึงเอาไว้เป็นเมืองหลวง แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "เทียนจิง" (天京; "เมืองฟ้า")
🔸ทัพกบฏยึดครองภาคใต้ส่วนใหญ่ได้ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนสามารถควบคุมฐานประชากรเกือบ 30 ล้านคน
🔸เเละได้ลุกลามเป็นสงครามเต็มรูปแบบหลังจากยึดเจียงซี (江西), หูเป่ย์ (湖北), และอานฮุย (安徽) ได้หมด
🔸ก็มุ่งหน้าไปยึดเป่ย์จิง (北京) เมืองหลวงของราชวงศ์ชิง แต่ไม่สำเร็จ เเต่ช่วงนั้นกองทัพราชวงศ์ชิงไม่สามารถหยุดยั้งการรุกคืบของกบฏได้ตลอดไป
🔸จนมีแต่กองกำลังทหารท้องถิ่นนอกประจำการของขุนพล เจิง กั๋วฟาน (曾國藩) ที่เรียกว่า ทัพเซียง (湘軍) เข้ามาช่วยเหลือเเละกลายเป็นกลุ่มหลักในการต่อต้านการกบฏครั้งนี้(ผู้มาพลิกเกมส์)
🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸
🔹ช่วงหลังๆ ไท่ผิงเทียนกั๋วเริ่มอ่อนแอลงเพราะการชิงอำนาจกันเอง โดยเฉพาะในเหตุการณ์เทียนจิง ในปี ค.ศ. 1856 ที่หยาง ซิ่วชิง (楊秀清) ผู้ดำรงตำแหน่งตงหวัง (東王; "เจ้าบูรพา") พยายามยึดอำนาจ แต่ล้มเหลวและถูกเหวย์ ชางฮุย (韋昌輝) ผู้ดำรงตำแหน่งเป่ย์หวัง (北王; "เจ้าอุดร") สังหารทิ้ง
🔹ขณะนั้น ทัพของ เจิง กั๋วฟาน ก็สามารถยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ในเจียงซีกับหูเป่ย์คืนได้สำเร็จ
🔹เเต่ในยุทธการเจียงหนาน (江南之战) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1860 ทัพกบฏมีชัยเหนือทัพหลวงที่ล้อมหนานจิงไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1853 ขับไล่กองทัพรัฐบาลไปจากภูมิภาค และเปิดทางให้ตนรุกรานเจียงซู (江苏) กับเจ้อเจียง (浙江) เป็นผลสำเร็จ
🔹ส่วนทัพของ เจิง กั๋วฟาน ก็มุ่งลงฉางเจียง (長江) ไปยึดอานชิ่ง (安慶) คืนจากกบฏได้ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1861
..................................................................
🔸ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1862 เจิง กั๋วฟาน เข้าปิดล้อมหนานจิง เมืองหลวงของกบฏ และสามารถตั้งมั่นปิดเมืองไว้ได้ ถึงแม้ฝ่ายกบฏที่มีกำลังมากกว่าพยายามจะขับไล่หลายครั้งก็ตาม เเต่การปิดล้อมทำให้อาหารในเมืองขาดแคลน
🔸หง ซิ่วเฉฺวียน เก็บผักป่ามาบริโภค ทำให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษจนเขาล้มป่วยลงถึง 20 วันและเสียชีวิตในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1864
🔸 เมื่อหง ซิ่วเฉฺวียน สิ้นใจแล้ว หนานจิงก็ถูกตีแตกในยุทธการหนานจิง (南京之战) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1864
🔸หนานจิงแตกแล้ว เจิง กั๋วฟาน พร้อมด้วยผู้สนับสนุน เช่น หลี่ หงจาง (李鴻章) กับจั่ว จงถัง (左宗棠) ก็ได้รับการสดุดีในฐานะผู้ช่วยราชวงศ์ชิงให้รอด และกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดแห่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19
🔸ส่วนกลุ่มกบฏที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยภายใต้การนำของ หง เทียนกุ้ยฝู (洪天貴福) บุตรชายของหง ซิ่วเฉฺวียน ยังคงต่อสู้ต่อไปในเจ้อเจียง แต่ หง เทียนกุ้ยฝู ถูกจับในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1864 และกองกำลังกบฏก็ถอยร่นไปเรื่อย ๆ จนถึงกว่างตง (广东) ที่ซึ่งกบฏคนสุดท้ายถูกปราบในวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1866
🔸ประมาณกันว่า กบฏครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่ 20–70 ล้านคนไปจนถึง 100 ล้านคน และอีกหลายล้านคนต้องพลัดที่อยู่ นับเป็นความขัดแย้งอย่างใหญ่หลวงที่สุดในจีนนับแต่ราชวงศ์ชิงพิชิตราชวงศ์หมิงได้ใน ค.ศ. 1644
🔸ทั้งยังเป็นสงครามครั้งหนึ่งที่มีการนองเลือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เป็นสงครามกลางเมืองที่สูญเสียเลือดเนื้อมากที่สุด และเป็นการขัดกันทางทหารที่ใหญ่หลวงที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นเองครับ
🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸
🔹เรื่องราวของหง ซิ่วเฉฺวียนเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ ดร.ซุน ยัตเซ็น ในการปฏิวัติการปกครองด้วยในเวลาต่อมา โดยในระยะแรก ๆ มีบางคนกลาวว่า ดร.ซุน ยัตเซ็น คือ หง ซิ่วเฉฺวียนคนที่สองด้วยซ้ำ
🔹เรื่องราวของหง ซิ่วเฉฺวียน ได้ถูกเล่าขานต่อมาจนถึงปัจจุบัน และได้ถูกแต่งแต้มสีสันต่อเติมมามากมาย และเชื่อว่า หง ซีกวน วีรบุรุษในนิยายหรือภาพยนตร์กำลังภายในยุคร่วมสมัยนี้ ก็คือ หง ซิ่วเฉฺวียน นี่เอง
#history#jarnmooChannel