หวง เฟย์หง ปรมาจารย์กังฟูที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน
หวง เฟย์หง ปรมาจารย์กังฟูที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีน
🐉หวง เฟย์หง หรือ หว่อง เฟ้ย์ห่ง🐉
🔸 เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1847 ซึ่งจะตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวง แห่งราชวงศ์ชิง ที่หมู่บ้านหลูเจ้า ใกล้ภูเขาสีเฉียว เมืองฝัวชาน มณฑลกวางตุ้ง
🔸เป็นบุตรของหวง ฉีอิง ซึ่งเป็นปรมาจารย์กังฟูผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม "10 พยัคฆ์กวางตุ้ง" (伏虎拳) ที่มีชื่อเสียงด้วยครับ
🔸ถึงแม้จะเป็นบุตรของปรมาจารย์กังฟู แต่ หวง ฉีอิง ก็มิได้ถ่ายทอดวิทยายุทธให้แก่บุตรชาย ด้วยเหตุผลที่ไม่แน่ชัดนัก เเต่หวง เฟย์หง ได้มีอาจารย์สอนวิชากำลังภายในให้คือ ลู่ อาไฉ (陸阿采) ผู้เป็นสหายร่วมสำนักเส้าหลินกับ หง ซีกวน (洪熙官) วีรบุรุษกังฟูที่มีชื่อเสียงอีกคน ถ่ายทอดวิชามวย "หงฉวน" (洪拳) โดยมีกระบวนท่าที่มีชื่ออย่าง "หมัดพยัคฆ์ดำ-กะเรียนขาว" (黑虎拳, 白鶴拳) ให้ครับ😮
🔸นอกจากได้ ลู่ อาไฉ เป็นอาจารย์แล้ว ในวัยเยาว์ หวง เฟย์หง ยังได้ร่ำเรียนวิชาหงฉวนเพิ่มเติมจาก หล่ำ ฟกซิง (Lín Shìróng, 林世榮) จากนั้นก็ได้รับการสั่งสอนเพิ่มเติมจาก หวง ฉีอิง ผู้เป็นบิดาในภายหลัง
🔸ในวัยเด็กครอบครัวของ หวง เฟย์หง มีฐานะยากจน ต้องตระเวนรอนแรมไปเปิดทำการแสดงวิชาฝีมือและขายยาตามท้องถนน โดยสรุปแล้วชีวิตในช่วงวัยเยาว์และวัยหนุ่มของ หวง เฟย์หง เป็นระยะเวลาของการฝึกฝนวิชาฝีมือต่อสู้ป้องกันตัว และการรับมรดกสืบทอดวิชาแพทย์จากบิดา ซึ่งเป็นแพทย์แผนโบราณ
🐉จากนั้น หวง เฟย์หงได้สร้างวีรกรรมอันลือชื่อขึ้นมา 2 เหตุการณ์ที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงคือ
🔸 เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อ หวง เฟย์หง มีอายุ 16 ปี มีชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่งคิดค้นกิจกรรมสร้างความบันเทิง โดยฝึกฝนสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด จนดุร้ายกระหายเลือด
🔸จากนั้นก็เปิดเวทีท้าประลองให้ชาวจีนสู้กับสุนัข ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลมูลค่าสูง แต่หากพลาดพลั้งบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ผู้คนจำนวนมากที่เข้าประลองล้วนแล้วแต่พ่ายแพ้ บ้างโชคดีก็แค่บาดเจ็บ แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตไปอย่างไร้เปล่า
🔸เมื่อ หวง เฟย์หง ล่วงรู้เรื่องดังกล่าว จึงเข้าประลองเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีให้แก่ชาวจีน และเป็นฝ่ายชนะอย่างง่ายดาย ด้วยกระบวนท่าที่เรียกว่า "ฝ่าเท้าไร้เงา" ซึ่งเป็นไม้ตายประจำตัวที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากสุดของเขา
🐉 เหตุการณ์ที่สองคือ ครั้งที่ท่าเรือฮ่องกงเพิ่งเปิดทำการ หวง เฟย์หงในวัย 21 ปี ไม่อาจทนเห็นผู้อ่อนแอโดนนักเลงท้องถิ่นจำนวนมากรุมรังแก จึงยื่นมือเข้าขัดขวาง ด้วยการใช้กระบองไม้ไผ่เป็นอาวุธบุกเดี่ยวเข้าสู้กับฝ่ายตรงข้ามจำนวนหลายสิบคน กลายเป็นศึกตะลุมบอนอันลือลั่นไปทั่ว
🔸ผลการต่อสู้ หวง เฟย์หง สามารถหลบหนีไปได้ และทำร้ายบรรดานักเลงอันธพาลบาดเจ็บไปหลายคน แต่การปะทะครั้งนั้น ก็ส่งผลให้ หวง เฟย์หงไม่อาจอยู่ในฮ่องกงได้อีกต่อไป
🔸และต้องเดินทางกลับไปยังกวางเจา ช่วงชีวิตของหวง เฟย์หง ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากสุด โดยผ่านการบอกเล่าของภาพยนตร์ต่าง ๆ มากมาย ในยุคปัจจุบัน คือ ช่วงวัยอายุประมาณ 30 ปี หวง เฟย์หง กลายเป็นปรมาจารย์กังฟูมีชื่อเสียง พร้อม ๆ กันนั้นเขาก็ได้เปิดร้านขายยาและสถานพยาบาล ชื่อ "เป่าจือหลิน" (โปจี๋หลำ, 寶芝林)
🔸เป่าจือหลินกลายเป็นร้านขายยาที่โด่งดังเป็นตำนานเช่นเดียวกับชื่อเสียงของ หวง เฟย์หง ด้วยเหตุที่ให้การรักษาผู้เจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสำหรับผู้ยากไร้ บ่อยครั้งยังเป็นการเยียวยาพยาบาลโดยไม่คิดเงิน
🔸วิชาแพทย์ของหวง เฟย์หง ได้รับการยกย่องไม่น้อยหน้าวิชาการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อกระดูก ตำรับยาเฉพาะประจำตระกูล หรือการรักษาโดยวิธีการฝังเข็ม
🔸ในปี ค.ศ. 1888 นายพล หลิว หยงฟู่ (劉永福) ผู้บัญชาการกองธงดำประสบอุบัติเหตุขาหัก และได้รับการรักษาโดย หวง เฟย์หง จนกระทั่งหายดี นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพระหว่างทั้งสอง หลิว หยงฟู่ ชักชวน หวง เฟย์หง ให้เป็นหมอประจำกองทัพ และต่อมาทั้งคู่ก็ได้เข้าร่วมสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นที่รุกรานไต้หวัน
หวง ฮั่นซี (黃漢熙)บุตรชายคนหนึ่งของหวง เฟย์หง ซึ่งเกิดจากภรรยาคนที่ 3
🔸หวง เฟย์หง ผ่านการแต่งงานทั้งหมด 4 ครั้ง มีลูกทั้งหมด 10 คน ภรรยาสามคนแรก
สตรีแซ่หลอ (สมรส ค.ศ. 1871)
สตรีแซ่หม่า (สมรส ค.ศ. 1896)
สตรีแซ่เฉิน (สมรส ค.ศ. 1902)
🔸ได้เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ส่งผลให้เขานึกโทษตนเองว่าเป็นต้นเหตุแห่งเคราะห์ร้ายแก่คนที่ตนรัก และตัดสินใจว่าจะไม่ยอมแต่งงานอีก
🔸แต่แล้วในปี ค.ศ. 1903 เขาได้พบกับหญิงสาววัย 16 ปีชื่อ "มอก ไกวหลาน" (莫桂蘭) และตกหลุมรักซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่การแต่งงานในที่สุด
🐉 ในปี ค.ศ. 1924 เกิดเหตุจลาจลในย่านการค้าของกวางเจา ห้างร้านจำนวนมากถูกทำลายเสียหายยับเยิน รวมทั้งร้านเป่าจือหลินของ หวง เฟย์หง ที่ถูกเผาจนราบคาบ
🔸 หว่อง ฮอนซัม (黃漢森) บุตรชายคนโตของหวง เฟย์หง ก็เสียชีวิตลง ทำให้หวง เฟย์หง ประกาศไม่ถ่ายทอดวิชาฝีมือให้แก่ลูกหลานของตน จะสอนเฉพาะกับลูกศิษย์เท่านั้น
หลิน ซื่อหรง (หลำ ไซหวิ่ง)
🔸หวง เฟย์หง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1924 ด้วยอายุได้ 76 ปี หลังจากนั้น มอก ไกวหลานพร้อมด้วยลูกศิษย์ 2 คนของหวง เฟย์หง คือ หลิน ซื่อหรง (หลำ ไซหวิ่ง) และ ตั่ง เซาขิ่ง (鄧世瓊) ก็ได้พากันอพยพไปยังฮ่องกง
🐉ตลอดชีวิตหวง เฟย์หงมีลูกศิษย์ทั้งหมด 18 คน (ตั่ง เซาขิ่ง เป็นคนเดียวที่เป็นผู้หญิง) ว่ากันว่าคนที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาในทุก ๆ ด้าน (ทั้งวิชากำลังภายใน, วิชาแพทย์ และการเชิดสิงโต) คือ เหลิง ฟุน ( 梁寬) แต่โชคร้ายที่ศิษย์เอกรายนี้ เสียชีวิตตั้งแต่อายุเพียง 20 ต้น ๆ
🐉ในบรรดาศิษย์ทั้งหมดของหวง เฟย์หง คนที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากสุดคือ หลิน ซื่อหรง (林世榮) ซึ่งต่อมาได้เปิดสำนักขึ้นที่ฮ่องกง และเขียนตำราหมัดมวยที่สำคัญเอาไว้หลายต่อหลายเล่ม รวมทั้งเป็นผู้มีบทบาทในการถ่ายทอดเผยแพร่วีรกรรมของอาจารย์
#history
#jarnmooChannel