จักรพรรดิเต้ากวัง จักรพรรดิองค์ที่8 ราชวงศ์ชิง
🐉จักรพรรดิเต้ากวัง จักรพรรดิองค์ที่8 เเห่งราชวงศ์ชิง
#มหากาพย์ราชวงศ์ชิงตอนที่8
🔸จักรพรรดิเต้ากวัง ( 道光) เป็นจักรพรรดิองค์ที่8 แห่งราชวงศ์ชิง ประสูติใน พระราชวังต้องห้าม ใน16 กันยายน ปี ค.ศ. 1782 เดิมมีพระนามว่า เหมี่ยนหนิง (绵宁; 綿寧; Miánníng; Mien-ning) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง)
🔸แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น หมิ่นหนิง (旻宁; 旻寧; Mǐnníng; Min-ning) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล)
🔸 เมื่อพระองค์เป็นจักรพรรดิ อักษรตัวแรกของพระนามของพระองค์ถูกเปลี่ยนจาก เหมี่ยน เป็น หมิ่น เพื่อหลีกเลี่ยงอักษรเหมี่ยนที่ค่อนข้างธรรมดา ความแปลกใหม่นี้ได้รับการแนะนำโดย พระอัยกาของพระองค์(จักรพรรดิเฉียนหลง) ที่เชื่อว่าไม่ควรมีภาษาจีนที่ใช้กันทั่วไป
🔸องค์ชายเหมี่ยนหนิงเป็นพระราชโอรสองค์ที่2 ขององค์ชายหย่งเยี่ยน(จักรพรรดิเจียชิ่ง) พระราชโอรสองค์ที่ 15 และรัชทายาทของจักรพรรดิเฉียนหลง
🔸แม้ว่าองค์ชายเหมี่ยนหนิงจะเป็นโอรสองค์ที่สองขององค์ชายหย่งเยี่ยน(พระบิดา) แต่ก็ยังอยู่ในแถวลำดับแรกรองจากองค์ชายหย่งเยี่ยน ในบัลลังก์ของปู่ของพระองค์(จักรพรรดิเฉียนหลง) ในอนาคต
🔸เเละมักจะร่วมเดินทางไปล่าสัตว์กับปู่(จักรพรรดิเฉียนหลง)อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในการเดินทางครั้งหนึ่ง เมื่ออายุ 9 พรรษา ได้ออกล่ากวางได้สำเร็จ ซึ่งทำให้จักรพรรดิเฉียนหลงชื่นชอบอย่างมาก
🔸 5 ปีต่อมา จักรพรรดิเฉียนหลงสละราชสมบัติ ในปี 1796 ในขณะนั้นเมื่อองค์ชายเหมี่ยหนิงอายุ 14 พรรษา โดยสละราชสมบัติให้เจ้าชายหย่งเยี่ยน ผู้เป็นบิดาของเหมี่ยนหนิง เป็นจักรพรรดิเจียชิ่ง หลังจากนั้นเขาได้แต่งตั้งพระมารดาขององค์ชายเหมี่ยนหนิง เป็นจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
🔸3ปี หลังจากนั้นปู่ขององค์ชายเหมี่ยนหนิง(ไท่ซั่งหวงเฉียนหลงก็สวรรคตในปี 1799 (87พรรษา) ในขณะนั้นองค์ชายเหมี่ยนหนิงมีอายุ 17 พรรษา
ในระหว่างที่เป็นองค์ชาย พระองค์ได้ช่วยพระบิดาปรามปรามกบฏ อยู่เรื่อยมา
🐉ขึ้นครองราชย์🐉
🔸ในปี ค.ศ. 1820 เมื่อพระชนมายุ 38 พรรษา ได้สืบทอดบัลลังก์หลังจากที่จักรพรรดิเจียชิงสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ ในนามจักรพรรดิเต้ากวัง ในรัชสมัยของพระองค์เกิด มรสุมทั้งภายนอกเเละภายใน ที่หนักๆก็จะเป็นสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง
🐉สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งในรัชสมัยของพระองค์🐉
🔸สงครามจีน-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง หรือที่นิยมเรียกว่า สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่กับจีนราชวงศ์ชิง โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการค้าในจีนของชาติตะวันตก
🔸ฝิ่นเป็นยาเสพติดที่ชาวจีนติดกันอย่างมากและติดกันมานานตั้งเเต่ในรัชกาลจักรพรรดิยงเจิ้ง (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光)
🔸พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลิน เจ๋อสฺวี (林則徐) เป็นผู้ว่าราชการเหลียงกว่าง (兩廣總督) หรือผู้ว่าราชการสองมณฑลกวางตุ้ง-กว่างซี และข้าหลวงใหญ่ผู้แทนพระองค์ (欽差大臣) เพื่อเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน
🔸โดยหลินเจ๋อสวีเริ่มงานด้วยการห้ามค้าฝิ่นในมณฑลกวางตุ้ง และจับพ่อค้าฝิ่นชาวจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดไปคุมตัวในเรือนจำ ใครที่มีหลักฐานว่าค้าฝิ่นจะต้องถูกประหาร และตัดศีรษะเสียบประจาน เพื่อข่มขู่ชาวจีนอื่น ๆ ให้เกรงกลัวจะได้ไม่กล้าค้าฝิ่นอีก
🔸นอกจากปราบปรามการค้าฝิ่นในหมู่ชาวจีน หลินเจ๋อสวี ยังได้พยายามฟื้นฟูสุขภาพชาวจีนที่ติดฝิ่น โดยจัดโครงการรณรงค์การอดฝิ่น มีชาวจีนหลายคนที่อดฝิ่นได้สำเร็จ ทางการก็จะประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้คนอื่น ๆ เอาเป็นแบบอย่างอันดีที่จะพยายามเลิกฝิ่นให้ได้
🔸จากนั้นหลินเจ๋อสวีก็สั่งห้ามเรือพ่อค้าต่างชาติที่บรรทุกฝิ่นเข้ามาในอาณาจักรจีน โดยห้ามเรือล่องเข้าแม่น้ำจูเจียงมาเป็นเด็ดขาด และประกาศให้พ่อค้าต่างชาติที่มีฝิ่นในครอบครอง ต้องนำฝิ่นมาส่งมอบให้ทางการจีน แต่พ่อค้าชาวต่างชาติไม่สนใจคำสั่งของหลินเจ๋อสวี ยังคงค้าฝิ่นต่อไป
🔸หลินเจ๋อสวีจึงสั่งปิดล้อมย่านการค้าของคนต่างชาติใน และบีบให้พ่อค้าต่างชาติส่งฝิ่นให้ทางการจีน หลังจากปิดล้อมอยู่สองวัน พวกพ่อค้าต่างชาติก็ยอมมอบฝิ่นออกมาในที่สุด ฝิ่นที่ยึดได้ครั้งนี้ หลินสั่งให้เอาฝิ่นทั้งหมดไปละลายกับกรดน้ำส้มกับเกลือและน้ำ เพื่อฆ่าฤทธิ์ของฝิ่น แล้วก็โยนทิ้งทะเลไปจนหมดสิ้น ผลจากการปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจังของหลินเจ๋อสวี ทำให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าอังกฤษที่มีผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นมหาศาลไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะฝิ่นที่หลินเจ๋อสวีทำลายไปมีจำนวนมหาศาลถึง 20,000 ลัง
🔸คิดเป็นน้ำหนักสองล้านปอนด์ครึ่ง และเนื่องจากฝิ่นเป็นสินค้าที่มีค่าสูง จึงยังมีพ่อค้าต่างชาติทั้งชาวอังกฤษและโปรตุเกส ยังคงลอบค้าฝิ่น แต่เปลี่ยนฐานการค้าจากตัวแผ่นดินใหญ่ในมณฑลกวางตุ้ง ไปอยู่ที่มาเก๊า และเกาะฮ่องกง ซึ่งมีทำเลดีกว่าแทน
🐉สงครามปะทุ🐉
🔸การกระทบกระทั่งระหว่างจีนกับอังกฤษยังคงมีต่อมา เมื่อชาวจีนถูกกะลาสีเรือชาวอังกฤษสังหารที่เกาลูน หลินเจ๋อสวีให้ทางอังกฤษส่งตัวกะลาสีที่ก่อเหตุมารับโทษตามกฎหมายจีน แต่กัปตันเอลเลียตของอังกฤษจึงปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ผลจากการกระทบกระทั่งกันครั้งนี้ ทำให้หลินเจ๋อสวีขับไล่ชาวอังกฤษทั้งหมดออกจากมาเก๊า
🔸แต่พ่อค้าเหล่านี้ก็ไปตั้งหลักที่ฮ่องกงแทน กัปตันเอลเลียตขอความช่วยเหลือไปทางรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษในยุคของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งเป็นยุคสมัยของการล่าอาณานิคม ถือเป็นเหตุในการทำสงครามกับจีน โดยเริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1839
🔸โดยสั่งให้บริษัทอินเดียตะวันออก ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลอังกฤษ ส่งกองเรือไปช่วยที่ฮ่องกง เมื่อกองเรือรบกองแรกมาถึงซึ่งประกอบไปด้วยเรือปืนจำนวน 28 ลำ หลินเจ๋อสวีไม่เคยมีประสบการณ์กับการรบกับอาวุธที่ทันสมัยเช่นนี้ จึงถูกโจมตีจนกองเรือจีนพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว หนำซ้ำพวกขุนพลของจีนที่สู้แพ้อังกฤษ ยังไม่กล้ารายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริง ทำให้หลินเจ๋อสวีเข้าใจผิดว่ากองเรือของจีนเอาชนะกองทัพเรือสหราชอาณาจักรได้ จึงถวายรายงานกับพระจักรพรรดิเต้ากวัง ว่า จีนได้รับชัยชนะ และยิ่งแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อพวกอังกฤษยิ่งขึ้น
🔸ในที่สุด ในปีค.ศ. 1840 ฝ่ายกองเรือรบอังกฤษก็บุกเข้าปากแม่น้ำจูเจียง และยึดเมืองกวางซูเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งเคลื่อนกองเรือรุกเข้ามาในแผ่นดินจีนขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังส่งกองเรือราชนาวีจำนวนหนึ่งไปยึดเมืองท่าริมทะเลเอาไว้ด้วย ความทราบถึงพระจักรพรรดิเต้ากวง จึงทรงตำหนิหลินเจ๋อสวีอย่างรุนแรง และปลดหลินเจ๋อสวีจากตำแหน่งทั้งหมด เนรเทศไปยังซินเจียง และส่งแม่ทัพฉีซานมาแทน เเต่ฉีซานไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของอังกฤษได้
🔸ต่อมาในปี ค.ศ. 1842 กองทัพอังกฤษบุกเข้ายึดเมืองนานกิงได้ จนกระทั่งในที่สุดจำเป็นต้องเจรจาสงบศึกกับอังกฤษ ที่เมืองนานกิงนั่นเอง และยอมเซ็นสนธิสัญญาที่เรียกว่าสนธิสัญญานานกิงในปีเดียวกันนั้น เนื้อหาในสนธิสัญญาฉบับนี้
🔹อังกฤษบังคับให้จีนเปิดเมืองท่าตามชายทะเลเพื่อค้าขายกับอังกฤษ รวมทั้งขอสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนจีน
🔹คนที่ถือสัญชาติอังกฤษ จะไม่ต้องขึ้นศาลจีน รวมทั้งสิทธิใด ๆ ที่อังกฤษได้ ต่างชาติอื่น ๆ ก็ต้องได้ด้วย
🔸แม้ว่าเนื้อหาของสนธิสัญญานี้ จีนต้องเสียเปรียบอังกฤษเป็นอย่างมาก แต่จีนก็จำต้องเซ็นสัญญาเพื่อยุติสงครามที่จีนเสียเปรียบ
🔸พระราชฤดูร้อนเก่า🔸👆
🐉จักรพรรดิเต้ากวังสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1850 ที่พระราชวังฤดูร้อนเก่า ซึ่งอยู่ห่างจากปักกิ่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 8 กม. เเละทรงเป็นจักรพรรดิชิง องค์สุดท้ายที่เสด็จสวรรคตในพระราชวังนั้น ก่อนที่กองทหารอังกฤษ-ฝรั่งเศสจะเผาทำลายในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่สอง
🔻ข้อมูลส่วนไหนผิดพลาดไปขออภัยด้วยนะครับ เพื่อนๆที่มีข้อมูลเพิ่มเติมโพสต์ใต้คลิปได้เลยครับผมรับฟังทุกคนเเละพร้อมนำไปเเก้ไขครับ🫰❤️
#history
#jarnmooChannel
#ประวัติศาสตร์จีน
#มหากาพย์ราชวงศ์ชิง