โจโฉ ผู้ยอมทรยศคนทั้งโลก ดีกว่าให้คนทั้งโลกทรยศ
สวัสดีครับ ในกระทู้นี้เราจะมาพูดถึงโจโฉกันนะครับ ซึ่งหากเราเคยได้ยินชื่อโจโฉมาบ้าง นอกจากความเจ้าเล่ห์ ฉลาดแกมโกงแล้วยังมีความขี้ระแวง เราจะทราบว่าโจโฉนั้นเป็นอุปราชหรือสมุหนายกแห่งราชวงศ์ฮั่นตอนปลายในสมัยของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ในสมัยนั้นผู้คนต่างประณามกันว่าโจโฉนั้นเป็นกังฉิน เป็นผู้สำเร็จราชการของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยที่มีพระเจ้าเหี้ยนเต้เป็นหุ่นเชิดของตัวเอง และตัวเองกุมอำนาจทางส่วนกลางไว้หมด แต่ในส่วนนี้เราจะมาพูดถึงกันนิสัยขี้ระแวง และยอมทรยศคนทั้งโลกของโจโฉกันนะครับ มีเหตุการณ์หนึ่งที่โจโฉหนีการจับกุมตัวของตั๋งโต๊ะหลังจากลอบสังหารตั๋งโต๊ะไม่สำเร็จ และได้รับความช่วยเหลือจากตันก๋ง เจ้าเมืองจงพวน ตันก๋งเห็นโจโฉมีปณิธานจึงละทิ้งหน้าที่เจ้าเมืองพากันหนีไป จนเจอกับแปะเฉีย ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกับพ่อของโจโฉ แปะเฉียเห็นว่าลูกของเพื่อนสนิทมาอยู่ด้วย จึงอยากจะเลี้ยงอาหารและสุราต้อนรับ ตนเองจึงออกไปซื้อของเลี้ยงรับรอง ในคืนนั้นโจโฉได้ยินเสียงคนในบ้านคุยกันว่า “จะมัดก่อน หรือจะฆ่าทีเดียว” โจโฉจึงระแวงว่าแปะเฉีย
และคนในบ้าน จะจับตัวเขาส่งทางการ เขาจึงชักกระบี่ออกมาไล่ฆ่าฟันคนในบ้าน รวมทั้งบุตรภรรยาของแปะเฉีย
ตายรวม 8 คน แต่กลับพบว่าสิ่งที่คนในบ้านจะมัดและฆ่านั้นคือสุกร โจโฉและตันก๋งจึงรู้สึกผิดและรีบหนีออกจากบ้านไป
ระหว่างทางหนีนั้น แปะเฉียได้ซื้อสุราและเดินทางกลับมาพอดี แปะเฉียจึงถามโจโฉว่าจะรีบไปไหน ใยไม่
อยู่กินเลี้ยงกันก่อน โจโฉจึงแจ้งว่าข้าพเจ้าเป็นคนมีความผิดอยู่ จะรีบไปให้พ้นภัย ว่าแล้วก็ขับม้าไป แต่พลันฉุกคิดได้ โจโฉจึงควบม้ากลับไปฟันแปะเฉียตาย ตันก๋งตกใจมากจึงถามโจโฉว่า เมื่อกี้ท่านฆ่าบุตรภรรยาผู้คนเขาเสียแล้ว บัดนี้ซ้ำมาฆ่าตัวแปะเฉียอีกเล่า โจโฉจึงตอบว่า เพื่อความอยู่รอด เพราะหากว่าแปะเฉียพบว่าคนในบ้าน
ถูกฆ่าตาย เขาจะต้องแจ้งทางราชการ โจโฉและตันก๋งก็จะยิ่งมีความผิด แล้วโจโฉก็กล่าววาทะประจำตัวว่า
“ข้าพเจ้าสมัครทรยศโลก มากกว่ายอมให้โลกทรยศข้าพเจ้า”
ในอีกเหตุการณ์คือมีทหารรับใช้เข้ามาปลุกโจโฉ โจโฉได้แกล้งทำเป็นละเมอแล้วแทงทหารรับใช้คนนัันจนเสียชีวิต แล้วทำเป็นหลับต่อ เมื่อตื่นขึ้นมา จึงแกล้งบอกว่าคงเพราะตนขี้ระแวงเกินไป เลยเผลอลงมือฆ่าในขณะที่กำลังละเมออยู่
สรุป โจโฉนั้นเป็นตัวอย่างของบุคคลขี้ระแวง ซึ่งแน่นอนว่าห่างได้เราก็ควรจะห่างบุคคลประเภทนี้นะครับ
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดียและสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลังหน