แพทย์เตือน 5 พฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้หนุ่มอายุ 25 แต่มีกระดูกเหมือนคนวัย 60 ปี
เป็นข่าวเตือนภัยเรื่องสุขภาพอีกครั้งหนึ่ง สำหรับการใช้ชีวิตของคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน เรื่องเริ่มต้นจากนายหลี่ ชายอายุ 25 ปี มีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วันหนึ่งเขาพลาดล้มขณะเล่นสเก็ตบอร์ด เมื่อไปโรงพยาบาลจึงพบว่ากระดูกน่องหัก และแพทย์ก็ต้องประหลาดใจอย่างยิ่ง หลังจากตรวจความหนาแน่นของกระดูกแล้ว พบว่าอายุกระดูกของเขานั้น เทียบเท่ากับอายุกระดูกของชายวัย 60 ปี คนไข้เองก็ตกตะลึงเช่พนักงานออฟฟิศจำนวนมากไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากชา, กาแฟ หรือน้ำอัดลม อย่างไรก็ตาม การดื่มมากเกินไปจะช่วยเร่งกระบวนการสูญเสียแคลเซียม สิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปด้วยเช่นกันนกัน เพราะเขาไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเป็นโรคกระดูกพรุนตั้งแต่อายุยังน้อยขนาดนี้ โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากการเผาผลาญ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่เกิดเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น และไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ที่จริงแล้วคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนสามารถทำให้เกิดการหกล้ม กระดูกหัก ความสูงลดลง และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่ายในกรณีที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม มีคนอายุน้อยเพียงไม่กี่คนที่จะรู้ว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะส่วนใหญ่มักไม่ได้เข้ารับการทดสอบความหนาแน่นของกระดูก ทั้งนี้ ดร.จิน เฉินซี จากภาควิชาวิทยาต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญ โรงพยาบาล Beijing Tsinghua Chang Gung Memorial ชี้ให้เห็นว่าในหมู่คนหนุ่มสาว มีนิสัยที่พบบ่อย 5 ประการ ที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกแก่เร็วอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งวัยรุ่นควรรู้เพื่อปรับเปลี่ยนให้ทันท่วงที ได้แก่ 1. ออกกำลังกายไม่เพียงพอ เพราะกระดูกเป็นอวัยวะที่ต้องกระตุ้น การกระตุ้นการเผาผลาญผ่านการออกกำลังกาย สามารถรักษาความมีชีวิตชีวาของกระดูก เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและคุณภาพของกระดูก ดังนั้น จึงแนะนำให้ทุกคนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 2. ขาดแสงแดด การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสของร่างกายขึ้นอยู่กับการควบคุมวิตามินดี วิตามินดีอาศัยแสงอัลตราไวโอเลตในการแปลง แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ไม่มีเวลาออกไปโดนแสงแดด ดังนั้นการขาดวิตามินดีจึงกลายเป็นปรากฏการณ์ที่พบบ่อยมาก 3. ดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลมมากเกินไป 4. การลดน้ำหนักมากเกินไป ถ้าคุณควบคุมอาหารมากเกินไป กินเฉพาะอาหารมังสวิรัติที่ไม่มีเนื้อสัตว์ จำกัดปริมาณโปรตีน จะทำให้คุณภาพกระดูกลดลง และเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนในระยะเริ่มแรก 5. ทานอาหารที่มีไขมันและเกลือสูง อาหารที่มีเกลือสูงมีโซเดียมมากเกินไป เมื่อร่างกายขับโซเดียมออกมาก็จะขับแคลเซียมออกมามากขึ้นด้วย ดังนั้นการกินเกลือมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ ส่วนอาหารที่มีไขมันสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางเมตาบอลิซึม เช่น โรคอ้วน และเบาหวาน ซึ่งส่งผลเสียต่อกระดูกด้วยนั่นเอง