ที่มาของคำว่า"บอยคอต"
ตำว่า "บอยคอต" หรือบางทีคนไทยเรียกว่า "คว่ำบาตร" นั้น เป็นคำที่มีที่มาที่ไป ทำไมฝรั่งจึงใช้คำว่า "บอยคอต" (boycott) แทนการรวมตัวต่อต้านหรือตัดสัมพันธไมตรี? เรื่องนี้มีที่มาจากบุคคลผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อว่า "ชาร์ลส์ บอยคอตต์" (Charles Boycott)
ชาลส์ คันนิงแฮม บอยคอตต์ เป็นนายหน้าที่ดินชาวอังกฤษในไอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 19 ซึ่งทำงานให้กับลอร์ดเอิร์นผู้เป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในมณฑลเมโย และเป็นที่รู้จักกันดีว่ามักปฏิบัติตัวรุนแรงต่อผู้เช่า รวมถึงการไล่ที่และค่าเช่าสูง
ในปี 1880 เป็นช่วงที่มีความไม่สงบทางการเกษตร สมาคมที่ดินแห่งไอร์แลนด์ซึ่งนำโดยชาร์ลส์ สจ๊วต พาร์เนลล์ ได้ริเริ่มการรณรงค์ต่อต้านบอยคอตต์ พวกเขาสนับสนุนให้คนงานและผู้เช่าในท้องถิ่นถอนแรงงานและบริการออก ทำให้ ชาร์ลส์ บอยคอตต์ ถูกโดดเดี่ยวจากชุมชน ร้านค้าปฏิเสธที่จะให้บริการเขา และแม้แต่จดหมายของเขาคนส่งจดหมายก็ยังไม่ส่งให้
การประท้วงแบบอหิงสานี้ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะหลังจากที่ ชาร์ลส์ บอยคอตต์ เขียนจดหมายถึงสื่ออังกฤษเกี่ยวกับความทุกข์ยากที่เขาเผชิญ การรณรงค์ต่อต้าน ชาร์ลส์ บอยคอตต์ จึงเป็นที่รู้จักกัน และคำว่า "บอยคอต" หรือ "การคว่ำบาตร" ก็ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อสื่อถึงวิธีการคว่ำบาตรทางสังคมในรูปแบบนี้ เหตุการณ์นี้เน้นให้เห็นถึงพลังของการรวมกลุ่มกัน และส่งผลกระทบอย่างยั่งยืนต่อแรงงานและการเคลื่อนไหวทางสังคมทั่วโลก