Henneguya salminicola คือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวบนโลก ที่มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ใช้ออกซิเจน
เป็นที่รู้กันดีว่าสัตว์โลกแทบทุกชนิดบนโลกนี้ต้องใช่ออกซิเจนในการดำรงชีวิต แม้บางชนิดจะใช้เพียงน้อยนิดก็อยู่รอดได้ก็ตาม แต่เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งค้นพบสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่อยู่รอดได้โดยไม่ใช้ออกซิเจนเลย นั่นคือ Henneguya salminicola คือปรสิตที่มีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดหรือตัวอสุจิที่อยู่ในปลาแซลมอน นักวิจัยได้นำมันไปตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์และพบเห็นความผิดปกติบางอย่าง
เนื่องจากมันไม่มีจีโนมของ ไมโทคอนเดรีย ออร์แกแนลล์ของเซลล์อย่างหนึ่งมีขนาดเล็กมากที่เป็นแหล่งผลิตพลังงานให้กับเซลล์ ในตอนแรก นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟคิดว่ามันเป็นความผิดพลาด ดังนั้นพวกเขาจึงทำการตรวจสอบมันอีกครั้งและยืนยันว่า ปรสิตชนิดนี้ไม่มีจีโนมของไมโทคอนเดรียจริง นั่นหมายความว่ามันไม่สร้างพลังงานเฉกเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นที่มนุษย์รู้จัก
แม้ว่าสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอื่นๆเช่น อะมีบาและเชื้อราจะสามารถพัฒนาความสามารถในการอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช้ออกซิเจนได้ แต่ไม่มีสัตว์ชนิดใดทำได้ ซึ่ง Henneguya salminicola เป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียวที่มีคุณสมบัตินี้ แม้ว่ามันจะมีเซลล์น้อยกว่า 10 เซลล์ก็ตาม แต่เจ้าตัวนี้ มันเป็นสัตว์ที่มีกระบวนการวิวัฒนาการตรงกันข้าม เพื่อที่จะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน มันสละยีนที่ไม่จำเป็นที่ช่วยรับผิดชอบต่อการหายใจแบบใช้ออกซิเจน และกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายยิ่งขึ้น ถึงแม้จะฟังดูประหลาดแต่ Henneguya salminicola ก็เป็นที่รู้จักมานานมากแล้วโดยมันเป็นญาติห่าง ๆ ของแมงกะพรุนที่อาศัยอยู่ในกล้ามเนื้อของปลาแซลมอนและปลาเทราต์
ซึ่งทำให้เกิดเป็นก้อนสีขาวเล็กๆ แต่นักวิจัยเพิ่งมาค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ว่ามันเป็นสัตว์ชนิดแรกบนโลกที่อยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาออกซิเจน แต่สิ่งที่ให้พลังงานแก่ปรสิตชนิดนี้ยังคงเป็นปริศนา ถึงแม้ว่านักวิจัยจะพยายามถอดรหัสพันธุกรรมของพวกมัน แต่พวกเขาก็ยังขาดข้อมูลทางพันธุกรรมที่แสดงให้เห็นว่า พวกมันไม่จำเป็นต้องหายใจแบบใช้ออกซิเจนตามปกติทั่วไปนั่นเอง