ที่มาของ เกาเหลา ของกิน ที่ไม่กิน(เส้น)
ปัจจุบันนี้เวลาได้ยินคำว่า เกาเหลา เดี่ยวๆ แยกไม่ออกแล้วว่ามันหมายถึงของกิน หรือการไม่ถูกกัน (ไม่กินเส้น) เพราะคำคำนี้ถูกใช้กันแพร่หลายทั่วไป ที่เราๆมักได้ยินกันบ่อยตามสื่อต่างๆ แต่คำว่า เกาเหลา นี้ มันก็มีที่มาเหมือนกันนะ โดย เกาเหลา นั้นเป็นคำภาษาจีน โดยคำว่า เหลา หมายถึง หอหรือตึกสูง ซึ่งในบริบททั่วไปจะใช้เรียกร้านอาหารหรือภัตตาคารจีนในสมัยก่อน และที่ภัตตาคารจีนจะมีเมนูแกงจืดชนิดหนึ่งที่ใส่เครื่องในสัตว์ ผัก ทำให้เวลาจะไปทานอาหารที่ร้านอาหารจีนก็จะพูดว่า ไปกินเหลา ทำให้เรียกแกงจืดที่ขายบนเหลาว่ากินเหลาไปด้วย และเพี้ยนมาจนกลายเป็นเกาเหลานั่นเอง ดังนั้น หากไปหาเมนูเกาเหลาที่จีนก็คงจะไม่มีชื่อเมนูนี้อย่างแน่นอน
บทบาทสำคัญของเกาเหลาเริ่มมีให้เห็นจากภายในราชสำนักสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีการจัดตั้งเจ้ากรมเกาเหลาจีนขึ้นเพื่อให้ดูแลวิธีการทำเครื่องในสัตว์ให้สุกและสะอาดไม่มีกลิ่นคาวเพราะคนไทยยังไม่ชำนาญการทำอาหารชนิดดีพอนัก โดยเหตุผลที่ให้ความสำคัญกับเกาเหลาเป็นพิเศษเพราะทรงมีรับสั่งให้การทำบุญถวายพระสงฆ์ในวันตรุษจีนเปลี่ยนเมนูจากขนมจีนเป็นเกาเหลา
เพราะมองว่าขนมจีนไม่ใช่อาหารจีนจริงๆนั่นเอง คนไทยชาวบ้านในสมัยก่อนไม่ค่อยกล้าทานเกาเหลานักเพราะเป็นอาหารราคาแพงเลยทำให้มีแต่คนจีนที่ทาน แต่ภายหลังคนไทยนิยมทานข้าวนอกบ้านจึงหันมาทานเหลา (เหลา คือ ร้านอาหาร) กันมากขึ้น โดยสมัยก่อนยังไม่มีคำว่าภัตตาคารเลยจะเรียกร้านอาหารว่า ห้อยเทียนเหลา ขี่จันเหลา นั่นเอง