กรุงเทพแหล่งซื้อทาสในอดีต
"...คนลาวเรียกเผ่าท้องถิ่นว่า"ข่า"
ซึ่งมีความหมายว่า คนรับใช้ ข้าทาส
พวกเขาเป็นแรงงานเป็นข้าทาส
โดยกลุ่มคนลาวถือว่ากลุ่มเผ่าข่าเหล่านี้
เป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นชนเผ่าอิสระ ไม่มีระบบการเมืองการปกครอง
ในช่วงยุคสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ และ เจ้าราชบุตรโย่
ขึ้นมามีอำนาจในดินแดนล้านช้างจำปาสัก
การค้าทาสเฟื่องฟูถึงขีดสุด
การค้าทาสในลาวใต้ และ เชียงแตงมี
ตัวแปรสำคัญคือ สยาม โดยเฉพาะเมืองโคราช
และ อุบลฯ ที่มีความต้องการทาส ลงไปขายที่กรุงเทพ จำนวนมาก
จึงทำให้เกิดการร่วมมือระหว่างคนลาวในท้องถิ่นกับ คนสยามเพื่อบุกตีจับชนเผ่าพื้นเมือง
ตามป่าเขาในลาวใต้ และ กัมพูชาตอนบน ลงไปขายเพื่อเป็นทาสที่กรุงเทพ
โดยเฉพาะเผ่าข่าจะถูกจับมากที่สุดด้วยไม่มีผู้นำและการให้ข่าวเสื่อมเสียต่างๆให้คนเมืองเกลียดชนเผ่าเพื่อง่ายต่อการจับเช่นข่าวว่าพวกข่าเป็นปอบ พวกข่าทำคุณไสย พวกข่าจับมนุษย์มาทำอาหาร ข่าวเล่านี้ทำให้ชนพื้นเมืองอยากกำจัดชนเผ่าข่า เมื่อชนเผ่าข่าถูกกวดต้อนไปเป็นทาสคนเมืองก็จะออกมาปาสิ่งของใส่ทำให้การค้าทาสเป็นไปด้วยดี เหมือนปรากฎบางฉากในหนัง องค์บาค2
เมื่อเจ้าพระยานครราชสีมา(ทองอิน) เห็นดังนั้นจึงมาทำการค้าทาส
แข่งขันกับ กลุ่มเจ้าอนุวงศ์ ทำให้ประเพณีตีข่า
ล้อมจับมาเป็นทาสได้รับความนิยม โดยเฉพาะ
ในเขต เมืองอัตตะปือ เชียงแตง สาละวัน
เมื่อการค้าทาสเฟื่องฟู กลุ่มคนบางเผ่าเองก็หันมาเป็นพ่อค้าทาสเสียเอง เพื่อเงินทอง และ หลีกเลี่ยงการถูกจับ
ไปเป็นทาส เช่น ข่าระแด ที่ยอมอยู่ใต้อำนาจล้านช้าง
และ มีกำลังมากพอ จะคอยไปไล่ล่าเผ่าอื่นๆที่มีกำลังอ่อนแอกว่าไปเป็นทาสเช่น
กลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง
ออสโตร–เอเชียติก ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ จะแบ่งชนเผ่าและเรียกชื่อกลุ่ม
ของตนต่างออกไป เช่น เผ่าระแด เผ่าประไร
เผ่ากะแวด เผ่าบรู เผ่าละแว เป็นต้น เพื่อกวดต้อนลงมาขายที่กรุงเทพ
แปลจากบันทึกของ
เอเจียน แอมอนิเย (Etienne Aymonier)
นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้ระบุถึงกลุ่มข่า
เอาไว้ในหนังสือ บันทึกการเดินทางในลาว
(Voyage dans le Laos) ในปี พ.ศ.2438
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
ภาพจาก : https://images.app.goo.gl/Z9r8cmUmbkj9cmRw6