การที่มีลิ้นขนาดใหญ่ ช่วยให้รับรสได้มากขึ้นหรือไม่
จากที่บางคนเชื่อที่ว่าถ้าเรามีลิ้นที่ใหญ่ก็จะสามารถรับรสชาติได้ดีขึ้นนั้น จริงหรือไม่ งั้นเราไปดูกัน โดย ลิ้น นั้นมีหน้าที่ในการรับรู้รสชาติ เป็นอวัยวะที่รับรู้ความรู้สึก ถ้าหากสังเกตดีๆ บริเวณผิวลิ้นจะมีลักษณะขรุขระ เป็นปุ่มเล็กๆ เรียกว่า พาพิลลา (papilla) ที่ช่วยเพิ่มผิวสัมผัสในการรับรู้รสชาติอาหาร ซึ่งบนผิวพาพิลลาแต่ละปุ่มจะมีตุ่มรับรสเล็กๆปกคลุมอยู่ ทั้งนี้ปุ่มรับรสสามารถแยกแยะรสชาติพื้นฐาน ได้แก่ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอูมามิ อย่างไรก็ตามในความจริงแล้วบนลิ้นของเรามีปุ่มรับรสกระจายกันอยู่ทั่วไป เพียงแต่แต่ละบริเวณจะสามารถรับรสชาติได้ช้าหรือไวแตกต่างกันนั่นเอง สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าปุ่มรับรสอยู่ใกล้กันแค่ไหน
และมีความหลากหลายทั่วทั้งลิ้นหรือไม่ จึงมีการทดสอบผ่านเหล่าสุดยอดนักชิมว่ามีปุ่มรับรสมากกว่าคนอื่นๆ หรือไม่ เนื่องจากมนุษย์เรานั้นจะมีปุ่มรับรสโดยเฉลี่ยประมาณ 2,000-8,000 ปุ่ม ซึ่งแต่ละปุ่มจะมีอายุอยู่ได้เพียงแค่ประมาณ 10 วันเท่านั้น ผลปรากฏว่ามันอาจขึ้นอยู่กับว่าถูกวัดผลเมื่อใด และถ้าเป็น Supertaster หรือกลุ่มคนที่มีปุ่มรับรสบนลิ้นมากกว่าคนอื่นๆ ที่รับรู้รสชาติอาหารได้ดีกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะรสขม และมีขนาดลิ้นที่ใหญ่ด้วย ก็ยิ่งทำให้ปุ่มรับรสทำงานได้ดียิ่งขึ้น าการมีลิ้นใหญ่กลับกลายเป็น ‘อุปสรรค’ เสียมากกว่า เพราะทำให้มีแนวโน้มขัดขวางทั้งความสุขขณะเคี้ยวอาหาร และการทำงานของปุ่มรับรส
กระทั่งยังมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติที่เรียกว่า Macroglossia หรือ ลิ้นบวม ลิ้นโต เป็นภาวะที่ลิ้นมีขนาดใหญ่กว่าขนาดปกติ อาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ลำบากในการพูดและการกินอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาอีกหลายประการ ตลอดจนมักเป็นสัญญาณของปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรง เช่นนี้เรื่องราวหรือข้อสงสัยข้างต้น จึงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่แสนซับซ้อน ระหว่างขนาดของลิ้ม ปุ่มรับรส และความรู้สึกของคนเรา ซึ่งอาจสรุปได้ว่า เพียงเพราะลิ้นคุณมีขนาดใหญ่ ไม่ได้หมายความว่าจะมีปุ่มรับรสที่มากขึ้น ขณะที่จำนวนและการแพร่กระจายของปุ่มรับรสนั้นมีผลต่อความรู้สึกและการรับรู้อย่างมากนั่นเอง