ขนมไหว้พระจันทร์ (中秋節) จากตำนานกู้ชาติ สู่ขนมมงคล
ขนมไหว้พระจันทร์ หรือ "เย่วปิ่ง" ในภาษาจีน มากกว่าแค่ขนมไหว้พระจันทร์ แต่แฝงเรื่องราวตำนานการกู้ชาติของชาวจีนไว้ด้วย
จุดกำเนิดขนมไหว้พระจันทร์
ย้อนกลับไปในสมัยราชวงศ์หยวน ชาวมองโกลปกครองจีนอย่างกดขี่ ชาวฮั่นกลุ่มหนึ่งวางแผนก่อกบฏ โดยใช้ "ขนมไหว้พระจันทร์" แอบซ่อนจดหมายไว้ภายใน แจกจ่ายให้กับชาวจีนเพื่อร่วมใจกันลุกฮือ
* ขนมไหว้พระจันทร์ ต้องเป็นทรงกลม สื่อถึงความสมบูรณ์ มั่งคั่ง
* ไส้ขนมไหว้พระจันทร์ แต่ละชนิด มีความหมายมงคลแตกต่างกัน เช่น ไส้เม็ดบัว อายุยืนยาว, ไข่แดงเค็ม ชีวิตสุกสว่าง, ถั่ว-ธัญพืช 5 ชนิด เงินทองไม่ขาดมือ, เกาลัด เติมเต็มสิ่งดีๆ, ลูกพลัม เริ่มต้นที่ดี, ถั่วแดง กล้าหาญ, ทุเรียน ฉลาดหลักแหลม, งาดำ อำนาจ สง่างาม
ปัจจุบัน
ขนมไหว้พระจันทร์ กลายเป็นขนมมงคลในเทศกาลไหว้พระจันทร์ นิยมนำมาไหว้พระจันทร์ เพื่อขอพรความโชคดี และมอบให้กับญาติผู้ใหญ่เพื่อแสดงความกตัญญู
ซึ่งเป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง หรือ เทศกาลไหว้พระจันทร์ (中秋節) ในคืนวันเพ็ญในเดือน 8 ตามปฏิทินจีน (กันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน) และ ตำนานเล่าขาน ชาวจีน เคยใช้ขนมไหว้พระจันทร์กู้ชาติมาแล้ว! ชาวฮั่นถูกปกครองอย่างกดขี่โดยชาวมองโกล ชาวฮั่นต้องการก่อกบฏต่อต้าน ด้วยการแอบสอดสาส์นไว้ในขนมชิ้นนี้ ตั้งแต่นั้นจึงเป็น ประเพณีไหว้ขนมไหว้พระจันทร์ในปัจจุบัน