Titanoboa ตำนานงูยักษ์ที่เคยมีอยู่จริง เป็นงูที่เขมือบจระเข้ทั้งตัวยังได้ มนุษย์นี่เรื่องขี้ประติ๋ว ถ้ามันจะกินยังไงก็ไม่เหลือเด้อครับเด้อ
ไททันโนโบอา เป็นงูที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อาศัยอยู่เมื่อประมาณ 60 ล้านปีก่อน ในยุค Paleogene ฟอสซิลของมันถูกค้นพบครั้งแรกในเหมืองถ่านหินที่ La Guajira ประเทศโคลอมเบีย ในปี 2552 ชื่อของมันแปลว่า "งูเหลือมไททานิค"
สิ่งที่ขึ้นชื่อของงูชนิดนี้ก็คือความที่มันเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ยักษ์ที่สุดเท่าที่มนุษย์เราจะหาหลักฐานได้นั่นเอง โดยไททันโนโบยาวประมาณ 15 เมตร (50 ฟุต) และหนักประมาณ 1,134 กิโลกรัม (2,500 ปอนด์) ยาวเป็นสองเท่าของงูที่ยาวที่สุดในปัจจุบัน และหนักกว่างูอนาคอนด้าถึง 4 เท่า และถึงแม้จะมีรูปร่างคล้ายคลึงกับอนาคอนด้า แต่ไททันโนโบอาน่าจะไม่ล่าเหยื่อแบบเดียวกัน งูอนาคอนด้า ทีใช้การรัดเหยื่อจนตาย แต่ไททันโนโบอาน่าจะแอบซุ่มอยู่บนต้นไม้ก่อนที่จะพุ่งเข้าโจมตีเหยื่ออย่างรวดเร็ว กัดที่คอและกินมันเป็นอาหาร
โดยที่สถานที่ที่ไททันโนโบอาอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้ตอนนั้น ร้อนและชื้น อุณหภูมิสูงถึง 90 องศาฟาเรนไฮต์ (32 องศาเซลเซียส) เหมาะกับสัตว์เลือดเย็นอย่างไททันโนโบอา ซึ่งเจ้างูยักษ์ไททันโนโบอานั้นเป็นสัตว์นักล่ากินเนื้อ ที่สามารถกินอาหารได้อย่างหลากหลาย มากมายหลายชนิด ทั้งสัตว์เลื้อยคลานและนกขนาดเล็ก รวมไปถึงจระเข้ที่ขนาดตัวไม่ใหญ่กว่ามันอีกด้วย และอาจจะรวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคสมัยนั้นด้วย
เรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ:
- ไททันโนโบอาเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา งู ที่มนุษย์เคยค้นพบแบบรวบรวมชิ้นส่วนกระดูกได้อย่างชัดเจน
- ฟอสซิลของมันถูกค้นพบใน Cerrejón Formation แหล่งฟอสซิลที่มีชื่อเสียงใน La Guajira
- นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไททันโนโบอาสูญพันธุ์ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลังยุค Paleogene
ภาพจาก Pinterest จ้า