ประเทศไหนในเอเชียมีการใช้ผู้ประกาศข่าว AI บ้าง? ( ̄_, ̄ )
หลังจากแนะนำนักข่าวเอไอของไทยไป ในกระทู้ก่อน
มาทำความรู้จักกับผู้ประกาศข่าว AI ของประเทศไทยในตอนนี้กัน ( •̀ .̫ •́ )✧
https://board.postjung.com/1557422
.
เลยอยากพามาทำความรู้จักกับนักข่าวเอไอประเทศอื่นๆ บ้าง ประเทศไหนมีการใช้ผู้สื่อข่าว AI บ้าง?
ตั้งแต่ปี 2566 ในประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการเปิดตัวผู้สื่อข่าว AI หลายๆคนพร้อมกันทำให้ คนที่ทำงานในแวดวงข่าวสารนั้นก็ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะการจ้างงานที่ลดลงเมื่อมี AI เข้ามาทำหน้าที่แทน ในฐานะของเจ้าของกิจการนั้น สามารถลดต้นทุนได้อย่างแน่นอน เนื่องจาก AI พร้อมทำงานทุกเมื่อ ไม่ป่วย ไม่สาย ไม่ขาด ไม่ลา ไม่ใช้อารมณ์ในการนำเสนอข่าว ไม่ต้องมีเงินเดือน โบนัสให้ ช่วยลดต้นทุนผลิตข่าว แค่คอยหมั่นดูแลระบบอยู่เรื่อยๆ เท่านั้น
ส่วนใหญ่เปิดตัวกันมาตั้งแต่ปีแล้ว ประเทศที่มีการใช้ผู้ประกาศข่าว AI ได้แก่
- อินเดีย : Lisa
'ลิซ่า' จากทางช่องโอดิสาทีวี
Odisha TV 'Lisa' สามารถนำเสนอข่าวในภาษาท้องถิ่นของอินเดียที่มีหลากหลายภาษา และนำเสนอผลการเลือกตั้ง และการตอบรับข่าวอย่างรวดเร็วให้กับผู้ชมด้วยความรวดเร็ว หรือว่าช่วยในเรื่องการรายงานส่วนที่ซ้ำๆ ก่อนที่จะส่งต่อให้ผู้สื่อข่าวมนุษย์อีกทีหนึ่ง
- มาเลเซีย : Joon - Monica
Joon
จากรายการ AWANI 7:45
มองเผินๆ เขาหน้าตาคล้ายผู้ชายเกาหลี แต่อาจจะไม่หล่อหรือว่าน่าดึงดูดมากเท่าก็ตาม แต่ก็มีภาพลักษณ์ที่ดูเหมาะกับการเป็นผู้ประกาศข่าวอยู่ไม่น้อย มีหน้าที่คอยรายงานข่าวสั้นๆ จุนสามารถพูดภาษามาเลย์ อังกฤษ สเปน จีนกลาง ฝรั่งเศส และอาหรับได้ และดูเหมือนว่าเขายังพูดได้หลายภาษามากกว่านี้ด้วย
โมนิก้า
คนนี้มองเผินๆ ดูคล้ายสาวฝรั่งแถบสแกนดิเนเวีย รายการทอล์คโชว์ Agenda AWANI ในเวลา 20.30 น. เน้นรายงานโดยใช้ภาษอังกฤษเป็นหลัก
- ฟิลิปปินส์ : Maia, Marco
GMA Integrated News แนะนำ Maia และ Marco ซึ่งเป็นคู่พิธีกร AI ที่กำลังทำโฆษณาวิดีโอความยาว 40 วินาที แนะนำการแข่งบาสเก็ตบอลบาสเก็ตบอลระดับวิทยาลัย
- อินโดนีเซีย : Nadira, Sasya, Bhoomi
TV One ออกอากาศเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566 มีพิธีกร 3 คน คือ AI ใหม่ล่าสุด ออกอากาศทางทีวี ในรายการ Tiga โดยสามผู้สื่อข่าว Nadira, Sasya, Bhoomi ที่มีคนเป็นต้นแบบอยู่เบื้องหลัง โดยทั้งสามมีภาพลักษณ์ที่แตกต่างกันไป
- ไต้หวัน
FTV News ของไต้หวันเพิ่งเปิดตัว ผู้สื่อข่าวพยากรณ์อากาศ AI ที่สามารถพยากรณ์อากาศได้ 2 นาที ในวันที่ 3 กรกฎาคม ซึ่งเครื่องพยากรณ์อากาศนี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นหลังจากใช้เวลาพัฒนานานถึง 6 เดือน เครื่องพยากรณ์อากาศ AI ใช้เทคโนโลยี Artificial Intelligence Global Company (AIGC) ซึ่งทำให้สามารถสร้างภาพมนุษย์ที่เหมือนจริงได้
พยายามหาข้อมูลแล้ว แต่เธอคนนี้ไม่มีชื่อนะ
- คูเวต : Fedha
“เฟดา” ปรากฏตัวบนบัญชี Twitter ของคูเวตนิวส์
ในเดือนเมษายน บริษัทสื่อตะวันออกกลางยังใช้โอกาสนี้เปิดตัวผู้ประกาศข่าวเสมือนจริงคนแรกอีกด้วย ผู้ประกาศข่าว AI ชื่อ “Fedha” ปรากฏตัว บนบัญชี Twitter ของ Kuwait News และสร้างปฏิกิริยาตอบรับอย่างล้นหลามบนโซเชียลมีเดีย
.
ส่วนทางจีนทางจะใช้เป็นที่แรกๆ มีมาตั้งปี 2018 เลยทีเดียว
ด้านผู้คนบางส่วนก็เป็นกังวลเกี่ยวกับจริยธรรมในการเสนอข่าว ว่าจะมีความเที่ยงตรงอย่างที่ควรจะเป็นอยู่ได้หรือไม่ ส่วนกระแสตอบรับด้านฝั่งคนที่ดูส่วนใหญ่จะให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า ดูไม่สมจริง การรายงานปากไม่ตรงเสียง สีหน้าแววตาไร้อารมณ์แบบหุ่นยนต์ ไม่ทำให้รู้สึกน่าติดตาม แต่อย่าลืมว่านี่แค่ช่วงเริ่มต้นการใช้งานเท่านั้น ในอนาคตนักข่าวเอไอ อาจสมจริงจนมานั่งคุยกับผู้ประกาศมนุษย์เลยก็ได้