ต้อเนื้อเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นของดวงตา สามารถรักษาให้หายขาดได้
ต้อเนื้อ (Pterygium) คือ ภาวะที่เยื่อบุตาขาวเกิดการเสื่อมและหนาตัวขึ้น สาเหตุจากการโดนแสงแดด (UV) เป็นเวลานาน รักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ
ผู้คนที่อาสัยอยู่ประเทศเขตร้อนรวมถึงประเทศไทย การใช้ชีวิตในแต่ละวันต้องพบเจอกับแสงแดด หรือ UV อยู่เป็นประจำทุกวัน ยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานท่ามกลางแสงแดด และไม่ได้ป้องกันดวงตา ทำให้แสงส่องมากระทบดวงตาโดยตรง เมื่อดวงตาได้รับแสง UV เป็นเวลานาน นี่อาจเป็นสาเหตุการเกิดต้อเนื้อที่ดวงตา แต่ก็ใช่ว่าจะเจอจากแสงแดด UV เพียงอย่างเดียว
จากผลสำรวจมักจะพบว่าคนไทยในช่วงอายุ 35 - 40 ปีขึ้นไป มักจะเป็นต้อเนื้อ ผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อเนื้อในระยะแรก จะไม่ส่งผลต่อการมองเห็นของผู้ป่วย แต่จะสร้างความรบกวน ความรู้สึกระคายเคียงที่ดวงตาเท่านั้น หากปล่อยต้อเนื้อเอาไว้โดยไม่ได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดปัญหาที่ดวงตาได้ เช่น ตาพร่ามัว สายตาเอียง และขั้นรุนแรงอาจจะสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว
ต้อเนื้อ (Pterygium) คืออะไร
ต้อเนื้อ คือ โรคประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ดวงตา ภาวะที่เยื่อบุตาขาวบริเวณหัวตา หรือหางตา เกิดการเสื่อม และความหนาตัวเพิ่มขึ้นจนนูนเป็นเนื้อเยื่อแผ่นหนา พังผืด มีเส้นเลือดเลี้ยงที่ดวงตา ลักษณะของต้อเนื้อคล้ายสามเหลี่ยม มักมีสีชมพู หรือแดงขึ้นตรงบริเวณกระจกตา เป็นเนื้อเยื่อที่คล้ายกับเยื่อบุตามีเส้นเลือดวิ่งเข้าไปเกาะอยู่บนกระจกตาดำ มีขนาดใหญ่ หรือเล็ก ขึ้นอยู่กับบุคคล ส่วนใหญ่ที่พบเจอจากผู้ป่วยที่เป็นต้อเนื้อมักจะเกิดขึ้นตรงหัวตาด้านในใกล้กับจมูก แต่ต้อเนื้ออาจเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ฝั่ง
อาการของต้อเนื้อ มีอะไรบ้าง
ต้อเนื้ออาการที่มักพบเจอในผู้ป่วยที่เป็นต้อเนื้อ มีอาการดังต่อไปนี้
- ระคายเคืองดวงตา รู้สึกคันตา ตาแดง น้ำตาไหล
- ตาแห้ง รู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายในตา ตาแห้ง
- มองเห็นไม่ค่อยชัดเจน ต้อเนื้อลุกลามเข้ากระจกตา บดบังการมองเห็น
- ตาพร่ามัว ต้อเนื้อบดบังการกระจายแสงที่กระทบกระจกตา จนทำให้ผิดปกติไปจากเดิม
แม้ว่าในช่วงระยะแรกที่ตาเป็นต้อเนื้ออาจไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ให้ความรู้สึกคัน ระคายเคือง เหมือนมีฝุ่น หรือมีก้อนเนื้อที่ดวงตา แต่ถ้าหากผู้ป่วยเกิดขยี้ตาอยู่บ่อย ๆ จะทำให้ตาเกิดบาดแผลที่กระจกตา และติดเชื้อที่ดวงตาได้
สาเหตุการเกิดต้อเนื้อมาจากอะไร
สาเหตุการเกิดต้อเนื้อจากทางการแพทย์ระบุไว้ว่าต้อเนื้อสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายหลากสาเหตุ เพราะสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดต้อเนื้อไม่ว่าจะเป็น แสงแดด UV ลม ฝุ่น และควัน ล้วนแล้วทำให้เกิดเป็นต้อเนื้อได้ แต่สาเหตุหลักจากการพบเจอในผู้ป่วยที่เป็นต้อเนื้อเกิดจาก แสงแดด UV เมื่อดวงตาสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน จนทำให้ดวงตาเสื่อมจนเป็นต้อเนื้อ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะตาแห้ง ติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ดวงตา โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง พันธุกรรมจากคนในครอบครัว และมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตในแต่ละวันเพิ่มโอกาสความเสี่ยงเป็นต่อเนื้อ เช่น สูบบุหรี่ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานกลางแจ้ง เป็นต้น
ต้อเนื้ออันตรายไหม
หากผู้ป่วยที่เป็นต้อเนื้อเกิดมีความสงสัย ความกังวล การที่เป็นต้อเนื้อมีก้อนเนื้อที่หัวตาจะเป็นอันตรายใด ๆ หรือเปล่า ต้อเนื้อเป็นเพียงแค่โรคที่เกิดจากความเสื่อมของดวงตา ไม่อันตรายร้ายแรงถึงกับขั้นเสียชีวิต แต่จะส่งผลกระทบกับการมองเห็น เช่น สายตาเอียง ตาพร่ามัว ไม่สามารถโฟกัสภาพได้ และอาจจะทำให้มองไม่เห็นชั่วคราว ถึงอย่างนั้นก็ยังมีวิธีการรักษาต้อเนื้อในตาให้หายอย่างถาวรได้ และไม่ควรปล่อยปละละเลยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ควรรักษากับจักษุแพทย์เพื่อหาวิธีที่รักษาที่เหมาะสม และหายจากโรคต้อเนื้อ
ตรวจวินิจฉัยโรคต้อเนื้ออย่างไร
ตรวจวินิจฉัยโรคต้อเนื้อทางจักษุแพทย์จะวินิจฉัยโรคต้อเนื้อด้วยวิธี ดังนี้
- สอบถามอาการที่เกิดขึ้น จักษุแพทย์จะซักประวัติอาการของผู้ป่วยต้อเนื้อ อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไรบ้าง ระยะเวลาในการเผชิญกับแสงแดด และมลภาวะโดยไม่ได้สวมใส่แว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตรึเปล่า
- ตรวจดวงตา จักษุแพทย์จะตรวจดูด้วยตาเปล่า และใช้เครื่องมือตรวจโรคตาเบื้องต้นที่เรียกว่า Slit Lamp อุปกรณ์ที่มีแสงไฟ และมีกำลังขยาย ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในดวงตาได้
- ตรวจวัดสายตา จักษุแพทย์จะตรวจวัดสายตาด้วย Snellen Chart เพื่อดูว่ามีสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงหรือไม่
- ตรวจเพิ่มเติม ในบางกรณี จักษุแพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น วัดความดันลูกตา ตรวจจอประสาทตา และหยอดตาเพื่อดูว่าต้อเนื้อมีการอักเสบหรือไม่
วิธีรักษาต้อเนื้อมีวิธีใดบ้าง
วิธีรักษาต้อเนื้อมีอยู่กัน 2 วิธี คือ รักษาแบบประคับประคองโดยใช้ยารักษา และรักษาแบบผ่าตัด ซึ่งแต่ละวิธีจะขึ้นอยู่อาการของผู้ป่วยที่เป็นต้อเนื้อมีอาการความรุนแรงมากน้อย และเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
รักษาแบบประคับประคองโดยใช้ยารักษา
วิธีนี้เป็นการรักษาผู้ป่วยต้อเนื้อ ในระยะแรก มีอาการไม่รุนแรงนัก หรือไม่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ทางจักษุแพทย์จะตรวจสอบอาการของผู้ป่วยหากพบว่าไม่รุนแรง จักษุแพทย์จะให้ยาหยอดต้อเนื้อ หรือยาหยอดตาจะช่วยลดอาการระคายเคือง ยาต้านการอักเสบ ยาฆ่าเชื้อ และแนะนำให้ผู้ป่วยสวมใส่แว่นกันแดดร่วมกับวิธีรักษา เพราะแว่นกันจะลดแสงแดด UV ที่ส่องเข้าดวงตา ป้องกันไม่ให้ต้อเนื้อขยายตัวเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าหากอาการของผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น ต้อเนื้อขยายตัวเพิ่มขึ้น ทางจักษุแพทย์พิจารณาเปลี่ยนวิธีรักษาแบบผ่าตัดแทน
รักษาแบบผ่าตัด
วิธีรักษาจะเหมาะสมในกรณีที่ผู้ป่วยต้อเนื้อ มีปัญหาการมองเห็น มีอาการระคายเคืองมาก ซึ่งการผ่าตัดต้อเนื้อจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือผ่าตัดต้อเนื้อแบบดั้งเดิม และผ่าตัดต้อเนื้อแบบปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ
- ผ่าตัดต้อเนื้อแบบดั้งเดิม จักษุแพทย์จะลอกต้อเนื้อที่เป็นเยื่อบุขาวออกจากดวงตา เป็นวิธีรักษาที่ง่าย และรวดเร็ว แต่มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นต้อเนื้อเหมือนเดิม
- ผ่าตัดต้อเนื้อแบบปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ จักษุแพทย์ทำการตัดต้อเนื้อทิ้งพร้อมปลูกถ่ายเนื้อเยื่อในส่วนอื่น ๆ นำมาเย็บแปะที่ตัดออกไปแทนที่ วิธีนี้การกลับมาเป็นซ้ำมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย และผ่าตัดต้อเนื้อ ราคาจะค่อนข้างสูงกว่าวิธีอื่น
การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคต้อเนื้อ
โรคต้อเนื้อสาเหตุหลักที่เกิดขึ้นมาจากแสงแดด UV มลภาวะทางอากาศ เช่น ลม ควัน และฝุ่น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นของต้อเนื้อ ซึ่งวิธีดูแลตนเองและป้องกันไม่ให้เกิดต้อเนื้อ มีดังนี้
- หลีกเลี่ยงเผชิญกับแสงแดดในช่วงบ่ายโดยตรง
- หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ จำพวก ฝุ่น และควัน
- สวมใส่แว่นกันแดดทุกครั้งหากจำเป็นต้องออกไปเจอกับแสงแดด
- เมื่อรู้สึกว่าตาแห้ง หรือตาล้า พยายามพักสายตาบ่อย ๆ หรือหยดน้ำตาเทียมช่วยลดอาการตาแห้ง
- หากเกิดความผิดปกติที่ดวงตา ควรรีบพบจักษุแพทย์ในทันที
โรคต้อเนื้อไม่อันตรายอย่างที่คิด
แสงแดด ฝุ่น และควัน เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดต้อเนื้อบริเวณดวงตา ต้อเนื้อเป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่จะสร้างความรบกวนในการมองเห็นทำให้เกิด ตาพร่ามัว และอาจจะทำให้มองไม่เห็นชั่วคราวก็ตาม หากคุณกำลังเผชิญกับโรคต้อเนื้อ วิธีรักษาควรรักษากับจักษุแพทย์เท่านั้น และรู้วิธีปกป้องอย่างถูกต้องก็จะสามารถป้องกันการเกิดซ้ำของต้อเนื้อได้