จริงไหม!! ฝันมากไป เสี่ยงเป็น "โรคนอนไม่หลับ"
จริงไหม!! ฝันมากไป เสี่ยงเป็น "โรคนอนไม่หลับ"
จากหนังสือ 100 วิธี หลับยาก แก้ง่าย หนังสือดีๆ ที่มีสารพัดวิธีเพื่อ แก้ปัญหา นอนไม่หลับ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวัน นพ.สวี่ซื่อเจี๋ย และคณะ
ดิฉันขอหยิบยกเอาเรื่อง ความฝันกับการนอนหลับ มาเขียนแชร์ในบทความนี้นะคะ ถ้าคุณอยากอ่านเพิ่มเติม ซึ่งยังมีบทความรู้เรื่องอาการนอนไม่หลับ ตลอดจนวิธีแก้ไขโดยใช้แพทย์แผนปัจจุบัน + แผนจีน และโภชนบำบัด+กายภาพบำบัด แบบไม่พึ่งยานอนหลับอีกต่อไป!! แนะนำหาหนังสือฉบับเต็มมาอ่านค่ะ
มักมีคนพูดว่าหลับฝันทั้งคืนเลยนอนไม่เต็มอิ่ม อันที่จริงแล้วการฝันเป็นเรื่องปกติ เราทุกคนฝันขณะนอนหลับ ดังนั้น การฝันจึงไม่เท่ากับนอนไม่หลับ
เมื่อ ค.ศ. 1953 ไคลท์มัน (Kleitman) ได้บันทึกคลื่นสมองและการเคลื่อนไหวของลูกตาขณะหลับ พบว่าการฝันดําเนินไปเป็นเวลา 1 ใน 4 ของการหลับ นับเป็นภาวะปกติของร่างกาย และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงการหลับที่เรียกว่า ระยะกลอกตาเร็ว (REM sleep หรือ Rapid-Eye- Movement sleep) ความฝันที่เกิดขึ้นในระยะกลอกตาเร็วมักจะจำได้เมื่อตื่น นอกจากนี้ ระยะกลอกตาช้า (์NREM sleep หรือ non-Rapid-Eye- Movement sleep) ก็มีการฝันได้เช่นกัน แต่มักจะจำความฝันนั้นไม่ได้
เรื่องที่ปรากฏในความฝันมักขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายอย่าง เช่น อารมณ์ เหตุการณ์ซึ่งประสบตอนกลางวัน สภาพแวดล้อมในการนอน ฯลฯ และอาจมีส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตใต้สำนึกของคนผู้นั้น
ชีวิตในความเป็นจริงของเรามักพบกับความไม่สมหวัง ความฝันอาจช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปนี้ ดังนั้นการฝันจึงมีบทบาทในการคลายเครียดและลดแรงกดดัน
ในขณะที่ ความฝันบางครั้งอาจเป็นผลเสียต่อร่างกาย การฝันร้ายบ่อยๆ ก็ทำให้เกิดปัญหาได้ ฝันร้ายมักส่งผลให้เกิดความหวาดวิตก รู้สึกไม่สบาย สะดุ้งตื่น หรือทําให้นึกถึงแต่ความฝันจนหลับต่อไม่ได้ สภาพเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการนอน ซึ่งเมื่อสั่งสมนานเข้าก็จะทําให้นอนไม่หลับ
การฝันร้ายบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายหรือสะท้อนถึงปัญหาความเครียดในชีวิตและการควบคุมอารมณ์ เราจึงควรค้นหาสาเหตุ และผ่อนคลายความตึงเครียด ก็จะเป็นการแก้ปัญหาฝันร้ายได้
การฝันร้ายเนื้อหาเดียวกันซ้ำๆ ต่างจากการฝันร้ายทั่วไป ฝันเช่นนี้ เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เลวร้ายซึ่งทําให้หวาดกลัวหรือกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง นี่อาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจ จึงควรปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สุดท้ายนี้ ดิฉันหวังว่าบทความนี้ จะสามารถช่วยให้ผู้อ่านทุกท่าน รอดพ้นจาก อาการนอนไม่หลับ กันนะคะ
ป.ล. เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ตามลิงค์ข้างล่างเลยนะคะ
https://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: หนังสือ 100 วิธี หลับยาก แก้ง่าย โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวัน นพ.สวี่ซื่อเจี๋ย และคณะ