หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

5 อาการ เสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

เนื้อหาโดย teerap

     ข่าวอาการปวดเล็กๆน้อยๆนำพาไปสู่การเสียชีวิตนี้ได้ถูกเปิดเผยขึ้นมาหลังจากที่ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. สำนักข่าว Sohu จากประเทศจีน รายงานกรณีนายหลิว ซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ที่ถึงแก่กรรมหลังปวดไหล่เพียง 1 สัปดาห์ โดยแพทย์ได้ระบุว่าการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของนายหลิวเกี่ยวข้องกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ตามรายงานพบว่า ก่อนเสียชีวิตนายหลิวรู้สึกเจ็บที่ไหล่ซ้าย คิดว่าเป็นอาการเกี่ยวกับกระดูกสันหลังส่วนคอจึงไปร้านนวดใกล้บ้านหลายครั้งแต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น หนึ่งสัปดาห์ต่อมา อาการปวดไหล่เกิดขึ้นรุนแรงอย่างฉับพลัน จนทำให้เขาถึงกับเป็นลมขณะทำงานอยู่ เพื่อนร่วมงานรีบพาส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน แต่ในเวลาต่อมาแพทย์ก็ประกาศว่าเขาเสียชีวิตแล้ว โดยศาสตราจารย์ Huo Yong หัวหน้าภาควิชาหทัยวิทยา โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้กล่าวว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (AMI) เป็นภาวะที่แขนงของหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างน้อยหนึ่งแขนง ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างกะทันหัน และเนื้อร้ายของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด พร้อมเตือนหากรู้สึกเจ็บปวดผิดปกติตาม 5 ส่วนนี้ของร่างกาย ควรใส่ใจเป็นพิเศษเพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวายได้ 5 ส่วนที่ว่าคือ  1. ปวดฟัน เพราะเมื่อเลือดส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เนื่องจากหลอดเลือดแดงที่หัวใจตีบตัน อาจทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปยังขากรรไกรด้านซ้ายได้ ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจควรระมัดระวังหากอาการปวดฟันกะทันหัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีสุขภาพช่องปากที่ดี เนื่องจากเป็นสัญญาณของอาการหัวใจวาย  2. ปวดหัว เพราะเมื่ออาการหัวใจวายเกิดขึ้น ปัจจัยการอักเสบจะทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กทั่วร่างกายหดตัว โดยเฉพาะหลอดเลือดในสมอง ยิ่งในผู้ป่วยบางรายที่มีความดันโลหิตสูงมากเกินไป จนอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะผิดปกติได้  3. เจ็บหน้าอก เพราะเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บหน้าอกบริเวณระหว่างกระดูกอก ความเจ็บปวดจะคงอยู่ไม่กี่นาทีแล้วหายไป ก่อนเกิดขึ้นและหายไปอีกครั้ง ทำให้เรารู้สึกเหมือนมีอะไรกดทับหน้าอก แทง หรือหายใจไม่ออก  4. ปวดท้องช่วงบน เพราะเนื้อตายของกล้ามเนื้อหัวใจจะกระตุ้นเส้นประสาทวากัส ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลง เกิดภาวะโลหิตจางในระบบทางเดินอาหาร อาการต่างๆ ได้แก่ ปวดท้องผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้สับสนกับโรคระบบทางเดินอาหารได้ง่าย  5. ปวดหลัง เพราะผลการศึกษาพบว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในสตรี มักมีอาการปวดกระจาย ปวดหลัง คลื่นไส้ และอาเจียน และโดยทั่วไปจะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกหรือเหงื่อออกมาก หากใครมีอาการดังที่กล่าวไว้นี้ ให้ใส่ใจในรายละเอียดของอาการตัวเองให้มากขึ้น ทางที่ดีคสรไปพบแพทย์เพื่อจะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องและรักษากันเสียแต่เนิ่นๆนั่นเอง

เนื้อหาโดย: teerap
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
teerap's profile


โพสท์โดย: teerap
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: teerap
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หนุ่มไรเดอร์อมของหลวง ชี้เกิดใน สน.จริงลูกค้ากินบุฟเฟ่ต์ 210 บาทไม่ยั้ง ชาวเน็ตห่วงร้านขาดทุน เจ้าของเผยคำตอบพลิกความคาดหมายต้นไม้เหลว : นวัตกรรมแห่งอนาคตที่สร้างลมหายใจใหม่ให้กับโลกหน้าหนาวนี้...เที่ยวเลยไหม! ไปเลย เที่ยวที่ไหน ไปดูกันดราม่า “ทิชา” พุ่ง! หลังนักแสดงเด็กไข้สูงเข้าฉาก พ่อโพสต์เบื้องหลังสุดสมจริง จุดกระแสถกเถียงในโลกออนไลน์ตำนานตลอดไป!! กับการประกวด Miss planet international 2024 บอกเลยว่า.. ที่สุดรวมเลขเด็ด! หวยแม่จำเนียร งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2567"ลิลลี่ อะทิตยา" สาวหล่อสุดปังบนเวทีมิสแกรนด์ขอนแก่น กับฉายา "หนีเมียมาประกวด"วิกฤตแรงงาน! โรงงานดังย่านกิ่งแก้วเลิกจ้าง 900 คนรวด คนทำงานนาน 19 ปียังไม่รอดสาวขับเก๋งชนสามแม่ลูกดับ อุ้มแมวหลบหนีถนนทาเตยามะคุโรเบะ : มหัศจรรย์กำแพงหิมะบนเทือกเขาแอลป์แห่งญี่ปุ่นจัดอันดับราศีสายเฮง ส่งท้ายปี 2567! ใครปังสุดมาดู!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เกาหลีใต้หิมะตกหนัก ในรอบ 50 ปี ตอนนี้สูงกว่า 40 ซม.แล้วจัดอันดับราศีสายเฮง ส่งท้ายปี 2567! ใครปังสุดมาดู!ต้นไม้เหลว : นวัตกรรมแห่งอนาคตที่สร้างลมหายใจใหม่ให้กับโลกพระพุทธรูปแห่งบามียัน มหัศจรรย์แห่งศตวรรษที่ 6 ที่ถูกทำลายโดยตาลิบาน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
กล้วยพัด : พรรณไม้แห่งศิลป์และความสง่างามมิราเคิล เบอร์รี : ผลไม้อัศจรรย์ที่เปลี่ยนโลกของรสชาติได้อย่างไม่น่าเชื่อdangerous: อันตรายปลานกแก้วสีน้ำเงิน (Blue Parrotfish) ปลาที่สวยงามอีกหนึ่งสายพันธุ์ กับคุณค่าที่คู่ควรอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่ท้องทะเล
ตั้งกระทู้ใหม่