Rohs คืออะไร
เคยสงสัยไหมว่าอักษร ROHSบนป้ายบนฉลากสารเคมี คืออะไร
ในโลกของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้ามักจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม จึงต้องมีมาตรฐานที่ออกมาควบคุมสารอันตรายต่างๆ ดังนั้น RoHS จึงจัดตั้งขึ้นมาเพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ในบทความนี้เราจะมาให้คำตอบว่า RoHS คืออะไร จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด แล้วRoHS มีกี่ชนิด มีสารอะไรบ้างที่ต้องถูกควบคุม บังคับใช้ไหนประเทศไหน และมีวิธีการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ อย่างไร
RoHS คือกฎระเบียบที่มุ่งเน้นไปที่การควบคุมการใช้วัสดุอันตรายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า โดย RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances ซึ่งเป็นข้อบังคับในสหภาพยุโรปที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2002 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จะต้องมีคำว่า RoHS Compliant, Green, Pb-Free หรือสัญลักษณ์วงกลมที่มีตัวอักษร “Pb” คาดด้วยเส้นเฉียง ซึ่งจะไม่ได้เป็นการกำหนดออกมาตายตัว ดังนั้นสินค้าแต่ละยี่ห้อจึงแตกต่างกันออกไปนั่นเอง
วัตถุประสงค์ของการมี RoHS คือการปกป้องสิ่งแวดล้อมจากสารบางชนิดที่พบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ลดมลพิษในดินและน้ำที่เกิดจากการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และยังมีเหตุผลอีกหลายประการ ได้แก่
- ช่วยจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างปลอดภัย
- ช่วยลดต้นทุนการกำจัดขยะ
- ช่วยให้รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น
- ช่วยให้วัสดุรีไซเคิลมีพิษน้อยลง และนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น
- ช่วยในการลดอุปสรรคทางการค้าขาย
มาตรฐาน RoHS มีผลในประเทศไหนบ้าง
นอกจากประเทศในสหภาพยุโรป ก็จะมีประเทศอื่นๆ ที่ใช้มาตรฐาน RoHs นี้ด้วยคือ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รัฐเซีย จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อินเดีย ตุรกี ยูเครน บราซิล และนอร์เวย์ RoHS ได้รับความสำคัญระดับนานาชาติ ไม่เพียงแต่เนื่องจากประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเนื่องจากมีอิทธิพลต่อการค้าโลกด้วย สิ่งนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการผลิต โดยบริษัทต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับมาตรฐานนี้
อ้างอิงจาก: https://chuphotic.com/knowledge/what-is-rohs/