อ่านหนังสืออย่างไร ไม่ให้เครียด!!
เคล็ดแบบไม่ลับ จากหนังสือ เทคนิคการอ่านให้เอามาใช้งานได้เลย จาก Mentalist Daigo นักเขียนแนวจิตวิทยาอันดับ 1 ของญี่ปุ่นและนักอ่านตัวยง ที่เผย เคล็ดลับการอ่าน ด้วยวิธี เห็นภาพ + เชื่อมโยง + คาดคะเน + จับประเด็น + ตั้งคำถาม
สำหรับในบทความนี้ดิฉันได้หยิบยกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น หากท่านสนใจในส่วนอื่น สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้นะคะ มีวิธีคิดและสุดยอดเทคนิคเพียบเลยค่ะ
อ่านหนังสืออย่างไร ไม่ให้เครียด
ปัญหาที่ทำให้รู้สึกว่าอ่านหนังสือไม่เก่งพอ จนนำไปสู่ภาวะความเครียดนั้น คือ
1.มีเวลาและแรงจูงใจไม่เพียงพอ
2.รักษาสมาธิไม่ได้
3.อ่านเร็วขึ้นไม่ได้
4.รู้ศัพท์ไม่พอ
5.เลือกไม่ได้ว่าควรโฟกัสที่จุดไหนของหนังสือ
6.ไม่เข้าใจทฤษฎีใหม่และข้อมูลเชิงลึก
7.จับใจความประเด็นหลักและประเด็นรองไม่ได้
8.วัดคุณค่าของหลักฐานไม่ได้
9.ไม่มีความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาจองหนังสือ
10.อยู่ในสาขาวิชาที่ไม่คุ้นเคย
ท่านลอง ถามตัวเองดูนะคะ ว่า “ตรง” กี่ข้อ ต่อไปเรามาดูกันค่ะ ว่าปัญหาเหล่านี้ เราจะรับมือได้อย่างไร ซึ่งวิธีนี้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น แนะนำกัน พร้อมแล้วลุย กันเลย!!
1.มีเวลาและแรงจูงใจไม่เพียงพอ
ปัญหา “แรงจูงใจ” แก้ได้ด้วยการเขียน “แผนที่ความคิด” เพื่อให้เห็นจุดประสงค์ของการอ่านได้อย่างชัดเจน
ปัญหา “มีเวลาไม่พอ” ลองเปิดใจ ใช้เวลาว่าง 15-30 นาที อ่านหนังสือ
2.รักษาสมาธิไม่ได้
แนะนำ “แบ่งเวลาเป็นช่วงๆ” อาทิ ตั้งเวลาอ่านหนังสือ 10 นาที พักผ่อน 1-2 นาที แล้วกลับมาอ่านต่ออีก 10 นาที ทำวนไปเรื่อยๆ
3.อ่านเร็วขึ้นไม่ได้
ลองหาอ่านรีวิว จากนักอ่านทั้งหลาย ก่อนหยิบหนังสือเล่มนั้นๆ
4.รู้ศัพท์ไม่พอ
จดจำศัพท์ที่เพิ่งเจอครั้งแรกหรือศัพท์ที่รู้สึกว่ายากเอาไว้ โดยยึด “ความรู้สึก” คับแค้นใจที่อ่านไม่ออกและความหงุดหงิดที่ไม่เข้าใจ ยึดความรู้สึกนั้นเอาไว้
จากนั้นใช้เทคนิค “การทำแบบทดสอบย่อย” และ “การอ่านทวนแบบเว้นระยะ” โดยพยายามนึกเนื้อหาให้ออกด้วยเทคนิค “การอ่านให้จำได้ไม่ลืม”
หมายเหตุ :
เทคนิคการทำแบบทดสอบย่อย : ลองปิดหนังสือที่กำลังอ่านอยู่สักพัก และพยายามนึกให้ออกว่าหน้าที่เพิ่งอ่านไปมีเนื้อหาอะไรเขียนอยู่บ้าง
เทคนิคการอ่านทวนแบบเว้นระยะ : การเว้นช่วงระยะเวลาที่แน่นอนระยะหนึ่งและปลุกความทรงจำขึ้นมาใหม่
เทคนิคการอ่านให้จำได้ไม่ลืม : การทบทวนในตอนที่ลืมไปแล้ว
5.เลือกไม่ได้ว่าควรโฟกัสที่จุดไหนของหนังสือ
ใช้เทคนิคการอ่านแบบสกิมมิ่ง โดยอ่านแบบผ่านๆ ข้ามเนื้อหาเป็นจุดๆ เพื่อเก็บประเด็น จากนั้นดูว่าเนื้อหาส่วนไหนที่สำคัญอ่านและส่วนไหนที่ข้ามไปได้
6. ไม่เข้าใจทฤษฎีใหม่และข้อมูลเชิงลึก
ให้เริ่มจากเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนที่ตัวเองพอทำความเข้าใจได้เข้ากับความรู้ที่มีอยู่
7. จับใจความประเด็นหลักและประเด็นรองไม่ได้
แนะนำอ่านส่วนเกริ่นนำและสรุปก่อน เพื่อให้เข้าใจภาพรวมแต่ละบท ให้รู้ประเด็นที่ควรอ่านและส่วนที่อ่านข้ามไปได้ และแยกแยะสิ่งนั้นให้ออก
8. วัดคุณค่าของหลักฐานไม่ได้
หากเริ่มสงสัยในความน่าเชื่อถือของเนื้อหา จะทำให้อ่านไม่เข้าหัวโดยปริยาย โดยเนื้อหาที่ดี ควรมีการอ้างอิง แหล่งที่มา ประวัติผู้เขียนหรือผลงานที่ผ่านมา เป็นต้น
9. ไม่มีความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาของหนังสือ
10. อยู่ในสาขาวิชาที่ไม่คุ้นเคย
การอ่านหนังสือเพื่อปูพื้นฐานในเรื่องนั้นๆ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เพื่อต่อยอดสู่ความรู้ในระดับที่สูงขึ้น
สุดท้ายนี้ หวังว่า วิธีการรับมือกับปัญหาข้างต้น จะช่วยให้ทุกท่าน มีกำลังใจที่จะอ่านหนังสือมากขึ้นนะคะ
ป.ล. เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ตามลิงค์ข้างล่างเลยนะคะhttps://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: หนังสือ เทคนิคการอ่านให้เอามาใช้งานได้เลย เขียนโดย Mentalist Daigo









